สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการปลูกพืชสมุนไพรสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชเพื่อลดการใช้สารเคมี
สุชน คชาทอง - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการปลูกพืชสมุนไพรสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชเพื่อลดการใช้สารเคมี
ชื่อเรื่อง (EN): Study on herbal plantation for organic production insecticide to reduce chemical substance using.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุชน คชาทอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Suchon Khachathong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุชน คชาทอง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการปลูกพืชสมุนไพร โดยการเปรียบเทียบระหว่างการใช้ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ต่อผลผลิตของพืชสมุนไพร คือ หางไหล บอระเพ็ด ตะไคร้ ตะไคร้หอม ข่าแดง ข่าขาว โดยดำเนินการทดลองแบบ T-test จำนวน 2 ชุด การทดลองๆ 10 ซ้ำ ชุดการทดลอง ที่ 1 (TI) พืชสมุนไพรใส่ปุ๋ยเคมี อัตรา 10 กรัมต่อหลุมต่อเดือน ชุดการทดลองที่ 2 (T2) พืชสมุนไพรใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 200 กรัมต่อหลุมต่อเดือน ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ จากการทคลองผลผลิตของพืชสมุนไพร โดยการชั่งน้ำหนักสดพืชสมุนไพรทุกชนิด คือ หางไหล บอระเพ็ด ตะไคร้ ตะใคร้หอม ข่าแดง ข่าขาวที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมี(T 1) ให้ผลผลิตสูงกว่าพืชสมุนไพรที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (T2) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) และให้ผลผลิตสูงกว่าโดยเฉลี่ย 72.72 47.61, 56.34 50.09, 57.33, 59.21 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติของดินอยู่ในระดับต่ำมาก สมบัติทางเคมีบางประการ เช่น ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) ค่าการนำไฟฟ้า (ECe) เมื่อผ่านการปลูกพืชสมุนไพรจะมีการลดลง ส่วนปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ปริมาณแคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ และปริมาณแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีปริมาณเพิ่มขึ้น
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการปลูกพืชสมุนไพรสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชเพื่อลดการใช้สารเคมี
สุชน คชาทอง
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2551
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การใช้สารเคมีสกัดพืชสมุนไพรควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูข้าวไร่ โครงการวิจัยและพัฒนาการใช้พืชสมุนไพรเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris ปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้ถูกต้องและปลอดอภัยในจังหวัดนครนายก ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในการทำนาของเกษตรกรในจังหวัดปัตตานี การปลูกพืชสมุนไพรในสวนป่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากพืชสมุนไพรท้องถิ่น ในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยหมักจากสารเร่งพด.1 ร่วมกับสารป้องกันแมลงศัตรูพืชจากสารเร่งพด.7 เพื่อผลิตผักกาดหัว สภาพการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลงขยายพันธุ์ข้าวของเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก