สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาศักยภาพและแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติขุนสถาน
นฤพนธ์ เลิศกาญจนาพร - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาศักยภาพและแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติขุนสถาน
ชื่อเรื่อง (EN): The Study of Potentiality and Ecotourism Management Approach of Kun Satan
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นฤพนธ์ เลิศกาญจนาพร
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบทรัพยากรท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติขุนสถาน และ เพื่อประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตอุทยานแห่งชาติขุนสถาน โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mix Method Approach) การศึกษาได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรก ทำการตรวจสอบทรัพยากรท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติขุนสถาน ด้วยวิธีการสำรวจภาคสนาม และอ้างอิงจากแบบตรวจสอบทรัพยากรของสถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2545) โดยจำแนกทรัพยากรของแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรวัฒนธรรม ทรัพยากรเหตุการณ์สำคัญ ทรัพยากรกิจกรรม และทรัพยากรบริการ ผลการศึกษาพบว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นทรัพยากรหลักที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอีกหลายจุด ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก เนื่องจากยากต่อการเข้าถึง ในขณะที่ชุมชนโดยรอบมีส่วนช่วยสร้างทรัพยากรวัฒนธรรม ทรัพยากรเหตุการณ์สำคัญ และทรัพยากรบริการ ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว ส่วนที่สอง ทำการประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตอุทยานแห่งชาติขุนสถาน โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 3 ชุด กับผู้มีส่วนได้เสียจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติขุนสถาน จำนวน 32 ราย ชุมชนโดยรอบพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนสถาน จำนวน 48 ราย และ นักท่องเที่ยวจำนวน 407 ราย ผลการศึกษาพบว่าศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตอุทยานแห่งชาติขุนสถานในมุมมองของเจ้าหน้าที่อุทยานและชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ในมุมมองของนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่อยู่นอกพื้นที่ กลับมองว่า อุทยานแห่งชาติขุนสถาน มีศักยภาพในระดับ มาก ข้อเสนอแนะ เพื่อยกระดับศักยภาพให้ทางการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติขุนสถานให้อยู่ในระดับมาก หรือ มากที่สุด ได้แก่ การบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม การพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยเน้นกิจกรรมนันทนาการ การศึกษาเรียนรู้ การบูรณาการสร้างความร่วมมือและการสนับสนุนจากฝ่ ายวิชาการในพื้นที่ และ การสร้างระบบเครือข่ายทางการท่องเที่ยว
บทคัดย่อ (EN): This research aims to evaluate the potential of tourism resources and determining the status and potentiality of ecotourism in Khun Sathan National Park. Using the Mix Method Approach, the study was divided into 2 parts. First examining tourist resources in Khun Sathan National Park with the field survey method by referring to the resource inspection form of the Tourism Development Institute for Environmental Conservation (2545), where the resources of tourist attractions are classified into 5 areas: natural resources, cultural resources, event resources, activity resources and, service resources. The results found that natural resources are the main resources that attract tourists. But there are still many natural resources that are not yet known because it is difficult to access. While the surrounding communities contribute cultural resources, event resources, and service resources which is sufficient to meet the needs of tourists. The second part was to assess the potential of ecotourism in Khun Sathan National Park. Three groups of questionnaires were used with 3 groups of stakeholders, namely, 32 Khun Sathan National Park officials, 48 communities surrounding the Khun Sathan National Park, and 407 tourists. The results of the study found that the potential of ecotourism in Khun Sathan National Park, from the perspective of park officials and the community, which is a group of local stakeholders, was moderate, while from the tourists' point of view which is a group of stakeholders outside the area was great potential. Suggestions include tourism management that meets the needs of all stakeholders under the participation process. The development of the area in the form of ecotourism with an emphasis on recreational activities. Education learns integration, building cooperation, and support from local academic departments and tourism network construction.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-62-02-002
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 592,180
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2562
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาศักยภาพและแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติขุนสถาน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2562
แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการบริษัทนำเที่ยวเชิงนิเวศ (จำลอง) ศึกษาศักยภาพด้านต้นทุนของกระบวนการจัดการธุรกิจปาล์มน้ำมันเพื่อความได้เปรียบทางการค้าของประเทศไทย ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพหน่วยงานท้องถิ่นในการจัดการและป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษบนพื้นที่ต้นน้ำน่าน ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนในกลุ่มจังหวัดเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ รูปแบบการจัดการการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจส่งออกของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรชุมชนด้านการท่องเที่ยวและการบริการใน จังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับเศรษฐกิจอาเซียน ผลการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาของแนวปะการังและแหล่งหญ้าทะเลที่มีต่อ ศักยภาพด้านการประมงและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบริเวณเกาะกูด จังหวัดตราด การพัฒนาระบบการจัดการโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจขนาดย่อม : กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์หม้อห้อม บ้านทุ่งโฮ้ง จังหวัดแพร่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก