สืบค้นงานวิจัย
ความสามารถของเชื้อราเอนโดไฟท์จากมะเขือเทศ ส้ม และยางพารา ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา
Reuthairat Khamsan - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ความสามารถของเชื้อราเอนโดไฟท์จากมะเขือเทศ ส้ม และยางพารา ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา
ชื่อเรื่อง (EN): Ability of endophytic fungi from tomato, orange and rubber in inhibiting growth of phytophthora infestans
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Reuthairat Khamsan
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: "เชื้อราเอน โดไฟท์เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในพืชแล้วส่งผลให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดี และมี ความต้านทานต่อโรคมากขึ้น การทดลองแยกเชื้อราเอน โดไฟท์จากส่วนของราก ลำต้น และใบของ พืชเศรษฐกิจ 3 ชนิดคือ มะเขือเทศ ส้ม และยางพารา สามารถแยกเชื้อราเอนโดไฟท์ได้ทั้งหมด 298 ไอโซเลท การจำแนกในระดับ genus สามารถจำแนกได้เป็น 9 กลุ่ม คือ Fusariun spp., Penicillim spp., Aspergillus spp, Papularia spp., Curvularia spp., Colletotrichum spp., Idriella spp, Nodulosporium spp. และ Geotrichum spp. เมื่อนำเชื้อราเอน โคไฟท์ทั้งหมดมาทดสอบ ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Prytophthora infestans ด้วยวิธี dual culture พบว่า Fusarium sp. RR251 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. ifestans ได้สูงสุด (62.22%) รองลงมา คือ Penicillim sp. RL3036 (56.67%) และ Aspergillus sp. OS3029 (55.56%) ส่วนผลการทดสอบ ประสิทธิภาพของ culure filrate ของเชื้อราเอนโดไฟท์ทั้ง 3 ชนิดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. infestans โดยใช้ความเข้มข้นของ culure filtratc ที่ 10, 30 และ 50 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ที่ความ เข้มข้น50% ของ culture filrate ของเชื้อราทุกชนิดให้เปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงสุด โดย culture filtrate ของ Fusarium sp. RR25 1 ที่ 50% มีประสิทธิภาพการยับยั้งดีที่สุด (45.93%) รองลงมาคือ Aspergillus sp. OS3029 (38.89%) และ Penicilium sp. RL3036 ให้ผลการยับยั้งต่ำสุด (10%) สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อราเอน โดไฟท์ต่อการงอก และความผิดปกติของ เมล็ดมะเขือเทศ (Lycopersicon esculentun cv. TVF) พบว่า เมล็ดมะเขือเทศพันธุ์ TVF ให้อัตราการงอก 36% ส่วนเมล็ดที่แช่ด้วย P. infestans ให้อัตราการงอกเพียง 11.3% สำหรับเมล็ดที่แช่ด้วยเอนโด ไฟท์เพียงอย่างเดียวให้ผลอัตราการงอกไม่แตกต่างจากชุดควบคุมยกเว้นเมล็ดที่แช่ด้วย Fusariun sp. RR251 ที่ให้ผลอัตราการงอก 19% เมื่อนำเมล็ดมาแช่ด้วย P. infestans เป็นเวลา I ชม. แล้วจึงแช่ เชื้อราเอน โดไฟท์ พบว่ามีผลให้อัตราการงอกของเมล็ดเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่แช่ใน P. infestans เพียงอย่างเดียว โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อนำ Aspergillus sp. OS3029 มาทดสอบประสิทธิภาพในต้นมะเขือเทศ พบว่ากรรมวิธีที่ฉีดพ่นด้วย Aspergillus sp. OS3029 จะช่วยลดระดับความรุนแรงของโรคในมะเขือเทศได้"
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสามารถของเชื้อราเอนโดไฟท์จากมะเขือเทศ ส้ม และยางพารา ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา
Reuthairat Khamsan
การยางแห่งประเทศไทย
2551
การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora parasitica KK8 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคโคนเน่าของพลู ความหลากหลายของราเอนโดไฟท์จากพืชป่าชายเลนและประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากราเอนโดไฟท์ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช การใช้ไคโตซานเป็นสารยับยั้งเชื้อราบนแผ่นยางพารา Physiologic Races ของเชื้อรา Hemileia uastatrix B. & Br ประสิทธิภาพของเชื้อแอกติโนไมซีสต์ในการควบคุมเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici เชื้อราเอนโดไฟท์จากพื้นที่ชายฝั่ง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี: กิจกรรมการควบคุมการเจริญของเชื้อราที่สร้างสารไมโคทอกซิน พืชอาศัยเชื้อราออยเดียมของยางพารา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก