สืบค้นงานวิจัย
ผลการเสริมผงใบมะรุมในอาหารไก่ไข่ ต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิตคุณภาพไข่และ ปริมาณคอเลสเตอรอลในไข่
เกียรติศักดิ์ กล่ำเอม, เฉลา พิทักษ์สินสุข, รัชดาวรรณ พูนพิพัฒน์, วีระพล พูนพิพัฒน์, ญาณิศา รัชดาภรณ์วานิช, อำพล วริทธิธรรม, ชัยวัธน์ วิทูระกูล - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: ผลการเสริมผงใบมะรุมในอาหารไก่ไข่ ต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิตคุณภาพไข่และ ปริมาณคอเลสเตอรอลในไข่
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Moringa oleifera Lam. Leaf Powder Supplementation in Layer Diets on Production Performance and Cholesterol of Egg
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของการเสริมผงใบมะรุมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิตคุณภาพไข่และปริมาณ คอเลสเตอรอลในไข่ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ล าปาง ต าบลเวียงตาล อ าเภอห้างฉัตร จังหวัดล าปาง ใช้ไก่ไข่ สายพันธุ์ทางการค้าจ านวน 160 ตัว โดยเริ่มการทดลองเมื่อไก่อายุ 31สัปดาห์และสิ้นสุดการทดลองเมื่อไก่อายุ 57 สัปดาห์วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์(Completely randomized design, CRD) โดยมีสิ่งทดลอง4 กลุ่มๆละ 4 ซ้ าๆละ 10 ตัวประกอบด้วยกลุ่มไม่เสริมผงใบมะรุม (0เปอร์เซ็นต์) และกลุ่มเสริมผงใบมะรุมที่ระดับ 24 และ6 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารไก่ทุกกลุ่มได้รับอาหารที่มีโปรตีนและพลังงานใกล้เคียงกัน เลี้ยงบนกรงตับขังเดี่ยวในโรงเรือน แบบเปิดให้อาหารแบบกินเต็มที่ได้รับแสงวันละ16 ชั่วโมง ผลการทดลองปรากฏว่าการเสริมผงใบมะรุมในสูตรอาหารทุกระดับไม่ท าให้น้ าหนักไข่ มวลไข่ ปริมาณ อาหารที่กินต่อตัวต่อวัน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นไข่ อัตราการเลี้ยงรอด และส่วนประกอบฟองไข่ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ ไข่แดง เปอร์เซ็นต์ไข่ขาว เปอร์เซ็นต์เปลือกไข่และคุณภาพไข่ได้แก่ ความสูงไข่ขาว ความหนาของเปลือกไข่ค่าฮอฟ์ยู นิตแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p>0.05)แต่มีผลท าให้ผลผลิตไข่เพิ่มขึ้น และมีปริมาณคอเลสเตอรอลในไข่ แดงลดลง โดยการเสริมผงใบมะรุมที่ระดับ 2 4 และ 6 เปอร์เซ็นต์ จะท าให้ผลผลิตไข่ต่อแม่ไก่มีชีวิต เท่ากับ 86.23, 87.25 และ 87.03 เปอร์เซ็นต์ ความเข้มข้นของสีไข่แดง 8.01, 8.96 และ 9.19 และปริมาณคอเลสเตอรอลในไข่แดง เท่ากับ 13.00, 12.51 และ 12.46 มิลลิกรัมต่อกรัมไข่แดง ตามล าดับ แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่เสริมผงใบมะรุมอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติ (p>0.05) ทั้งนี้แนะน าให้เติมผงใบมะรุมที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารซึ่งยังคงให้ผลที่ดี แต่ ต้นทุนค่าอาหารจะถูกกว่าการเสริมที่ระดับ 6 เปอร์เซ็นต์ ค าส าคัญ: มะรุม ไก่ไข่ สมรรถภาพ คอเลสเตอรอล เลขทะเบียนวิจัย: 55(1)-0214-030 1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ล าปาง อ.ห้างฉัตร จ.ล าปาง 52190 2/ ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่50300 3/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคเหนือตอนบน อ.ห้างฉัตร จ.ล าปาง 52190 4/ กลุ่มวิจัยพืชอาหารสัตว์ ส านักพัฒนาอาหารสัตว์พญาไท กรุงเทพฯ 10400 5/ กลุ่มวิเคราะห์อาหารสัตว์และพืชอาหารสัตว์ต.บางกระดี อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000 6/ กลุ่มวิจัยและพัฒนาระบบฟาร์มปศุสัตว์กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์พญาไท กรุงเทพฯ 10400
บทคัดย่อ (EN): The study was carried out to investigate effect of Moringa oleifera Lam. leaf powder supplementation in layer diet on production performance and egg cholesterol, and conducted at Lampang Animal Nutrition Research and Development Center, Hangchat, Lampang. Totally one hundred and sixty commercial laying hens were used.The experiment stated at 31 weeks old of age and finished at 57 weeks of age of the laying hens. The experimental design was completely randomized design (CRD), the hens were divided into four treatments in four replications with 10 hens each. The treatment groups were (1) No Moringa oleifera Lam. leaf powder supplementation (0%, (2), (3) and (4) supplemented Moringa oleifera Lam. leaf powder 2%, 4% and 6% respectively. The dietary treatments were isonitrogenous and isocaloric. The hens were kept in individual cages in open-house system and lighted 16 hours per day. The results showed that Moringa oleifera Lam. leaf powder supplementation did not effect to egg weight, egg mass, daily feed intake, feed conversion ratio, survival rate, egg composition such as yolk, albumen and shell percent, particularly egg quality such as albumen height, haugh unit and shell thickness (p>0.05). However, egg production and yolk score was increased, while egg cholesterol decreased. Moringa oleifera Lam. leaf powder supplementation 2, 4 and 6% showed hen day production 86.23, 87.25 and 87.03 %, and yolk color score 8.01, 8.96 and 9.19, particular yolk cholesterol 13.00 12.51 and 12.46 mg/g yolk, respectively. There were significantly different when compared with the group were given no Moringa oleifera Lam. leaf powder supplementation diet (p<0.05). In any case, Moringa oleifera Lam. leaf powder supplementation 4 percent in layer diet was recommended since the layers showed the good production but lower feed cost when compared with those group were received 6 percent Moringa oleifera Lam. leaf powder supplementation diet. Keywords: Moringa oleifera Lam., Layer Performance, Cholesterol Registered No: 55(1)-0214-030 1/ Lampang Animal Nutrition Research and Development Center, Hangchat Lampang 52190 2/ Livestock Industy Development Center, Houykaew Rd, A. Mung, ChiangMai 50300 3/ Veterinary Research and Development Center Upper Northern Region, Hangchat Lampang 52190 4/ Forage Crop Research Section, Bureau of Animal Nutrition Development, DLD Bangkok 10400 5/ Feed and Forage Analysis Section, Bureau of Animal Nutrition Development, Pathumthani 12000 6/ Division of Livestock Extension and Development, DLD Bangkok 10400
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลการเสริมผงใบมะรุมในอาหารไก่ไข่ ต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิตคุณภาพไข่และ ปริมาณคอเลสเตอรอลในไข่
กรมปศุสัตว์
30 กันยายน 2555
กรมปศุสัตว์
ผลการเสริมผงใบมะรุมในอาหารไก่ไข่ ต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิตคุณภาพไข่และปริมาณคอเลสเตอรอลในไข่ วิถีชีวิตแบบสโลว์ฟูดส์… เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ผลของการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย ต่อสมรรถนะการให้ผลผลิต คุณภาพไข่ ปริมาณคอเลสเตอรอล และองค์ประกอบของกรดไขมันในไข่ ผลของการเสริมสาหร่าย Schizochytrium sp. ในอาหารไก่ไข่ต่อการย่อยได้ปรากฏของโภชนะ สมรรถภาพการผลิตและคุณภาพของไข่ไก่ ผลการเสริมกรดซิลิซิกผงร่วมกับน้ำส้มควันไม้ไผ่ในอาหารต่อสมรรถภาพ คุณภาพไข่และปริมาณแบคทีเรียในลำไส้ของไก่ไข่ ผลของการเสริมกากมะเม่าต่อสมรรถภาพการให้ผลผลิต คุณภาพไข่ และค่าโลหิตวิทยาในไก่ไข่ ผลของการเสริมสารสกัดอัญชัน ในอาหารไก่ไข่ ผลการเสริมบีเทนในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต โลหิตวิทยา คุณภาพไข่ ระดับคอเลสเตอรอล และกรดไขมันในไข่แดง โครงการวิจัยพันธุไก่ไข่เพื่อทดแทนการนำเข้า 1.สมรรถภาพการให้ผลผลิตไข่ อิทธิพลของขนาดไข่ต่อคุณภาพไข่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก