สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดแยกคุณภาพผลมังคุดโดยค่าความถ่วงจำเพาะของสารละลายแบบต่อเนื่องด้วยอุปกรณ์ควบคุมอัลตร้าโซนิค
ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดแยกคุณภาพผลมังคุดโดยค่าความถ่วงจำเพาะของสารละลายแบบต่อเนื่องด้วยอุปกรณ์ควบคุมอัลตร้าโซนิค
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Automatic Quality Grading Machine of Mangosteen using Ultrasonic Specific Gravity Sensor – based Control System
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ปรีดาวรรณ ไชยศรีชลธาร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: มาตรฐานการส่งออกมังคุดคุณภาพ กำหนดให้ต้องคัดมังคุดเนื้อแก้วออก ผู้ประกอบการส่งออกมังคุดโดยทั่วไปคัดคุณภาพตามมาตรฐานด้วยวิธีความถ่วงจำเพาะซึ่งเป็นการคัดมังคุดเนื้อแก้วออกจากมังคุดเนื้อปกติครั้งละหลายผลแบบดั้งเดิมด้วยความถ่วงจำเพาะของน้ำหรือสารละลายเช่นน้ำเกลืออย่างไม่ต่อเนื่อง ดังนั้นระบบคัดแยกคุณภาพของผลมังคุดโดยค่าความถ่วงจำเพาะของสารละลายเป็นต้นแบบที่ควบคุมความถ่วงจำเพาะของสารละลายในการคัดแยกให้คงที่และเป็นการคัดแยกอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาใน 5 ส่วน ได้แก่ ชุดวัดและควบคุมความถ่วงจำเพาะ ถังคัดแยกคุณภาพ ต้นแบบระบบลำเลียงมังคุดเข้าถังคัดแยก ต้นแบบระบบลำเลียงผลมังคุดส่วนจมน้ำในถังคัดแยก และต้นแบบระบบลำเลียงผลมังคุดส่วนลอยน้ำในถังคัด ในการคัดแยกมังคุดดีหรือเนื้อปกติจะลอยไปตามช่องน้ำออกและถูกลำเลียงออกโดยต้นแบบระบบลำเลียงผลมังคุดส่วนลอยน้ำในถังคัดแยก ส่วนมังคุดที่จมเป็นมังคุดที่มีลักษณะเป็นเนื้อแก้วและหรือมียางไหลในนั้นจะถูกลำเลียงออกโดยต้นแบบระบบลำเลียงผลมังคุดส่วนจมน้ำในถังคัดแยก ชุดวัดและควบคุมความถ่วงจำเพาะถูกพัฒนามาจากโมดูลอัลตร้าโซนิก รุ่น US-015 ซึ่งค่าความถ่วงจำเพาะของสารละลายขึ้นอยู่กับการตกลงของผู้ประกอบการและเกษตรกร ตามคำแนะนำของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 กรมวิชาการเกษตร แนะนำว่าในฤดูร้อนให้ใช้น้ำประปาในการคัดแยก และในฤดูฝนให้ใช้ความเข้มข้นของสารละลายเกลือที่ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ ถังคัดแยกคุณภาพไฟเบอร์กลาส ขนาด กว้าง 1,000 มิลลิเมตร ยาว 3,100 มิลลิเมตร ระบบลำเลียงมังคุดเข้าถังคัดแยกแบบใช้สายพานพีวีซี สีเขียว ผิวขรุขระ ต้นแบบระบบลำเลียงผลมังคุดส่วนลอยน้ำในถังคัดแยกทำงานต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นกรงกระรอกทรงกระบอกติดใบตักมังคุดในแนวเฉียงเพื่อให้มังคุดไหลออกจากชุดลำเลียงได้หมดก่อนใบตักจะพลิกกลับไปด้านหลังกรงกระรอกทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 29 เซ็นติเมตร ยาว 44 เซ็นติเมตร ติดใบตัก 2 ใบ ขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ทำมุมเฉียงหรือมุมเท 60 องศา มอเตอร์เกียร์ขนาด 120 วัตต์ และควบคุมความเร็ว 10 รอบต่อนาที สามารถลำเลียงมังคุดลอยน้ำ 800 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ต้นแบบระบบลำเลียงผลมังคุดส่วนจมน้ำในถังคัดแยก มีขนาดกว้าง 40 เซ็นติเมตร ยาว 120 เซ็นติเมตร สูง 100 เซ็นติเมตร ประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมหัวเกียร์อัตราทด 20 ต่อ 1 ตัวปรับความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้า ลูกกลิ้งลำเลียง (Drive Roller) สายพานลำเลียงโพลิโพรพิลีน (PP) เพื่อให้ทนต่อการใช้ในน้ำเกลือ ขับด้วยโซ่และล้อฟันเฟืองสแตนเลส มีส่วนป้อนสแตนเลสเพื่อให้มังคุดจมกลิ้งไปยังสายพานลำเลียงส่วนจม สามารถลำเลียงมังคุดลอยได้ 1,330 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพการคัดแยกของต้นแบบเครื่องคัดแยกคุณภาพผลมังคุดโดยค่าความถ่วงจำเพาะของสารละลายทำงานต่อเนื่องขึ้นอยู่กับปริมาณมังคุดปกติและมังคุดเนื้อแก้วที่เข้ามาในแต่ละล๊อตโดยสามารถคัดแยกได้ 800 – 2,130 กิโลกรัมต่อชั่วโมง
บทคัดย่อ (EN): Sorting out of translucent mangosteen fruits is national standard of quality mangosteens for export. Exporters in general perform grading of translucent and normal fresh mangosteens by conventional specific gravity method which is batch type bulk grading by water or saline solution. Quality grading system of mangosteen by specific gravity of solution aspired at possibility of continuous grading with constant specific gravity value of solution. Automatic Quality Grading Machine of Mangosteen using Ultrasonic Specific Gravity Sensor – based Control System is a prototype of the control constant specific gravity solution with developed 5 parts such as Specific gravity measurement and control set, Grading tank, Input conveyor prototype, Fruit submerged conveyor prototype and Fruit floating conveyor prototype. Specific gravity measurement and control set was developed from US-015 ultrasonic modules. The specific gravity solution depends on the agreement of entrepreneurs and farmers. Office of agricultural research and development region 6 advice that water and 5 percent of salt solution were used in the separation in the rainy and summer seasons, respectively. 1,000 mm long, 3,100 mm wide of grading tank was manufactured from fiberglass. Input conveyor prototype was manufactured green rough PVC. Fruit floating conveyor prototype was attained normal fresh mangosteens from grading tank. Based on angle of repose of fresh mangosteens was assessed to be 35 degrees, two curved type conveyor flights were 60 degrees of angle and designed to shove all fetched fruits out at the lateral side of the conveyor. Cylindrical conveyor was 29 cm. in diameter and 44 cm. in length. 120 watts of motor and 60 rpm in speed were utilized for grading rate of 800 kgs/hr. 40 centimeters wide and 120 centimeters long, 100 centimeters high of fruit submerged conveyor prototype was attained translucent mangosteens from grading tank. Electric motor with a gear ratio of 20 to 1, Roller conveyors (Drive roller), Conveyor poly propylene (PP) for withstand the salt water, Chain and cog wheels were utilized for grading rate of 1,330 kgs/hr. Grading effective depend on the amount of translucent and normal fruit and selected specific solution for grading rate of 800-2130 kg per hour
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดแยกคุณภาพผลมังคุดโดยค่าความถ่วงจำเพาะของสารละลายแบบต่อเนื่องด้วยอุปกรณ์ควบคุมอัลตร้าโซนิค
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2559
การวิจัยในสภาพสวนเพื่อพัฒนาการผลิตมังคุดนอกฤดูจังหวัดนครศรีธรรมราช การผลิตถ่านจากเปลือกมังคุดและผลมังคุดคัดทิ้งหรือมังคุดตกเกรดเพื่อใช้เป็นถ่านกรองน้ำและถ่านดูดซับความชื้นและกลิ่น โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องคัดแยกคุณภาพมังคุดโดยความถ่วงจำเพาะ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแก้ปัญหาการเกิดอาการเนื้อแก้ว และยางไหลในผลมังคุด ชุดโครงการวิจัยและพัฒนามังคุด วิจัยพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดแยกคุณภาพผลมังคุดโดยค่าความถ่วงจำเพาะของ สารละลายด้วยอุปกรณ์ควบคุมแสงอินฟราเรด โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมังคุดคุณภาพ การปรับปรุงเครื่องคัดขนาดผลมังคุด การพัฒนาเครื่องจำแนกคุณภาพมังคุดโดยใช้เทคนิคการตรวจวัดแบบไม่ทำลาย โครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งเนื้อมังคุดด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก