สืบค้นงานวิจัย
ออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดขนาดกระเทียม
จตุรงค์ ลังกาพินธุ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดขนาดกระเทียม
ชื่อเรื่อง (EN): Design and development of a garlic sizing machine
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จตุรงค์ ลังกาพินธุ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jaturong Langapin
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เครื่องคัดขนาดกลีบกระเทียมถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานและลดเวลาในการคัดขนาดกลีบกระเทียมสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเทศ เครื่องต้นแบบประกอบด้วย โครงสร้าง ชุดคัดขนาด ช่องป้อนกลีบกระเทียม ระบบส่งกำลัง และใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลัง การทำงานของเครื่องเริ่มจากผู้ทำงานป้อนกลีบกระเทียมที่ต้องการคัดขนาดลงในถังป้อนกลีบกระเทียมทางด้านบนของเครื่อง หลังจากนั้นกลีบกระเทียมจะไหลเข้าสู่ชุดคัดขนาด ที่ประกอบด้วยตะแกรงทรงกระบอกหมุน 3 ชั้น ที่สามารถคัดขนาดได้ 3 ขนาด และกระเทียมที่ผ่านการคัดขนาดจะไหลสู่ช่องทางออกต่างๆ ทางด้านหน้าเครื่อง จากการทดสอบโดยการป้อนแบบต่อเนื่องและใช้ความเร็วรอบของชุดคัด 10,15 และ 20 รอบต่อนาที่ตามลำดับ พบว่าเครื่องคัดขนาดกระเทียมต้นแบบสามารถทำงานได้ดีที่ความเร็วของชุดคัดขนาด 20 รอบต่อนาที มีเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำในการคัดขนาด 90.8% ความสามารถในการทำงาน 167.8 กิโลกรัมต่อชั่วโมง และอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 0.8 กิโลวัตต์-ชั่วโมง และผลการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม พบว่าเมื่อใช้เครื่องคัดขนาดกลีบกระเทียม 2,400 ชั่วโมงต่อปี ได้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของเครื่อง 0.2 บาทต่อกิโลกรัม ระยะเวลาคืนทุน 1.06 ปี และการใช้งานที่จุดคุ้มทุน 557 ชั่วโมงต่อปี
บทคัดย่อ (EN): A garlic sizing machine was fabricated to increase the working capacity and reduce garlic sizing time in the seasoning industry. The prototype consisted of a main frame, sizing unit, feeding chute, power transmission unit and 1-hp electric motor used as a prime mover. A bulk of whole garlic was fed manually into the feeding chute at the top of the machine. Then, these fell into the sizing unit comprising of a set of 3 cylindrical rotary sieves that serves to grade garlic into 3 sizes. After sizing, the garlic was discharged to the discharge chute in front of the machine. For performance evaluation, continued feeding and 3 sizing unit speeds of 10, 15 and 20 rpm were used. The test results indicated that the best sizing quality was obtained when the machine was operated at the sizing unit speed of 20 rpm. The sizing accuracy was found to be 90.8%, the working capacity was 167.8 kg per hour, and the machine consumed 0.8 kW-h of electric power. Based on engineering economic analysis, the machine cost was found to be 0.2 Baht/kg, the payback period was 1.06 years, and the breakeven point was 557 hours per year at the annual use of 2,400 hours per year.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/251475/172001
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดขนาดกระเทียม
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดขนาดมะเขือเทศเชอรี่เพื่อใช้ในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง การออกแบบและพัฒนาเครื่องคัดขนาดมะเขือเทศเชอรี่เพื่อใช้ในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอุ๋ง การปรับปรุงเครื่องคัดขนาดผลมังคุด การพัฒนาเครื่องคัดขนาดกุ้งผ่าหลังแบบผีเสื้ออัตโนมัติระบบคอมพิวเตอร์วิสัยทัศน์ 2553A17002169 การพัฒนาเครื่องกะเทาะ และเครื่องคัดขนาดเมล็ดข้าวกล้องขนาดเล็ก เพื่อใช้ผลิตข้าวกล้องงอกสำหรับครัวเรือน การออกแบบและพัฒนาเครื่องแยกกลีบกระเทียมแบบแกนนวดหมุนเหวี่ยงแกนนอน การพัฒนากระบวนการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางที่มีขนาดเล็ก (ระยะที่ 2) โครงการวิจัยการออกแบบและพัฒนาเครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัติตามวิเคราะห์ดินสำหรับอ้อย โครงการวิจัยการออกแบบและพัฒนาเครื่องเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมันระบบนิวเมติกส์ การศึกษาความเป็นไปได้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ปาล์มน้ำมัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก