สืบค้นงานวิจัย
ทรัพยากรสัตว์ทะเลจากเรือสำรวจประมงในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามัน
ทัศพล กระจ่างดารา, สิชล หอยมุข, พรอนันต์ คีรีรัตน์, วรรลี สิงห์ธงยาม - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ทรัพยากรสัตว์ทะเลจากเรือสำรวจประมงในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามัน
ชื่อเรื่อง (EN): Marine Resources from Fisheries Research Vessel in the Seasonal Closed Area of the Andaman Sea
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำในฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่เลี้ยงลูก และพื้นที่ใกล้เคียงทางฝั่งทะเลอันดามัน โดยเรือสำรวจประมงปี 2553 โดยทำการสำรวจ 3 ช่วงเวลา คือก่อน (มีนาคม) ระหว่าง (พฤษภาคม) และก่อนสิ้นสุด (มิถุนายน) ของการใช้มาตรการอนุรักษ์ฯ ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่าช่วงก่อนใช้มาตรการอนุรักษ์ฯ มีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ย 95.42 กก./ชม. ช่วงระหว่างและก่อนสิ้นสุดการใช้มาตรการอนุรักษ์ฯ มีอัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ย 126.10 และ 219.45 กก./ชม. ตามลำดับ ทั้งนี้มีอัตรา การจับเฉลี่ยเฉพาะในเขตมาตรการอนุรักษ์ฯ ในช่วงเวลาก่อน ระหว่าง และก่อนสิ้นสุดมาตรการอนุรักษ์ฯ เท่ากับ 156.99 217.76 และ 370.96 กก./ชม. หรือมีอัตราการจับเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนใช้มาตรการอนุรักษ์ฯ เท่ากับร้อยละ 39 และ 136 ตามลำดับ โดยมีการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มสัตว์น้ำ ซึ่งรวมถึงกลุ่มสัตว์น้ำเศรษฐกิจ สัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็ก และกลุ่มปลาเป็ดแท้ การกระจายขนาดของสัตว์น้ำส่วนใหญ่พบปลาขนาดเล็กในช่วงก่อนใช้มาตรการอนุรักษ์ฯ ส่วนปลาขนาดใหญ่พบในช่วงระหว่างและก่อนสิ้นสุดมาตรการอนุรักษ์ฯ ความชุกชุมของสัตว์น้ำในช่วงก่อนใช้มาตรการอนุรักษ์ฯ มีค่า 1,706.40 กก./กม.2 และ มวลชีวภาพเท่ากับ 7,431.37 เมตริกตัน ระหว่างใช้มาตรการอนุรักษ์ฯ มีค่า 2,600.89 กก./กม.2 และมวลชีวภาพเท่ากับ 11,326.89 เมตริกตัน ก่อนสิ้นสุดการใช้มาตรการอนุรักษ์ฯ มีค่า 3,755.89 กก./กม.2 และมวลชีวภาพเท่ากับ 16,356.91 เมตริกตัน ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ามาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำในฤดูปลาที่มีไข่ และวางไข่เลี้ยงลูกฝั่งทะเลอันดามัน มีความถูกต้องเหมาะสมทั้งพื้นที่ และระยะเวลา
บทคัดย่อ (EN): The study of marine resources in the closed areas during spawning and breeding season and in adjacent areas in the Andaman Sea by a research vessel was carried out in 2010 in 3 periods which were pre-closing, during and post-closing periods. The results of this study showed that the average catch per unit of effort (CPUE) of the identified 3 periods were 95.42, 126.10 and 219.45 kg/hr respectively. However, let alone the closed areas during spawning and breeding season, the average CPUE were 156.99, 217.76 and 370.96 kg/hr respectively, or 39 and 136 % increase of catches from that of the pre-closing period respectively. The increasing of marine resources was discovered in every species including the economic fish, small economic fish and true trashfish. Size distribution disclosed major compositon of small fish in the pre-closing period, while large fish were found mosty during the closing period and in the post-closing period of the measure. The abundance and biomass of marine resources in the 3 identified periods were 1706.40 kg/km2 and 7,431.37 metric tons; 2,600.89 kg/km2 and 11,326.89 metric tons; and 3,755.89 kg/km2 and 16,356.91 metric tons respectively. The results of this study indicate that the seasonal closure during spawning and breeding season in the Andaman Sea was suitable for both its periods and areas.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291407
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทรัพยากรสัตว์ทะเลจากเรือสำรวจประมงในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามัน
กรมประมง
30 กันยายน 2554
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
แพลงก์ตอนสัตว์ในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำในฤดูปลาที่มีไข่ และวางไข่ เลี้ยงลูก และพื้นที่ใกล้เคียงทางฝั่งทะเลอันดามัน สภาวะทรัพยากรสัตว์ทะเลและการประมงพาณิชย์ในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำในฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่ เลี้ยงลูกและพื้นที่ใกล้เคียงทางฝั่งทะเลอันดามัน สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำในเขตชายฝั่ง 10 ไมล์ทะเลบริเวณ ฝั่งทะเลอันดามัน สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำบริเวณไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน การประมงและความสูญเสียทางเศรษฐกิจของสัตว์น้ำจากการทำประมงอวนล้อมซั้งทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การสำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำหน้าดินด้วยเครื่องมือลอบน้ำลึกบริเวณไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน ทัศนคติของชาวประมงต่อมาตรการควบคุมการประมงโป๊ะน้ำตื้นทางฝั่งทะเลอันดามัน ทรัพยากรสัตว์ทะเลจากการประมงพื้นบ้านในเขตมาตรการอนุรักษ์สัตว์น้ำทางฝั่งทะเลอันดามัน... ปลาหน้าดินที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจจากเรือสำรวจประมงฝั่ง ทะเลอันดามัน การสำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือเบ็ดราวหน้าดินแนวตั้งบริเวณไหล่ทวีปในทะเลอันดามัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก