สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการผลิตพันธุ์ยางของแปลงขยายพันธุ์ยางราชการในเขตภาคใต้ตอนล่าง
ศุภมิตร ลิมปิชัย - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการผลิตพันธุ์ยางของแปลงขยายพันธุ์ยางราชการในเขตภาคใต้ตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Planting Materiel Supply by Government Nursery in Lower South
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศุภมิตร ลิมปิชัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เพื่อศึกษาการผลิตพันธุ์ยางของแปลงขยายพันธ์ยางราชการในเขตภาคใต้ตอนล่าง ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างปี 2537 - 2539 ในแปลงขยายพันธุ์ยางของหน่วยงานต่างๆ รวม 17 แปลง ได้แก่ แปลงของสถาบันวิจัยยาง จำนวน 11 แปลง แปลงของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จำนวน 3 แปลง แปลงของนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จำนวน 2 แปลง และแปลงของฑัณฑสถานเปิด จำนวน 1 แปลง บันทึกข้อมูลต่างๆ โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลปีละ 2 ครั้ง คือ ก่อนฤดูกาลผลิตพันธุ์ยาง (ตุลาคม-ธันวาคม) และในฤดูกาลใช้พันธ์ยาง (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ผลการศึกษาปรากฏว่า แปลงขยายพันธุ์ยางราชการมีแปลงกิ่งตายางในปีต่าง ๆ จำนวน 17 แปลง ปี 2537 ผลิตกิ่งตายางในเนื้อที่ 562 ไร่ ได้กิ่งตายางจำนวน 18.6 ล้านกิ่ง ปี 2538 ผลิตกิ่งตายางในเนื้อที่ 521 ไร่ ได้กิ่งตายาง จำนวน 17.1 ล้านกิ่ง และปี 2539 ผลิตกิ่งตายางในเนื้อที่ 492 ไร่ ได้กิ่งตายางจำนวน 15.2 ล้านกิ่ง ส่วนแปลงกล้ายาง ปี 2537 มีจำนวน 9 แปลง ผลิตต้นกล้ายางในเนื้อที่ 238 ไร่ ผลิตต้นกล้ายางในเนื้อที่ 516 ไร่ ได้ต้นกล้ายางจำนวน 3.4 ล้านต้น ปี 2538 มีจำนวน 4 แปลง ผลิตต้นกล้ายางในเนื้อที่ 238 ไร่ ได้ต้นกล้ายางจำนวน 1.9 ล้านต้น และปี 2539 มีจำนวน 6 แปลง ผลิตต้นกล้ายางในเนื้อที่ 165 ไร่ ได้ต้นกล้ายางจำนวน 1.8 ล้านต้น เมื่อเปรียบเทียบกำลังผลิตกิ่งตายางและต้นกล้ายางในปีต่างๆ กับปี 2537 พบว่ากำลังผลิตกิ่งตายางและต้นกล้ายางได้ลดลงทุกปี ตั้งแต่ร้อยละ 8.1-18.3 และร้อยละ 44.1-47.1 ตามลำดับ การผลิตและการใช้กิ่งตายางพันธุ์ต่างๆในแต่ละปีพบว่าส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ RRIM 600 รองลงมาได้แก่พันธุ์ BPM 24 และPB 235 และผลการตรวจจำแนกพันธุ์ยางในแปลงกิ่งตายางพบว่ามีต้นกิ่งตายางผิดพันธุ์ทุกปีและให้ตัดออกจากแปลงตั้งแต่ร้อยละ 0.3-0.9
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการผลิตพันธุ์ยางของแปลงขยายพันธุ์ยางราชการในเขตภาคใต้ตอนล่าง
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน การผลิตพันธุ์ยางของแปลงขยายพันธุ์ยางของทางราชการ สำรวจกำลังผลิตและตรวจสอบพันธุ์ยางในแปลงขยายพันธุ์ยางเอกชน สายพันธุ์ของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ในเขตปลูกยางภาคใต้ตอนล่าง ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผักอนามัยของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นของสายพันธุ์ยางจากบราซิล BZ-CH-35/1/2 การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการแปลงขยายพันธุ์ยาง การศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมกับพันธุ์ยางแนะนำ เพื่อผลผลิตเนื้อไม้และผลผลิตน้ำยาง ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน สำรวจโรคและศัตรูสำคัญทางเศรษฐกิจของยางพาราในแปลงกิ่งตายาง แปลงกล้ายาง และแปลงผลิตยางชำถุง ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ธาตุอาหารระดับฟาร์มของสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ในเขตภาคใต้ตอนล่าง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก