สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาวิธีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก
ผศ.ดร.ภาสันต์ ศารทูลทัต - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวิธีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก
ชื่อเรื่อง (EN): Sucker Production Improvement for Fresh Pineapple Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผศ.ดร.ภาสันต์ ศารทูลทัต
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาวิธีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก” แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ผศ.ดร.ภาสันต์ ศารทูลทัต เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดจากต้นตอและจุกด้วยวิธีการและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทำให้ได้จำนวนหน่อมากขึ้นกว่าเดิมอย่างน้อยสามเท่า และ 2) เพื่อให้ได้ข้อมูลการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของต้นสับปะรดที่ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเปรียบเทียบกับต้นจากหน่อพันธุ์ธรรมชาติ จากการศึกษาวิจัย พบว่า การชักนำให้เกิดหน่อใหม่จากการทำลายยอดต้นก่อนชักนำดอกโดยใช้เหล็กแหลมแทงกลางยอดต้นหรือใช้สาร hypochlorite 0.7-3.0% พบว่าการใช้เหล็กแทงกลางยอดต้นสามารถทำลายตายอดและทำให้เกิดหน่อใหม่ได้ 3 หน่อ/ต้น โดยใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน หน่อใหม่ที่ได้ส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์พร้อมย้ายปลูก แต่การใช้ hypochlorite ไม่สามารถทำลายยอดต้นได้และไม่มีหน่อใหม่เกิดขึ้น การใช้สารชะลอการเจริญเติบโตพืช paclobutrazol 2-8 มิลลิกรัม/ต้น ทำให้ต้นมีการพัฒนาช้า ใบมีลักษณะผิดปรกติแต่ไม่มีหน่อใหม่เกิดขึ้น ส่วนการให้สาร chlorfurenol 3-9 มิลลิกรัม/ต้น ทำให้ต้นมีการเติบโตผิดปรกติในระยะแรก จากนั้นในเดือนที่ห้าหลังให้สารมีหน่อใหม่ขนาดเล็กเกิดขึ้น 3 หน่อ/ต้น โดยรวมหน่อใหม่ที่ได้จากการทำลายตายอดต้นและการตัดชำลำต้นมีการเติบโตหลังย้ายปลูกแตกต่างกัน หน่อใหม่จากการทำลายตายอดมีการเจริญเติบโตทางลำต้นและการสร้างใบใหม่ได้ดีกว่าหน่อใหม่จากการตัดชำลำต้น  นอกจากนั้นพบการกลายพันธุ์ของหน่อใหม่โดยใบและจุกมีลักษณะขอบใบเป็นหนามมากกว่าเดิม จากผลการวิจัยทำให้ได้วีธีการขยายพันธุ์สับปะรดพันธุ์ MD2 ที่เหมาะสมโดยใช้การตัดชำลำต้นหลังเก็บผลผลิตและการทำให้เกิดหน่อใหม่โดยการทำลายตายอดต้นก่อนชักนำดอก ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ปลูกสับปะรดในประเทศไทย ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยนี้คือ ได้วิธีการขยายพันธุ์สับปะรดพันธุ์ MD2 ที่เหมาะสม สามารถเพิ่มปริมาณหน่อพันธุ์ได้มากกว่าการเกิดหน่อใหม่ตามธรรมชาติ และนำไปประยุกต์ใช้กับสับปะรดพันธุ์อื่นๆ 
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-05-25
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-05-24
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาวิธีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดผลสดเพื่อการส่งออก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
24 พฤษภาคม 2557
การใช้ CPPU เพื่อชักนำหน่อใหม่จากลำต้นตัดชำของสับปะรด ‘MD2’ การผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี การพัฒนาพันธุ์สับปะรดเพื่อการบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูป การพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดให้เหมาะสมกับผลสดและอุตสาหกรรมสับปะรด โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด การใช้เทคโนโลยีการผลิตสับปะรดบริโภคผลสดของเกษตรกร การวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตสับปะรดเพื่อรับรองมาตรฐานฟาร์ม การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดในพื้นที่เกษตรกร 2558A17002048 การปรับปรุงพันธุ์สับปะรดเพื่อการบริโภคผลสดและอุตสาหกรรมแปรรูป

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก