สืบค้นงานวิจัย
โครงการย่อยที่ 7:การทดสอบประสิทธิภาพและวิธีการใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราสาเหตุโรคแมลงในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำและมะเขือเทศในสภาพแปลง
มาลี ตั้งระเบียบ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการย่อยที่ 7:การทดสอบประสิทธิภาพและวิธีการใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราสาเหตุโรคแมลงในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำและมะเขือเทศในสภาพแปลง
ชื่อเรื่อง (EN): Subproject 7:Research and Development of Pheromone Trap for Controlling Diamondback Moth on Highland Cultivations
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มาลี ตั้งระเบียบ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการค้นคว้าวิจัยปีที่ผ่านมาพบเชื้อรา Metarhizium anisopliae (Ma.4849) Beauveria bassiana (Bb.5335, Bb. 6241) และ Paecilomyces tenuipes (Pt. 6073) มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำและมะเขือเทศในสภาพห้องปฏิบัติการ และเมื่อพัฒนาเป็นสูตรสำเร็จชีวภัณฑ์แล้วยังคงมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงได้ผลดี การทดลองครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ ทดสอบประสิทธิภาพและวิธีการใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราสาเหตุโรคแมลงควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำปลีและมะเขือเทศในแปลงปลูกด้วยการศึกษาหาอัตราที่เหมาะสมของสูตรสำเร็จสารชีวภัณฑ์แบบต่างๆ การหาความคงทนของเชื้อราบนใบพืชและในดินที่มีสภาพแตกต่างไปจากปกติ ประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงในสภาพโรงเรือนที่มีการจำลองสภาพภูมิอากาศให้แปรปรวน รวมทั้งมีการศึกษาหาประสิทธิภาพของเชื้อราไอโซเลทใหม่ที่คัดแยกได้จากพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อพัฒนาเป็นสารชีวภัณฑ์ตัวใหม่สำหรับการใช้ในพื้นที่โครงการหลวงซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สูงที่มีสภาพภูมิอากาศแตกต่างจากพื้นที่ราบต่อไป ผลการศึกษาพบว่า สูตรสำเร็จชีวภัณฑ์รูปแบบเม็ดอัตราของเชื้อราที่เหมาะสมสำหรับการใช้ควบคุมแมลงในสภาพแปลงคือ 5 กรัม/ลิตร สำหรับเชื้อรา Bb.6241 Ma.4849 และ Pt.6073 ส่วนเชื้อรา Bb.5335 ใช้เพียง 2 กรัม/ลิตร ส่วนสูตรสำเร็จชีวภัณฑ์รูปแบบผง อัตรา 0.1 กรัม/ลิตร แบบน้ำเข้มข้น อัตรา 1 มล./ลิตร สำหรับเชื้อรา Beauveria และ Paecilomyces ส่วนเชื้อรา Metarhizium ใช้ที่อัตรา 5 มล./ลิตร เท่ากันกับสูตรน้ำมันที่ผลิตโดยใช้สูตรน้ำเข้มข้นผสมกับน้ำมันนั้นส่วน Beauveria Bb.5335 ใช้อัตรา 1 มล./ลิตร สำหรับการศึกษาคงทนของเชื้อราบนใบพืชพบว่าในสภาพที่มีการพรางแสงเชื้อราคงทนอยู่ได้นานที่สุด ความแปรปรวนของสภาพอากาศไม่มีผลต่อความคงทนของเชื้อรา สูตรสำเร็จสูตรเม็ดมีความคงทนมากที่สุด ส่วนสูตรน้ำมีความคงทนน้อยที่สุด และการทำเป็นสูตรน้ำมันสามารถทำให้เชื้อราเพิ่มความคงทนในสภาพแวดล้อมได้มากขึ้น สูตรสำเร็จชีวภัณฑ์รูปแบบเม็ดและแบบน้ำมันที่ผลิตจากโคนิเดีย เชื้อรามีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 30 วัน ส่วนความคงทนของเชื้อราในสภาพของดินที่แตกต่างกันพบว่าดินที่มีอินทรียวัตถุมาก พบเชื้อรามีความมีชีวิตน้อยกว่าดินที่มีอินทรียวัตถุน้อย ในขณะที่ดินที่เป็นกรดจัดและด่างจัดมีผลต่อการมีชีวิตของเชื้อราแต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับดินที่มีสภาพเป็นกลาง โดยดินด่างจัดมีผลต่อความมีชีวิตของเชื้อรามากกว่าดินกรดจัด การศึกษาครั้งนี้การปลูกพืช และชนิดของพืชปลูกไม่มีผลต่อความมีชีวิตของเชื้อราในดิน ระหว่างเชื้อราที่ทดสอบครั้งนี้ เชื้อรา M. anisopliae มีความคงทนน้อยที่สุด ความคงทนมากที่สุด คือ P. tenuipes แต่ไม่แตกต่างจากเชื้อรา B. bassiana แต่พบมีความแตกต่างของความคงทนในเชื้อราที่ต่างไอโซเลทกัน สำหรับการควบคุมแมลงศัตรูพืชกรรมวิธีที่มีการใช้เชื้อรามีปริมาณแมลงศัตรูพืชน้อยกว่ากรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทั้งแมลงศัตรูกะหล่ำและมะเขือเทศ ส่วนระหว่างกรรมวิธีที่มีการใช้ เชื้อรา M. anisopliae และ B. bassiana พบปริมาณแมลงน้อยกว่าเชื้อรา P. tenuipes แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนระหว่างสูตรสำเร็จสารชีวภัณฑ์ พบว่าการใช้ชีวภัณฑ์เชื้อรารูปแบบเม็ดให้ผลในการควบคุมมากกว่าชีวภัณฑ์รูปแบบอื่นๆ ผลการวินิจฉัยชนิดของเชื้อราที่คัดแยกได้ใหม่ พบว่า เป็นเชื้อรา Nomuraea rileyi , Beauveria bassiana Metarhizium anisopliae โดยเชื้อราแต่ละชนิดเจริญเติบโตได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อราที่แตกต่างกัน สำหรับประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด พบว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนใยผักได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และมีผลต่อการเจริญเติบโต การวางไข่ และประชากรรุ่นลูก แต่สำหรับกับเพลี้ยอ่อน เชื้อรา N. rileyi ไม่มีผลทำให้เพลี้ยอ่อนตาย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-02-23
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-10-19
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการย่อยที่ 7:การทดสอบประสิทธิภาพและวิธีการใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราสาเหตุโรคแมลงในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำและมะเขือเทศในสภาพแปลง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
19 ตุลาคม 2555
การทดสอบประสิทธิภาพและวิธีการใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราสาเหตุโรคแมลงในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำและมะเขือเทศในสภาพแปลงกะหล่ำและมะเขือเทศในสภาพแปลง การควบคุมศัตรูสำคัญของพริกด้วยเชื้อราสาเหตุโรคและแมลง Beauvaria Bassiana สารชีวภัณฑ์ผลงานของศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ป้องกันกำจัดศัตรูพืชปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิต ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง การพัฒนาประสิทธิภาพเชื้อราปฎิปักษ์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำ และมะเขือเทศบนพื้นที่สูง ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี การประยุกต์ใช้เชื้อรา Beauveria bassiana สายพันธุ์ท้องถิ่นในการควบคุมศัตรูพืชเพื่อการผลิตผักวงศ์กะหล่ำปลอดภัยจากสารพิษ การประยุกต์ใช้เชื้อรา Beauveria bassiana สายพันธุ์ท้องถิ่นในการควบคุมศัตรูพืชเพื่อการผลิตผักวงศ์กะหล่ำปลอดภัยจากสารพิษ (ระยะขยายผล) 2554A17003039 การเกิดแมลงศัตรูพืชในแปลงพืชผัก 2 ชนิดที่ใช้น้ำส้มควันไม้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช โครงการย่อยที่ 1: การทดสอบการเชื่อมโยงข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืชสำหรับป้องกันการระบาดในพืชตระกูลพริก กะหล่ำปลี และมะเขือเทศบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก