สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมแปรรูป
โชคชัย เอกทัศนาวรรณ, ชไมพร เอกทัศนาวรรณ, นพพงศ์ จุลจอหอ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมแปรรูป
ชื่อเรื่อง (EN): Sweet Corn and Baby Corn Breeding for the Fresh Market and Processing
บทคัดย่อ: ผลการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์แท้และพันธุ์ลูกผสม รวมทั้งการปรับปรุงประชากรข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนมาอย่างต่อเนื่อง ได้พันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมเดี่ยว จำนวน 2 พันธุ์ มีดังนี้ 1) ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวพันธุ์ KSSC 604 ยีน sh2 ได้จากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ KSei 14004 กับสายพันธุ์แท้ Hi-Brix 4-S12-25-1-2 จากผลการทดสอบพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ในฤดูแล้ง ต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน ปี พ.ศ. 2549 พบว่า พันธุ์ KSSC 604 ให้ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก (2,371 กก./ไร่) น้ำหนักฝักสดปอกเปลือก (1,589 กก./ไร่) น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกที่ดี (1,368 กก./ไร่) จำนวนฝักดี 6,073 ฝัก/ไร่ และเปอร์เซ็นต์เมล็ดที่ตัด (43.0%) สูงกว่าพันธุ์อินทรี 2 (พันธุ์เปรียบเทียบ) 26.3, 39.6, 38.6, 5.5 และ 15.3% ตามลำดับ มีความหวาน (14.5% บริกซ์) ความนุ่ม และรสชาติ ดีกว่าเล็กน้อย แต่มีขนาดฝัก (ความยาวฝักถึงปลายติดเมล็ด 16.5 ซม. และความกว้างฝัก 4.5 ซม.) และขนาดเมล็ด (ความกว้างเมล็ด 9.9 มม. และความยาวเมล็ด 11.9 มม.) ใหญ่กว่าพันธุ์อินทรี 2 และมีลักษณะทางการเกษตรบางอย่างดีกว่า ได้แก่ ลักษณะต้น และความต้านทานโรคทางใบ (โรค ราสนิม) และมีเปลือกหุ้มเมล็ดบางกว่าเล็กน้อย (ด้าน abgermial 112 ไมครอน และด้าน germinal 122 ไมครอน) ฝักสีเหลือง ทรงกระบอก มี 14-16 แถว เมล็ดเรียงตัวสม่ำเสมอ ไหมมีสีอ่อน มีอายุวันสลัดละอองเกสร 50% 51 วัน อายุวันออกไหม 50% 52 วัน (เฉลี่ยในต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน) ความสูงต้น 173 ซม. และความสูงฝัก 91 ซม. สูงกว่าพันธุ์อินทรี 2 เล็กน้อย และได้ทดลองผลิตเมล็ดพันธุ์ KSSC 604 ให้โรงงานทดลองแปรรูปในปี พ.ศ. 2550 2) ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมเดี่ยวที่ช่อดอกเพศผู้เป็นหมันและไม่ต้องถอดยอดพันธุ์ KBSC 605 พัฒนามาจากการผสมระหว่าง สายพันธุ์แท้ข้าวโพดฝักอ่อน Ki 28 cms ซึ่งมีลักษณะเพศผู้เป็นหมันเนื่องมาจากไซโตพลาสซึมชนิด C (C cytoplasmic male sterility, C-cms) กับสายพันธุ์แท้ PACB 421-S14-223 ผลการทดสอบพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ในต้นและปลายฤดูฝนปี พ.ศ. 2548 พบว่า พันธุ์ KBSC 605 ให้น้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก 1,049 กก./ไร่ น้ำหนักฝักสดปอกเปลือก 188 กก./ไร่ น้ำหนักฝักสดมาตรฐาน 164 กก./ไร่ น้ำหนักฝักเสีย 24 กก./ไร่ จำนวนฝักดี 26,052 ฝัก/ไร่ (90.61%) และจำนวนฝักเสีย 2,701 ฝัก/ไร่ (9.39%) แตกต่างจากพันธุ์ G-5414 -10.72, 14.63, 22.39, –20.00, 9.80 และ -43.97% ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังให้อัตราแลกเนื้อ 5.65 สูงกว่าพันธุ์ G-5414 ซึ่งให้อัตราแลกเนื้อ 7.19 พันธุ์ KBSC 605 มีอายุเก็บเกี่ยววันแรก 49.5 วัน จำนวนฝัก 1.77 ฝัก/ต้น ฝักอ่อนสีเหลือง ปลายแหลม ไข่ปลาเรียงตัวสม่ำเสมอ ความสูงต้น 190 ซม. ความสูงฝัก 104 ซม. ต้านทานการหักล้ม และโรคทางใบ มีลักษณะลักษณะต้นที่ดี และให้น้ำหนักต้นสด 6,496 กก./ไร่ และได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ KBSC 605 เพื่อเผยแพร่พันธุ์นี้สำหรับแปรรูปเพื่อส่งออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ ยังได้รับทุนโครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โครงการ การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมเดี่ยวที่ไม่ต้องถอดยอด KBSC 605 สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูป และดำเนินการเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2551
บทคัดย่อ (EN): From the results of inbred and hybrid development including population improvement of sweet corn and baby corn varieties, two single-cross hybrids were released as follows: 1) The sh2 hybrid KSSC 604 was developed from the inbred KSei 14004 crossed with the inbred Hi-Brix 4-S12-25-1-2. It was tested in three experiments in three environments of dry, early, and late rainy seasons in 2006 at the National Corn and Sorghum Research Center. From the results, KSSC 604 gave average green ear weight (14.82 t/ha), yellow ear weight (9.93 t/ha), usable ear weight (8.55 t/ha), usable ear weight (8.55 t/ha), usable ears (37,956 ears/ha), and cut kernel (43.0%) higher than those of the hybrid check Insee 2 by 26.3, 39.6, 38.6, 5.5, and 15.3%, respectively. Its sweetness (14.5% brix) was less than that of Insee 2. It also gave better tenderness with similar flavor. Compared to Insee 2, KSSC 604 had thinner pericarp thickness (abgerminal side of 112 micron and germinal side of 122 micron), larger ear (ear length of 16.5 cm and ear width of 4.5 cm) and kernel (kernel width of 9.9 mm and kernel length of 11.9 mm), and more kernel rows (15.4 rows). It showed some better agronomic traits, i.e. leaf disease resistance (especially for southern corn rust) and plant aspect. Also, it possessed yellow ear with regular row arrangement and light silk color. Moreover, its days to 50% anthesis and 50% silk were 51 and 52 days, averaged from the early and late rainy seasons, respectively, plant height of 173 cm, and ear height of 91 cm. KSSC 604 is recommended to the processing plants in 2007. 2) The non-detasseled baby corn single cross, KBSC 605, was developed from the male-sterile baby corn inbred Ki 28 cms crossed with PACB 421-S14-223. The Cooperative Baby Corn Hybrid Trial was conducted in the 2005 early and late rainy seasons at the National Corn and Sorghum Research Center, Pakchong district, Nakhon Ratchasima province. The result showed that KBSC 605 gave unhusked ear weight of 6,556 kg/ha, husked ear weight of 1,175 kg/ha, good ear weight of 1,025 kg/ha, poor ear weight of 150 kg/ha, number of good ear weight of 26,052 ears/ha (90.61%) and number of poor ear weight of 2,701 ears/ha (9.39%) different from those of G-5414 by -10.72, 14.63, 22.39, –20.00, 9.80 and -43.97%, respectively. It possessed unhusked to husked ear weight ratio of 5.65 which was higher than that of G-5414 (7.19). Moreover, it had 1.77 ears/plant, yellow ear with sharp tip, first harvesting date of 49.5 days, plant and ear heights of 190 and 104 cm, respectively. It showed resistance to root lodging and leaf diseases and high fresh plant weight of 40,600 kg/ha. KBSC 605 is released to the processing plant for export product in 2007. In addition, the KBSC 605 hybrid and production technology were transferred to the processing plant in the non-detasseled baby corn single-cross hybrid KBSC 605 testing for processing project funded by the Office of the Higher Education Commission in 2007 and it was completed in 2008.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมแปรรูป
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2555
การใช้เศษวัสดุเหลือใช้ของข้าวโพดฝักอ่อนและข้าวโพดหวานเป็นอาหารสัตว์ การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพดหวานโดยวิธีการผสมกลับร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ระยะที่ 4 การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนในอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมแปรรูปภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพข้าวโพดรับประทานฝักสดโดยวิธีเขตกรรม (ข้าวโพดหวาน) การใช้ Bacillus subtilis เพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน ประสิทธิภาพพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในพื้นที่นาจังหวัดสระแก้ว การยอมรับเทคโนโลยีในการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด การศึกษาแนวทางผลิตข้าวโพดหวานเพื่อการแปรรูป
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก