สืบค้นงานวิจัย
ผลของปริมาณน้ำชลประทานที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักคาวตอง (Houttuynia cordata Thunb.)
โสมนันทน์ ลิพันธ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของปริมาณน้ำชลประทานที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักคาวตอง (Houttuynia cordata Thunb.)
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of water irrigation amount on growth and yield of Chinese lizard tail (Houttuynia cordata Thunb.)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: โสมนันทน์ ลิพันธ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somanan Liphan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สมยศ เดชภิรัตนมงคล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Somyot Detpiratmongkol
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ในประเทศไทยการศึกษาถึงความต้องการน้ำสำหรับการกำหนดการให้น้ำที่เหมาะแก่ผักคาวตองยังมีอยู่อย่าง จำกัด อย่างไรก็ตามข้อมูลที่เกี่ยวกับอิทธิพลของการให้น้ำอย่างเหมาะสมที่จะทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของผัก คาวตองเพิ่มมากขึ้นก็ยังขาดแคลนอยู่ ดังนั้นจุดประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบถึงผลของปริมาณน้ำ ชลประทานที่มีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของผักคาวตอง การทดลองนี้ได้ดำเนินการที่เรือนทดลอง ของคณะเทคโนโลยี การเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ ทำการทดลองระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึง เมษายน พ.ศ.2557 วางการทดลองแบบ Randomized complete block design โดยทำการปลูกผักคาวตองลง ในกระถาง ทำทั้งหมด 4 ซ้ำ สิ่งทดลอง คือ การให้น้ำชลประทานแก่ผักคาวตอง 6 ระดับ บนพื้นฐานอัตร่าส่วนของการให้ น้ำชลประทาน (IW) ต่อการระเหยของน้ำสะสมจากถาดวัดน้ำระเหย (E) ซึ่งมีอัตราส่วนของ IW/E เท่ากับ 0.2, 0.4, 0.6, 0.8, 1.0 และ 1.2 ผลจากการทดลองพบูว่า การให้น้ำซลประทานในปริมาณที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้อัตราการคายน้ำจากใบ (Transpiration rate) มีค่าเพิ่มมากขึ้น สิ่งทดลองที่มีการให้น้ำ 1.2 IW/E พบว่าให้ผลดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกันกับการให้ น้ำแบบอื่นๆ โดยผักคาวตองมีการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตมีค่าสูงที่สุด น้ำหนักใบแห้ง ลำต้นแห้ง ลำต้นใต้ดินแห้ง และ น้ำหนักแห้งทั้งหมด มีค่าเพิ่มมากขึ้นเมื้อผักคาวตองได้รับน้ำในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนการให้น้ำที่ระดับ 0.2 IWIE ผัก คาวตองมีการเจริญเติบโตทางลำต้นและให้ผลผลิตมีค่าต่ำที่สุด ประสิทธิภาพการใช้น้ำของพืช (WUE) มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อพืช มีการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลจากการทดลองนี้สามารถสรุปได้ว่าผลผลิตของพืซีมีค่าสูงที่สุดเมื่อมีการให้น้ำชลประทานใน ปริมาณที่มากที่สุดที่อัตราส่วนของ 1.2 IW/E
บทคัดย่อ (EN): In Thailand, water requirement studies for proper water irrigation scheduling for Chinese lizard tail have been conducted in a very limited extent. However, information as regards the influence of judicious use of irrigation water for better growth and yield of Chinese lizard tail is lacking. Therefore, the aim of this research was to investigate the effects of water irrigation amount on growth and yield of Chinese lizard tail. The experiment was carried out under glasshouse condition at Faculty of Agricultural Technology, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Bangkok, during December, 2013 to April, 2014. Pots were arranged in Randomized complete block design with four replications. Six water irrigation treatments, based on irrigation water (IW) to cumulative pan evaporation (E) ration such as irrigation at IW/E ratios of 0.2, 0.4, 0.6, 0.8, 1.0 and1.2 were tried. The results disclosed that increasing water irrigation amounts increased transpiration rate. 1.2 of IW/E ratio was found the best among the different IW/E ratio tired, growth and yielding maximum which were significantly different from other treatments. Leaves, stem, rhizome and total dry weight were increased by increasing water irrigation amounts. The lowest growth and yield were recorded in the 0.2 IW/E ratio. The water use efficiency (WUE) increased with the increased of water use. It is concluded from the study that the highest yield can be obtained when crops is irrigated at IW/E ratio of 1.2 (highest water supply).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O017 Hor_091.pdf&id=1824&keeptrack=8
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของปริมาณน้ำชลประทานที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักคาวตอง (Houttuynia cordata Thunb.)
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา (ปีที่ 1) ผลของสภาวะน้ำท่วมขังที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชสมุนไพรผักคาวตอง ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของปาล์มน้ำมันในจังหวัดเพชรบุรี ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของปาล์มน้ำมันในจังหวัดเพชรบุรี ปีที่ 2 ผลของการให้น้ำชลประทานเพิ่มเติมต่อ การเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูแล้ง ปีที่ 1 ประมาณการให้น้ำชลประทานที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและผลผลิตที่เหมาะสมของหญ้าปักกิ่ง ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของไผ่ตงลืมแล้ง (ปีที่ 2) ผลของปุ๋ยน้ำต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดและอ้อย ผลของสาร Trinexapac-ethyl สารเร่งการสุกแก่ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตน้ำตาลของข้าวฟ่างหวาน สรีรวิทยาการเจริญเติบโตและผลผลิตของทานตะวันลูกผสม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก