สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย
รัศมีเดือน จิตชื่น - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัศมีเดือน จิตชื่น
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยสภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย มีความประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว สภาพการผลิตข้าว สภาพปัญหาการผลิตข้าวและความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวของเกษตรกร ประชากรกลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ 14 อำเภอ ของจังหวัดเลย จำนวน 385 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 73.80 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 26.20 มีอายุเฉลี่ย 47.71 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 75.30 สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีแรงงานภาคเกษตรในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน ประมาณ 2 ใน 3 ของเกษตรกรเป็นลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ขนาดพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 8 ไร่ต่อครัวเรือน ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่นาเป็นนาดอน เงินทุนที่ใช้ในการทำนากู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 56.10 ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 470 กิโลกรัมต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 1,417 บาทต่อไร่ ต้นทุนในการผลิต เฉลี่ย 950 บาทต่อไร่ ลักษณะพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียว วิธีปลูกใช้วิธีปักดำ มีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกข้าว อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้เฉลี่ย 10.20 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนครั้งในการเตรียมดินโดยการไถ 1 ครั้ง อายุข้าวที่ใช้ปักดำ 29-31 วัน การใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตตั้งแต่หว่านกล้าถึงเก็บเกี่ยวข้าว โดยมีการใส่ 2 ครั้ง ตามช่วงอายุข้าว ครั้งที่ 1 ข้าวอายุน้อยกว่า 11 วัน อัตราการใส่ปุ๋ยเฉลี่ย 24.03 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่ 2 อายุข้าว 61-80 วัน อัตราการใส่ปุ๋ยเฉลี่ย 10.30 กิโลกรัมต่อไร่ สภาพปัญหาในการผลิต พบการทำลายของสัตว์ศัตรูข้าว ได้แก่ หอยเชอรี่ ปูนา หนู โรคไหม้ข้าวและการระบาดของวัชพืช ซึ่งเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจแนวทางการป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน ปัญหาด้านปัจจัยการผลิต ได้แก่ ขาดแคลน เมล็ดพันธุ์ดี ปุ๋ยเคมีมีราคาแพง เกษตรกรต้องการพัฒนาการผลิตข้าวโดยต้องการเรียนรู้การเพิ่มผลผลิตข้าวในเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน การเตรียมพันธุ์ การใช้ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง การดูแลรักษาแปลงข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิต การป้องกันกำจัดโรค แมลงและสัตว์ศัตรูข้าว การป้องกันกำจัดวัชพืช เทคนิคการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวและการตลาด สำหรับข้อเสนอแนะ ควรมีการให้ความรู้ในเรื่องการนำหลักวิชาการที่ได้เรียนรู้ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ถ่ายทอดสู่เกษตรกรได้อย่างเหมาะสม เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้และเจ้าหน้าที่ควรออกเยี่ยมให้คำแนะเกษตรกรอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ส่วนข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปควรจะวิจัยความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรเพื่อนำผลการวิจัยใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการผลิตข้าว ต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกรในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวเหนียว กข. 6 ของเกษตรกรปี 2546 ตำบลบ่อแก้ว อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร สภาพปัญหาและความต้องการในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 จังหวัดสกลนคร สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลนาทม อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลบ้านผือ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลนิคม อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก