สืบค้นงานวิจัย
การสังเคราะห์แคลเซียมออกไซด์จากขยะเปลือกหอยแครงสำหรับการประยุกต์ใช้งานดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
สุพัตรา วงศ์แสนใหม่ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การสังเคราะห์แคลเซียมออกไซด์จากขยะเปลือกหอยแครงสำหรับการประยุกต์ใช้งานดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
ชื่อเรื่อง (EN): Synthesis of calcium oxide from waste cockle shell for CO2 adsorption applications
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุพัตรา วงศ์แสนใหม่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Supattra Wongsaenmai
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สภาวะโลกร้อนเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน โดยสาเหตุหลักของสภาวะโลกร้อนเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นส่วนหนึ่งของก๊าซเรือนกระจกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สารประกอบแคลเซียมออกไซด์ที่เกิดการคาร์บอเนชันและแคลซิเนชัน เป็นอีกทางเลือกเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ CO2 ที่ได้จากการเผาไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรม ในงานวิจัยนี้ได้สังเคราะห์วัสดุแคลเซียมออกไซด์จากขยะเปลือกหอยแครง โดยศึกษาพฤติกรรมทางความร้อนของขยะเปลือกหอยแครงเพื่อให้ได้ช่วงอุณหภูมิการเผาแคลไซด์ด้วยเทคนิควิเคราะห์การสูญเสียน้ำหนักเชิงความร้อน (TGA) หลังจากนั้นนำขยะเปลือกหอยแครงวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยเทคนิคเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์สเปกโทรเมตรี (XRF) ซึ่งพบว่าเปลือกหอยแครงที่ใช้ในการทดลองนี้มีสารประกอบแคลเซียมออกไซด์มากถึง 98.10% และพฤติกรรมการเกิดเฟสของผงแคลเซียมออกไซด์ที่เตรียมได้ถูกศึกษาโดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (XRD) พื้นที่ผิวจำเพาะ ขนาดของรูพรุน และโครงสร้างทางจุลภาคของขยะเปลือกหอยแครงและขยะเปลือกหอยแครงที่ถูกเผาแคลไซน์แล้วด้วยเทคนิค BET และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่าขยะเปลือกหอยแครงที่ถูกเผาแคลไซน์แล้วสามารถดูดซับ CO2 ในช่วงอุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส ถึง 800 องศาเซลเซียส สามารถยืนยันได้ว่า CaO ที่ได้จากขยะเปลือกหอยแครงสามารถนำไปใช้งานเป็นวัสดุดูดซับ CO2 ได้ดี
บทคัดย่อ (EN): Global warming resulting from the emission of greenhouse gases, especially CO2, has become a widespread concern in the recent years. The use of carbonation/calcination cycles of CaO/CaCO3 is emerging as a viable technique for the capture of CO2 generated in the combustion of coals for power generation. In this work, waste cockle shell was used as raw material for calcium oxide-based sorbent production. The thermal behaviour of waste cockle shell was characterized by thermogravimetric analysis (TGA) to obtain the calcination temperature range. Chemical property analysis using x-ray fluorescence spectrometry (XRF), shows that cockle shell is made up of 98.10% Calcium (Ca) element and CaO is produced after decomposition is conducted, which has been analyzed by x-ray diffusivity (XRD) analyzer. Specific surface area, pore size, morphology of the waste cockle shell and the calcined waste cockle shell were characterized by Brunauer-Emmett-Teller (BET) method and scanning electron microscopy (SEM). It has been found that calcined waste cockle shell can absorb CO2 in the temperature range of 500 °C to 800 °C. The results indicated that the CaO derived from waste cockle shell were able to be used as CO2 sorbent.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-052
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 347,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: http://mdc.library.mju.ac.th/research/2564/supattra_wongsaenmai_2561/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสังเคราะห์แคลเซียมออกไซด์จากขยะเปลือกหอยแครงสำหรับการประยุกต์ใช้งานดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การสังเคราะห์แคลเซียมออกไซด์พื้นที่ผิวสูงจากเศษเปลือกไข่อุตสาหกรรม การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยาแคลเซียมออกไซด์จากกากปูนขาวสำหรับการผลิตไบโอดีเซล ผลของปุ๋ยจากแคลเซียมธรรมชาติและยิปซัมจากเปลือกหอยต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วลิสง การผลิตเชื้อจุลินทรีย์สำหรับย่อยสลายสารในขยะและน้ำเสียเชิงพาณิชย์ ผลของการปรับปรุงฟางข้าวโดยการนึ่งไอน้ำร่วมกับสารละลายแคลเซียมออกไซด์ต่อจลนศาสตร์ การผลิตแก๊สและการย่อยสลายของโภชนะ ผลของแคลเซียมและโบรอนต่อการป้องกันการแตกของผลพลับพันธุ์ฟูยู การศึกษาวัสดุดูดซับสำหรับการประยุกต์ใช้งานสำหรับกำจัดสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในลำไย การพัฒนาประสิทธิภาพของวัสดุดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเส้นใยนาโนแบเรียมออธอไทเทเนต การพัฒนาประสิทธิภาพของวัสดุดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเซรามิกพรุนแบเรียมออธอไทเทเนต การพัฒนาประสิทธิภาพของวัสดุดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยผงนาโนแบเรียมออธอไทเทเนต

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก