สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลองกองคุณภาพเพื่อการส่งออก
ทวีศักดิ์ แสงอุดม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลองกองคุณภาพเพื่อการส่งออก
ชื่อเรื่อง (EN): Studies and Development of Production for Increase Quality and Exporting of Longkong
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทวีศักดิ์ แสงอุดม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ทวีศักดิ์ แสงอุดม
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนาการผลิตลองกองคุณภาพเพื่อการส่งออก มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตลองกองคุณภาพ คัดเลือกสายต้นพันธุ์ดี รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปและการยืดอายุการเก็บรักษาลองกอง ดำเนินการปี 2552-2553 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สำนักวิจัยพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร และสวนเกษตรกร ผลการทดลองพบว่า การใช้สารพาโคลบิวทาโซล 400 และ 500 ppm ให้ความยาวช่อ น้ำหนักช่อและจำนวนผลในช่อมากกว่ากรรมวิธีที่ไม่ใช้สาร ส่วนคุณภาพผลไม่แตกต่างกัน ส่วนการคัดเลือกลองกองสายต้นพันธุ์ดี ได้คัดเลือกต้นที่ออกดอกและให้ผลผลิตที่มีรสชาติหวานหอมได้ 48 สายต้น (ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง 40 สายต้น ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี 8 สายต้น โดยเป็นสายต้นจากสวนเกษตร 3 สายต้น ) การศึกษาการผลิต Probiotic juice สามารถขยายเชื้อ Lactobacillus plantarum ที่เคลือบแบบ Duolac โดยใช้ Anarobic Solution ที่อุณหภูมิห้อง การศึกษาความสามารถในการหมักของ Lactobacillus plantarum ในน้ำลองกอง หมักที่ 37 องศาเซลเซียส ภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนโดยใช้ CO2 Gas Pak และเมื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของ Probiotic Juice จากลองกอง 1 หน่วยบริโภค (100 กรัม) จะได้รับพลังงาน 44.65 กิโลแคลอรี คิดเป็นพลังงานจากไขมัน 0.09 กิโลแคลอรี และใยอาหาร 0.17 กรัม วิตามินบี1 0.06 มิลลิกรัม แคลเซียม 5.76 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 0.08 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมของส่วนที่บริโภค การยืดอายุการเก็บรักษา พบว่า การใช้สารละลายไคโตซาน ความเข้มข้น 0.25 %ร่วมกับการบรรจุในบรรจุภัณฑ์แอคทีฟ ความหนา 20 และ 40 ไมครอน เกิดการหลุดร่วงของผลน้อยที่สุดและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคสูงสุด โดยการใช้ไคโตซานร่วมกับบรรจุภัณฑ์แอคทีฟความหนา 40 ไมครอน เป็นกรรมวิธีแนะนำในการลดความเสียหายเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและคงคุณภาพของลองกอง
บทคัดย่อ (EN): The researche and development on longkong production for export have aimed to increase yield, quality of fruits panicle, value added by make new products and prolong shelf life of longkong. The studied was conducted at Chantaburi Horticulture Research Center, Trang Horticulture Research Center, Post-Harvest and Products Processing Research and Development office and farmers orchard. The used 400 and 500 ppm of paclobutrazol has effected to increase weight, length of panicle, and number of fruits per panicle. Clonal selection were selected at Chantaburi and Trang Horticulture Research Center and farmer orchards, the result found that 48 clones of longkong had good criterias such as more flowering, more fruit set ,aroma and good taste, which have selected for improve cultivar. The best clonal could be propagate to farmers . Processing was studied the method to produce probiotic juice from longkong,the result found that, it could expand Lactobacillus plantarum organism coated with Duolac by used Anarobic Solution at ambient temperature. For fermented of Lactobacillus plantarum from longkong juice, the temperature condition was 37 degree celcius under no oxygen condition by used Gas Pak. The nutrition value from probiotic juice 1 unit (100 grams) gave 41.65 kilo calories of energy, which received from 0.09 kilo calories of fat, 0.17 grams of fiber, 0.06 milligrams of vitamin B, 5.76 milligrams of calcium and 0.08 milligrams of iron per 100 grams of consumed. The result to prolong shelf life of longkong after storage had been found that ,the used of chitosan at o.25 % by sprayed solution at the fruit panicle after cleaned with brush and air blower then keep in active packaging (40 micron). This method was recommended to prolong shelf life of longkong, could reduce fruits drop after storage, decreased deterioration during storage and have accepted from consumers.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลองกองคุณภาพเพื่อการส่งออก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะปรางอย่างมีคุณภาพ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลองกอง โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลางสาดอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตละมุดอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพุทราอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูดอย่างมีคุณภาพ การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ผลของสารต้านการเกิดสีน้ำตาล ต่อคุณภาพของผลลองกองหลังการเก็บเกี่ยว การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (ระยะที่ 2) การวิจัยและพัฒนาการผลิตเห็ดกระดุมเขตร้อน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก