สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp.
พรศิลป์ สีเผือก, วสันณ์ เพชรรัตน์, ชัยสิทธิ์ ปรีชา, เวที วิสุทธิแพทย์, พรศิลป์ สีเผือก, วสันณ์ เพชรรัตน์, ชัยสิทธิ์ ปรีชา, เวที วิสุทธิแพทย์ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp.
ชื่อเรื่อง (EN): Control Management Development of Basal Stem Rot of Oil Palm Cause by Ganoderma spp.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma sp. ชัยสิทธิ์ ปรีชา เวทีวิสุทธิแพทย์ พรศิลป์ สีเผือก บทคัดย่อ โรคลำต้นเน่าเกิดจากเชื้อ Ganodermaboninense เมื่อเป็นโรครุนแรงปาล์มน้ำมันก็จะยืนต้นตาย จากการสำรวจโรคลำต้นเน่าใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และกระบี่ จำนวน 10 อำเภอ พบต้นที่เป็นโรคลำต้นเน่าปาล์มน้ำมันจำนวน 1 แปลง ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการตรวจสอบเพื่อยืนยันการเกิดโรคจะพบในแปลงปาล์มน้ำมัน66.67 เปอร์เซ็นต์ แปลงปาล์มน้ำมันใหม่ที่ไม่เคยปลูกปาล์มน้ำมันมาก่อน 33.33 เปอร์เซ็นต์ การแยกเชื้อรา Ganoderma sp. จำนวน 3 ไอโซเลต คือ G001, G002 และ G003 ที่สามารถแยกได้เชื้อบริสุทธิ์ จาก 10 ไอโซเลต ซึ่งมีลักษณะของเส้นใยเชื้อราค่อนข้างหยาบ สีขาวฟู เลี้ยงบนอาหาร PDA อายุ 7 วัน เริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองซีด เมื่อเลี้ยงบนอาหาร PDA อายุ 10 วัน เส้นใยไม่มี clamp connection การศึกษาการทำหัวเชื้อเห็ด Ganoderma sp.โดยใช้วัสดุเพาะ 4 สูตร พบว่าการใช้เมล็ดข้าวเปลือก 100 เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนี มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 6.52 เซนติเมตร การ inoculum เชื้อ Ganoderma sp. พบว่า กรรมวิธีต้นกล้าปาล์มน้ำมันทำแผลที่รากใส่เชื้อสาเหตุ Ganoderma sp.แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคสูงสุดหลังการปลูกเชื้อ 7 เดือน พบใบเหลือง การเจริญหยุดชะงัก ใบยอดไม่คลี่ พบเส้นใยสีน้ำตาลเข้มปกคลุมรอบๆ โคนต้น เริ่มจากการสร้างเป็นกลุ่มโครงสร้างกลมสีขาว จากการคัดเลือกสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อ Ganoderma sp. พบว่า สาร prochlorazมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยมากที่สุด เท่ากับ 96.23 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ สาร kresoxim-methyl, chlorothalonil, difenoconozole, tridermorph, propiconazole, metalaxyl, carbendazim, streptomycin, thianosan, azoxystrobine, cyproconazole,myclobutanil, dimethomorph, copper – oxychloride,fosetyl – aluminiumและ hexoconazale มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใย เท่ากับ 88.88 86.44 81.11 70.56 67.04 63.15 62.59 60.93 58.89 58.89 53.33 50.89 50.00 50.00 50.00 และ 50.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมัน พบว่า การแยกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์จากตัวอย่างดิน soilsurfacedilutionplate พบแบคทีเรียปฏิปักษ์ จำนวน 50 ไอโซเลท และการแยกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์จากตัวอย่างดอกเห็ด โดยวิธี sporedilutionplate พบแบคทีเรียปฏิปักษ์ จำนวน 25 ไอโซเลท รวมทั้งหมด 75 ไอโซเลท เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีแนวโน้มในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Ganoderma sp. จำนวน 25 ไอโซเลท การทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีแนวโน้มในการยับยั้งการเจริญของ เชื้อ Ganoderma sp. เมื่อปลูกเชื้อ G001 ก่อน 1 วัน และปลูกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ พบว่า แบคทีเรียปฏิปักษ์ สายพันธุ์ B001 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเท่ากับ 40.00 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปลูกเชื้อสายพันธุ์ G001 พร้อมกับแบคทีเรียปฏิปักษ์ พบว่า แบคทีเรียปฏิปักษ์ สายพันธุ์ B001 มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง เท่ากับ 57.04 เปอร์เซ็นต์และเมื่อปลูกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ ก่อน 2 วัน และปลูกเชื้อG001 พบว่า แบคทีเรียปฏิปักษ์ สายพันธุ์ B001 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเท่ากับ 88.15 เปอร์เซ็นต์ บ่มเชื้อไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน ในสภาพห้องปฏิบัติการจากการทดสอบเชื้อปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Ganoderma sp. พบว่า ปลูกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ก่อน 2 วัน และปลูกเชื้อ Ganoderma sp. มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเชื้อ Ganodema sp. ได้ดีที่สุด รองลงมา คือ ปลูกเชื้อ Ganoderma sp. พร้อมกับแบคทีเรียปฏิปักษ์ และปลูกเชื้อ Ganoderma sp. ก่อน 1 วัน และปลูกเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ การแยกเชื้อราปฏิปักษ์จากตัวอย่างดิน โดยวิธี soil surface dilution plate พบแบคทีเรียที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นปฏิปักษ์ จำนวน 20 ไอโซเลต และจากตัวอย่างดอกเห็ด โดยวิธี sporedilution plate พบแบคทีเรียที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นปฏิปักษ์ จำนวน 20 ไอโซเลต รวมทั้งหมด 40 ไอโซเลท การคัดเลือกเชื้อราที่มีแนวโน้มในการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Ganoderma sp.ด้วยวิธี dual culture technique พบเชื้อราที่มีแนวโน้มว่าเป็นปฏิปักษ์ จำนวน 3 ไอโซเลต จาก 40 ไอโซเลต คือ T003, T002 และ T001 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเท่ากับ 51.67,45.56 และ 36.11 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชในการยับยั้งเชื้อ Ganoderma sp. ที่ความเข้มข้น 5 และ 10 มิลลิลิตร พบว่า สารสกัดหยาบจากใบกะละกอที่ความเข้มข้น 10 มิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งมากที่สุด เท่ากับ 43.33 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับความเข้มข้นปริมาตร 5 มิลลิลิตร
บทคัดย่อ (EN): Control Management Development of Basal Stem Rot of Oil Palm Cause by Ganoderma spp. Chaisit Preechaj Wethi Wisutthiphaet and Pornsil Seephueak Basal stem rot of oil palm cause by Ganoderma boninense will be caused the plant stand dying at the severity stage. On the survey for 10 districts in Nakhon Si Thammarat, Surat Thani and Krabi, It was only one old orchard in Surat Thani that infected oil palm were found. The pathogen was isolated from basidiocarp, soil sample and infected plant to identify. Three isolates Ganoderma sp. was pure culture to study for morphological characters of hypha. The colony on PDA of this fungus was white colonies, with roughness and flossy surface mycelia at 7-day. It turned to pale yellow after 10-day. The hypha was no clam connection. The pathogen culture on mother spawn with 4 different substrates in Petridis, paddy rice was the best growing substrate with colony diameter 6.52 centimeters. When study inoculation techniques on oil palm seedling, wounding before inoculation with mycelium and mulcting with dry grass was the highest infected symptom appeared after 210-day. The symptom was yellow leaf, plant stop growing, with furl shoot, and gray mycelium covered around stem basal. The screening for fungicide to control this pathogen using poisoning technique, the result showed that prochloraz was the highest inhibition mycelial growth of 96.23 %. kresoxim-methyl, chlorothalonil, difenoconozole, tridermorph, and propiconazole were high effective control of 88.88, 86.44, 81.11 and 70.56 % respectively. Antagonistic bacteria were isolated from soil by soil surface dilution plate and from Ganoderma basidiocarp by washing technique. Dual technique was used to select antagonists. 25 of 70 isolates were expression to be antagonists. Isolate B001 was dominated over all isolates to control Ganoderma sp. G1. Antagonistic fungi were also isolated and screened by dual technique. 3 of 40 isolates, T001, T002 and T003 showed the high control efficacy against Ganoderma sp. G1. For the screening of plant extract to control this pathogen, the result showed that plant extract was not distinguish control against Ganoderma sp. G1. The crude plant extract from papaya leaf at 25 and 50 microliter /mililiter inhibited this fungal mycelium of 41.26 and 45.33 % respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2559
การขยายพันธุ์ของต้นแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทอเนอร่า (clonal seeds) ในอนาคต ผลของการใช้เชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับไคโตซานในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของยางพารา ประสิทธิภาพการควบคุมโรคลำต้นเน่าของยางชำถุงด้วยสารเคมี โรครากเน่าโคนเน่าของยางพาราและการควบคุม การศึกษาการแพร่ระบาด ความรุนแรงของโรคราแป้งของเงาะ ในจังหวัดนครศรีธรรมราชและพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคราแป้ง ปัจจัยสาเหตุ และแนวทางในการควบคุมกลุ่มอาการทยอยตายในกุ้งก้ามกราม ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อราสาเหตุโรครากขาว และการควบคุมโรคโดยชีววิธี ระบบพลาสมาโอโซไนเซอร์สำหรับการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวที่ก่อให้เกิดโรคเน่าของผลมังคุด การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความต้านทานต่อเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรครากขาวในยางพารา การคัดเลือกสายพันธุ์และการศึกษาเพื่อจำแนกเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่สำคัญ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก