สืบค้นงานวิจัย
การกักเก็บสมุนไพรไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการต้านจุลินทรีย์และต้านอนุมูลอิสระในอาหารพร้อมบริโภค
จิตศิริ ราชตนะพันธุ์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การกักเก็บสมุนไพรไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการต้านจุลินทรีย์และต้านอนุมูลอิสระในอาหารพร้อมบริโภค
ชื่อเรื่อง (EN): Encapsulation of Thai Herbs to Enhance Their Antimicrobial and Antioxidant Properties in Ready-to-Eat Foods
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งจุลินทรีย์ของน้ำมันหอมระเหยที่ถูกกักเก็บด้วยเบต้าไซโคลเดกซ์ทริน (?-Cyclodextrin ; ?-CD) โดยคัดเลือกน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร 11 ชนิด ได้แก่ กระเพรา กระชาย ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้ ตะไคร้หอม มะกรูด ใบมะกรูด พริกไทยทำ และโหระพา ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคที่มีอาหารเป็นพาหะ แล้วนำไปกักเก็บด้วย ?-CD เพื่อยังยั้ง Listeria monocytogenes ในอาหารพร้อมบริโภค การคัดเลือกน้ำมันหอมระเหยที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ วัดได้จากค่าความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่ยังยั้งจุลินทรีย์ (Minimum inhibitory concentration, MIC) เมื่อทดสอบด้วยวิธี Agar dilution พบว่าน้ำมันหอมระเหยกระชายมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคที่มีอาหารเป็นพาหะชนิดแกรมบวกและแกรมลบดีที่สุด (MICs ร้อยละ 0.1-2) จากนั้นจึงกักเก็บน้ำมันหอมระเหยกระชายต่อ ?-CD ที่ศึกษา คือ 25:75, 30:70, 40:60 และ 50:50 ตามลำดับ พบว่าอัตราส่วน 40:60 มีประสิทธิภาพในการกักเก็บสูง (95.4%) มีประสิทธิภาพในการยังยั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบได้ดี (ค่า MICs ร้อยละ 0.2-0.4) จากการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีของสารที่ถูกกักเก็บด้วย GC/MS พบเพียงแคมเฟอร์และเมทิลซินนาเมต ในขณะที่น้ำมันหอมระเหยกระชายพบสารพฤกษเคมีถึง 13 ชนิด นอกจากนี้พบว่าไมโครแคปซูลของน้ำมันหอมระเหยกระชายสามารถลำจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดและควบคุมการเจริญของ L.monocytogenes ในไส้กรอกค็อกเทคไก่ได้ตลอดอายุการเก็บ 5 วัน จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและยืดอายุการเก็บรักษาได้วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งจุลินทรีย์ของน้ำมันหอมระเหยที่ถูกกักเก็บด้วยเบต้าไซโคลเดกซ์ทริน (?-Cyclodextrin ; ?-CD) โดยคัดเลือกน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร 11 ชนิด ได้แก่ กระเพรา กระชาย ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้ ตะไคร้หอม มะกรูด ใบมะกรูด พริกไทยทำ และโหระพา ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคที่มีอาหารเป็นพาหะ แล้วนำไปกักเก็บด้วย ?-CD เพื่อยังยั้ง Listeria monocytogenes ในอาหารพร้อมบริโภค การคัดเลือกน้ำมันหอมระเหยที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ วัดได้จากค่าความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่ยังยั้งจุลินทรีย์ (Minimum inhibitory concentration, MIC) เมื่อทดสอบด้วยวิธี Agar dilution พบว่าน้ำมันหอมระเหยกระชายมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคที่มีอาหารเป็นพาหะชนิดแกรมบวกและแกรมลบดีที่สุด (MICs ร้อยละ 0.1-2) จากนั้นจึงกักเก็บน้ำมันหอมระเหยกระชายต่อ ?-CD ที่ศึกษา คือ 25:75, 30:70, 40:60 และ 50:50 ตามลำดับ พบว่าอัตราส่วน 40:60 มีประสิทธิภาพในการกักเก็บสูง (95.4%) มีประสิทธิภาพในการยังยั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบได้ดี (ค่า MICs ร้อยละ 0.2-0.4) จากการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีของสารที่ถูกกักเก็บด้วย GC/MS พบเพียงแคมเฟอร์และเมทิลซินนาเมต ในขณะที่น้ำมันหอมระเหยกระชายพบสารพฤกษเคมีถึง 13 ชนิด นอกจากนี้พบว่าไมโครแคปซูลของน้ำมันหอมระเหยกระชายสามารถลำจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดและควบคุมการเจริญของ L.monocytogenes ในไส้กรอกค็อกเทคไก่ได้ตลอดอายุการเก็บ 5 วัน จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและยืดอายุการเก็บรักษาได้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การกักเก็บสมุนไพรไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการต้านจุลินทรีย์และต้านอนุมูลอิสระในอาหารพร้อมบริโภค
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2551
การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ต่อการต้านเชื้อจุลชีพก่อโรคในคน การต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตเรื้อรัง และฤทธิ์ต้านมะเร็ง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่มาตรฐานสากล การประยุกต์ใช้สารเคลือบผิวรับประทานได้ต้านอนุมูลอิสระจากปอ (Corchorus capsularis Linn.) ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากสมุนไพร ปริมาณสารฟีนอลิคทั้งหมด ความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูล อิสระ และความสามารถในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของสมุนไพรบางชนิด การพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ - ยาสมุนไพรแผนปัจจุบันต้านมะเร็ง- สารนำต้านมะเร็งจากฐานข้อมูลตำรับยาสมุนไพรไทย มโนสร้อย 2 การประเมินศักยภาพของพรรณไม้น้ำที่สร้างสารต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีนอลเพื่อใช้เป็นสมุนไพรในการป้องกันโรคกุ้ง การกักเก็บสารสกัดหยาบจากเปลือกส้มโอ เพื่อต้านอนุมูลอิสระ และต้านจุลินทรีย์ในการยืดอายุการเก็บรักษากุ้งขาว การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยบางชนิดในการกำจัดหอยเชอร์รี่ การศึกษาฤทธิ์ต้านไวรัสของสารสกัดพืชสมุนไพรไทยต่อการแบ่งตัวของ highly pathogenic porcine reproductive and respiratory syndrome virus การศึกษาปริมาณสารสำคัญ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสำรับอาหารไทย การปรับสมดุลไมโครไบโอมจุลินทรีย์ลำไส้ในร่างกายมนุษย์ด้วยเครื่องเทศและสมุนไพรในอาหาร (วารสารอาหาร,52(1))
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก