สืบค้นงานวิจัย
ผลของซิลิคอนและวัสดุปรับสภาพดินที่มีซิลิคอนสูงต่ออ้อยที่ปลูกบนชุดดินน้ำพอง
พนิดา ปลอดสันเทียะ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของซิลิคอนและวัสดุปรับสภาพดินที่มีซิลิคอนสูงต่ออ้อยที่ปลูกบนชุดดินน้ำพอง
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of silicon and Si-rich soil conditioners on sugarcane grown on Nam Phong soil series
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พนิดา ปลอดสันเทียะ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Panida Plodsunthia
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการตอบสนองของอ้อยปลูกที่ปลูกบนชุดดินน้ำพอง (Oxyaquic Haplustal1) ในจังหวัดนครราชสีมา ต่อวัสดุปรับสภาพดินที่มีซิลิคอนสูงต่างชนิดได้แก่ เพอร์ไลต์ เบนทอไนต์ แกลบดิบ และเถ้าแกลบที่ใส่ในอัตราเทียบเท่ากับ 80 กก.ซิลิคอนไร่ โดยเปรียบเทียบกับการใส่ปุ้ยซิลิคอนในอัตราที่เท่ากันและตำรับควบคุม ทำการใส่ในช่วงเตรียมดินสำหรับ ปลูกอ้อย พบว่า ปุ้ยซิลิคอนและวัสดุปรับสภาพดินที่มีซิลิคอนสูงเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของอ้อยปลูกอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติโดยตำรับควบคุมให้ผลผลิตอ้อย (7.16 ต้น/ไร่) จำนวนลำ (8,900 ลำไร่) และจำนวนปล้อง (10.4 ปล้อง/ลำต้น) ต่ำที่สุด การใส่วัสดุปรับสภาพดินที่มีซิลิคอนสูงยกเว้นเถ้าแกลบ ให้ผลผลิตอ้อยอยู่ในพิสัย 14.44-18.79 ต้น/ไร่ซึ่งสูงกว่า การใส่ปุ้ยซิลิคอนที่มีซิลิคอนเทียบเท่ากัน (12.75 ต้น/ไร่) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยแกลบดิบให้ผลผลิตอ้อยสูงที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 18.79 ตัน/ไร่ ซึ่งไม่แตกต่งกับเบนทอไนต์ (15.70 ตัน/ไร่) และเพอร์ไลต์ (14.44 ตัน/ไร) แต่กลับมีแนวโน้มให้ค่า CCS ต่ำกว่าวัสดุปรับสภาพดินซนิดอื่น (12.66 เปรียบเทียบกับ 13.44-14.20) แต่ไม่มีความ แตกต่างกันทางสถิติ โดยเพอร์ไลต์ให้ค่าCCS สูงสุด ขณะที่ตำรับควบคุมให้ค่าต่ำสุดเท่ากับ 8.92 ความเข้มข้นของซิลิคอน ในลำอ้อยมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นกับผลผลิตอ้อย ( = 0.38*) การใส่ปุ๋ยซิลิคอนและวัสดุปรับสภาพดินที่มีซิลิคอนสูงไม่มีผลต่อ ปริมาณอินทรียวัตถุ (4.14-4.19 ก./กก.) ปริมาณฟอสฟอรัส (30.4-34.8 มก./กก.) โพแทสเซียม (24.1-41.3 มก./กก.) และ ซิลิคอน (75.7-82.5 มก./กก.) ที่เป็นประโยชน์ที่หลงเหลือในดินบนหลังจากปลูกอ้อยไป 1 ฤดูกาล แต่ส่งผลให้ดินเป็นกรด เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยให้ค่าพี่เอซอยู่ในพิสัย 4.50-4.83 เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับควบคุม (PH 5.17) โดย เพอร์ไลต์สงผลให้ดินมีพีเอชต่ำที่สุด
บทคัดย่อ (EN): The study was conducted to determine the response of virgincane grown on Nam Phong soil series (Oxyaquic Haplustalf) in Nakhon Ratchasima province to different Si-rich soil conditioners including perlite, bentonite, rice husk and rice husk ash, with applied rate of each material being equivalent to 80 kg Si/rai in comparison with Si fertilizer and control with no Si applied. Silicon fertilizer and all soil conditioners were incorporated during land preparation. The results showed that Si fertilizer and Si-rich soil conditioners significantly increased yield components of virgincane. The control plot statistically gave the lowest cane yield (7.16 t/rai), numbers of cane (8,900 No./rai) and numbers of internode (10.4 No./plant). The application of Si-rich soil conditioners, except for rice husk ash, gave cane yield in the range of 14.44-18.79 t/rai which was significantly higher than that obtained from the plot applied with Si fertilizer (12.75 t/rai). Rice husk significantly gave the highest cane yield of 18.79 t/ rai but with no statistical difference from bentonite (12.75 t/rai) and perlite (12.75 t/rai); however it tended to give lower CCS value than did other soil conditioners (12.66 compared to 13.44-14.20) while perlite tentatively giving the highest CCS value and the lowest CCS value of 8.92 being detected from the control. Silicon concentration in cane statistically had a linear correlation with cane yield (r = 0.38*). Silicon fertilizer and Si-rich soil conditioners had no effect on contents of organic matter (4.14-4.19 g/kg), available P (30.4-34.8 mg/kg), K (24.1-41.3 mg/kg) and Si (75.7-82.5 mg/kg) left in the topsoil after growing sugarcane for one crop but they significantly increased acidity level, giving soil pH to be in the range of 4.50 to 4.83 of which these values were lower than that of the control (pH 5.17). Perlite resulted in the lowest soil pH.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=09 Charuwan.pdf&id=2884&keeptrack=3
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของซิลิคอนและวัสดุปรับสภาพดินที่มีซิลิคอนสูงต่ออ้อยที่ปลูกบนชุดดินน้ำพอง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว ผลของปุ๋ยฟอสฟอรัสต่ออ้อยปลูกในชุดดินสตึกที่ปรับปรุงด้วยขี้เถ้าแกลบ ในอัตราที่แตกต่างกัน ผลของการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอ้อยต่อคุณสมบัติเคมีบางประการของดิน กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ผลของการไถพรวนและวัสดุปรับปรุงดินต่อความเสถียรของเม็ดดินในชุดดินยโสธรที่ปลูกมันสำปะหลัง ผลสะสมของการไถพรวนและวัสดุปรับปรุงดินต่อมันสำปะหลังที่ปลูกในชุดดินวาริน ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผลพลอยได้โรงงานน้ำตาลต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตของอ้อยและสมบัติบางประการของดิน ความหลากหลายและสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างอ้อยพันธุ์การค้า ในประเทศไทย ผลของสภาพความชื้นดินต่อการตรึงแอมโมเนียมในดินนาที่มีแร่ดินเหนียวแตกต่างกัน ผลของการไถพรวนต่อสมบัติดินและผลผลิตข้าวโพดที่ปลูกบนดินชุดดินวาริน ผลของปูนและปุ๋ยหมักต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดที่ปลูกในดินกรด (ชุดดินคอหงส์)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก