สืบค้นงานวิจัย
วัสดุรองพื้นต่างชนิดกันที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน
พีรยุทธ สิริฐนกร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: วัสดุรองพื้นต่างชนิดกันที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน
ชื่อเรื่อง (EN): Different of bedding on growth of earthworms and vermicompost productions
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พีรยุทธ สิริฐนกร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Peeryut Sirithanakorn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาวัสดุรองพื้นต่างชนิดกันที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของและผลผลิตปุ้ยหมักจากไส้เดือนดิน วางแผน การทดลองแบบ 2x4 Factorial in RCBD จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 อัตราการใส่ไส้เดือนดินสายพันธุ์แอฟริกาไนท์ ครอเลอร์ (Eudriluseugeniae) 2 อัตรา ที่ 100 กรัม 150 กรัม ต่อกระถาง ปัจจัยที่ 2 คือ วัสดุรองพื้นเลี้ยง 4 ชนิด ดังนี้ ขุยมะพร้าว ปุ๋ยหมักผักตบชวา ปุ้ยหมักต้นกล้วย และปุ้ยคอกมูลวัว เก็บข้อมูลที่ระยะเวลา 15, 30 และ 45 วันหลังจากมี การใส่ไส้เดือนดินลงในวัสดุรองพื้น พบว่าอัตราการใส่ไส้เดือนดินทั้ง 2 อัตรา มีผลทำให้จำนวนถุงไข่ น้ำหนักตัวของไส้เดือน ดิน และผลผลิตปุ้ยหมัก มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยเฉพาะที่ระยะ 15 วันหลังจากใส่ไส้เดือนดิน อัตราการใส่ไส้เดือน ดินที่ 150 กรัมต่อกระถาง ให้จำนวนถุงไข่มากที่สุด 73.92 ฟอง และอัตราที่ 100 กรัมต่อกระถาง ให้จำนวนถุงไข่ 41.50 ฟอง เช่นเดียวกัน วัสดุรองพื้นทั้ง 4 ประเภท มีผลทำให้จำนวนถุงไข่ น้ำหนักตัวไส้เดือนดินและผลผลิตปุ้ยหมักไส้เดือน ดิน มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ส่วนที่ระยะ 30 วันวัสดุรองพื้นทั้ง 4 ประเภท มีผลทำให้จำนวนถุงไข่ มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญโดยที่ระยะ 15 วันแรกในวัสดุปุ๋ยคอกมูลวัว พบว่าให้ผลผลิตจำนวนถุงไข่ น้ำหนักตัวไส้เดือนดิน และผลผลิตปุ้ยหมักไส้เดือนดิน ให้ค่าโดยเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือปุ้ยหมักผักตบชวา วัสดุปุ๋ยหมัก ต้นกล้วยและวัสดุขุยมะพร้าวตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าวัสดุรองพื้นประเภทปุ้ยหมักผักตบชวา ปุ้ยหมักต้นกล้วยสามารถ นำมาเลี้ยงไส้เดือนดินได้ แต่ต้องผ่านการหมักที่สมบูรณ์
บทคัดย่อ (EN): This study investigated the difference of bedding on growth of earthworms and vermicompost productions. The experiment was a 2x4 Factorial in a RCBD with three replications. The main factors were the rate of earthworm of African Night (Taylor Cross , Eudriluseugeniae)at 100 and 150 g per pot, and the seconded factor were four beddings , include that coconut coir fiber ,compost by water hyacinth, compost by banana tree and cow manure . Storage periods were 15 , 30 and 45 days after the earthworms in pot. The results were shown that the both rate of the earthworms had significantly affected to number of cocoon, weight of earthworms and produce compost, in particular, the period of 15 days after the earthworms in pot. The highest cocoon was observed with earthworms at the rate of 150 grams per pot (73.92cocoon) and at the rate of 100 g per pot has cocoon 41.50. The different of bedding significantly affected to the number of cocoon, weight of earthworms and produce of vermicompost at all period, but at 30 days after the earthworms in pot significantly affected only the number of cocoon.The greatest number of cocoon, weight of earthworms and produce compost was obtained in bedding with cow manure, followed by compost with water hyacinth, compost with banana tree and coconut coir fiber. This result was found that compost with water hyacinth, compost with banana tree could be used for bedding of earthworms.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P751.pdf&id=1374&keeptrack=5
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
วัสดุรองพื้นต่างชนิดกันที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตปุ๋ยหมักจากไส้เดือนดิน
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการผสมมูลไก่ร่วมกับกากอุตสาหกรรมเกษตรต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินในการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ผลของปุ๋ยหมักเติมอากาศต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของดาวเรือง ผลของการใช้แกลบเผาต่อการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eudrilus eugeniae และ Eisenia foetida ในกระบวนการทำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ศึกษากิจกรรมของจุลินทรีย์ดินและชนิดอินทรียวัตถุที่เกิดขึ้นจากไส้เดือนดินและปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ผลของการใช้วัสดุคลุมแปลงปลูกที่แตกต่างกันที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของฟ้าทะลายโจร ศึกษาแนวทางการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินด้วยสายพันธุ์ท้องถิ่นไทย การผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและวัสดุอินทรีย์จากชุมชนสำหรับส่งเสริมเกษตรกรอินทรีย์ในพื้นที่สูงของมูลนิธิโครงการหลวง ผลของสภาวะน้ำท่วมขังที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชสมุนไพรผักคาวตอง ผลของปุ๋ยมูลไก่ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าปักกิ่ง ศึกษาคุณภาพปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก