สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยแก้ปัญหาการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาคตะวันออก
อรุณี วัฒนวรรณ, อรุณี วัฒนวรรณ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยแก้ปัญหาการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาคตะวันออก
ชื่อเรื่อง (EN): Solving Problems on Exporting Longan Production in the Eastern Region
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดสอบผลของการเตรียมต้นและการตัดแต่งช่อผลต่อการเพิ่มขนาดผลลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในพื้นที่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ปัญหาการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาคตะวันออก ดำเนินในแปลงลำไยอายุ 10-12 ปี ของเกษตรกรในอำเภอโป่งน้าร้อน จังหวัดจันทบุรี จานวน 13 ราย ทดสอบการเตรียมต้นโดยการตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว ให้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีสัดส่วน N:P:K เท่ากับ 4:3:1 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น กำดศัตรูพืชที่หลงเหลือจากฤดูกาลก่อน และให้น้าอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการตัดแต่งช่อผล โดยตัดแต่งช่อผลออกประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวช่อ หรือไว้ผลไม่เกิน 50 ผลต่อช่อในระยะที่ผลลำไยมีขนาดไม่เกิน 5 มิลลิเมตร (กรรมวิธีแนะนา) เปรียบเทียบกับกรรมวิธีเกษตรกรที่เตรียมต้นโดยการตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอบำรุงต้น และให้น้ำเป็นครั้งคราวก่อนการชักนำการออกดอก 1 เดือน ร่วมกับการตัดแต่งช่อผล โดยตัดแต่งช่อผลในระยะที่ผลลำไยมีขนาด 10 มิลลิเมตรขึ้นไป โดยตัดแต่งปลายช่อผลออกเล็กน้อย พบว่ากรรมวิธีแนะนำมีปริมาณผลผลิตที่มีคุณภาพส่งออก (เกรด 1 และ 2) สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรร้อยละ 14 ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเตรียมต้น ทาให้ต้นลำไยแข็งแรง สมบูรณ์ และการตัดแต่งช่อผล ทำให้มีการไว้ผลในปริมาณที่เหมาะสม ผลจึงมีการเจริญเติบโตได้ดี การทดสอบผลการเตรียมต้นและการเร่งการสลายตัวของคลอเรตในดินต่อการชักนำการออกดอกนอกฤดูของเกษตรกรในพื้นที่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ปัญหาการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาคตะวันออก ดำเนินในแปลงลำไยอายุ 10-12 ปี ของเกษตรกรในอำเภอโป่งน้าร้อน จังหวัดจันทบุรี จำนวน 13 ราย ทดสอบการเตรียมต้นโดยการตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยว ให้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีสัดส่วน N:P:K เท่ากับ 4:3:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น กำจัดศัตรูพืชที่หลงเหลือจากฤดูกาลก่อน และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการการเร่งการสลายตัวของคลอเรต โดยใช้สารละลายกากน้ำตาล:น้า ในอัตรา 1:30 ราดลงดินรอบทรงพุ่มในปริมาณ 5 ลิตร/ตร.ม. หลังการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต 1 เดือน (กรรมวิธีแนะนา) เปรียบเทียบกับกรรมวิธีเกษตรกรที่เตรียมต้นโดยการตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอบารุงต้น และให้น้ำเป็นครั้งคราวก่อนการชักนำการออกดอก 1 เดือน และไม่มีการเร่งการสลายตัวของคลอเรต พบว่าการออกดอกของทั้งกรรมวิธีแนะนำและกรรมวิธีเกษตรกรไม่แตกต่างกัน โดยมีการออกดอกเฉลี่ยร้อยละ 88 และ 90 ตามลำดับ สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ปริมาณสารคลอเรตในดินของทั้งสองกรรมวิธี พบปริมาณสารคลอเรตตกค้างในดินในปริมาณที่ต่ำมาก (น้อยกว่า 5 ppm) อาจกล่าวได้ว่าการเร่งการสลายตัวของคลอเรตในดินไม่มีผลต่อการชักนำการออกดอกของลำไยนอกฤดู แต่การเตรียมต้นตามกรรมวิธีแนะนามีผลทำให้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร โดยมีปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 1,970 และ 1,764 กิโลกรัมต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 66,367 และ 57,158 บาทต่อไร่ ตามลำดับ และพบว่ากรรมวิธีแนะนำมีต้นทุนต่ำกว่ากรรมวิธีเกษตรกรเฉลี่ย 1,551 บาทต่อไร่ และพบว่าทั้งสองกรรมวิธีมีค่า BCR>1 แสดงถึงการลงทุนที่มีผลกำไร สามารถทำการผลิตได้ แต่กรรมวิธีแนะนำสามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณผลผลิตและผลตอบแทนได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการเตรียมต้นตามกรรมวิธีแนะนำ ทำให้ต้นลาไยแข็งแรง สมบูรณ์กว่ากรรมวิธีเกษตรกร การทดสอบการป้องกันกำจัดโรคพุ่มไม้กวาดของเกษตรกรในพื้นที่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ปัญหาการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาคตะวันออก โดยการควบคุมกำจัดอาการพุ่มไม้กวาดในแปลงลำไยอายุ 7-15 ปี ของเกษตรกรในอำเภอโป่งน้าร้อน จังหวัดจันทบุรี จำนวน 20 แปลง ตามคำแนะนาของกรมวิชาการเกษตร ประกอบด้วยการตัดแต่งกิ่งและนำกิ่งไปเผาทำลาย ร่วมกับการกำจัดไรซึ่งเป็นแมลงพาหนะ โดยพ่นกำมะถันผง 80% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 1-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน หรืออามีทราช 20% EC อัตรา 40 มิลิลิตรต่อน้า 20 ลิตร จำนวน 1-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน ในระยะการเตรียมต้นก่อนการกระตุ้นการออกดอกด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรต เปรียบเทียบการแสดงอาการพุ่มไม้กวาดก่อนและหลังการป้องกันกำจัด พบว่าต้นลำไยแสดงอาการพุ่มไม้กวาดลดลงจากร้อยละ 27 เป็นร้อยละ 10 ของต้นในปีแรก และลดลงจากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 4 ของต้นในปีถัดมา โดยมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมกำจัดอาการพุ่มไม้กวาดเฉลี่ย 894 บาท/ไร่/ปี ประกอบด้วยค่าสารกำมะถันผงเฉลี่ย 55 บาท/ไร่/ครั้ง ค่าสารอามีทราชเฉลี่ย 136 บาท/ไร่/ครั้ง และค่าแรงในการพ่นเฉลี่ย 63 บาท/ไร่/ครั้ง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยแก้ปัญหาการผลิตลำไยเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในภาคตะวันออก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
ศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรภาคตะวันออก สภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรที่เข้าร่วมระบบการผลิตตามการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี สภาพการผลิตและการตลาดลำไยของเกษตรกรในจังหวัดลำพูน การศึกษาการผลิตลำไยในเขตภาคตะวันออก สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รายงานผลการศึกษาการผลิตลำไยนอกฤดูของฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี การผลิตลำไยนอกฤดูของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี การตัดสินใจในการปรับลดพื้นที่การผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในเขตภาคตะวันออก สถานการณ์การผลิตส้มโอเพื่อการส่งออกของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก