สืบค้นงานวิจัย
สถานการณ์โดยทั่วไปของกลุ่มเกษตรกรในภาคกลาง
ประวิช จรดำ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สถานการณ์โดยทั่วไปของกลุ่มเกษตรกรในภาคกลาง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประวิช จรดำ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: (1)สรุปผลการศึกษาด้านข้อมูลแก่เกษตรกร - กลุ่มเกษตรกรในภาคกลางมีจำนวนทั้งสอน 424 กลุ่ม จัดเป็นกลุ่มเกษตรกรดีเด่นจำนวน 50 กลุ่ม 12 กลุ่มกำลังพัฒนา 263 กลุ่ม(62) และกล่มเกษตรกรที่ไม่สามารถพัฒนาได้ 111 กลุ่ม (27) - จังหวัดที่มีกลุ่มเกษตรกรมากที่สุดคือ จ.พระนครศรีอยุธยามีจำนวน 90 กลุ่ม จ.สิงห์บุรี มีกลุ่มเกษตรกรน้อยที่สุด 10 กลุ่ม - ในช่วง 8 ปีแรก(2516-2523) มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรมากกว่าในช่วง 8 ปีหลัง(2524-2531) คือ มีจำนวน 393 และ 31 กลุ่ม ตามลำดับ -กลุ่มเกษตรกรประเภทกลุ่มทำาที่มีจำนวนมากที่สุด คือ 331 กลุ่ม รองลงมากลุ่มทำสวน ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ มีจำนวน 40, 21 และ 22 กลุ่มตามลำดับ - จังหวัดที่มีกลุ่มเกษตรกรดีเด่นมากที่สุด 2 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ และ ลพบุรี มีจังหวัดละ 10 กลุ่ม - กลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ ผ74) เป็นกลุ่มเกษตรกรที่อยุ่ในสภาพที่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ มีเพียงส่วนน้อย(26)เท่านั้น ที่เป็นกลุ่มที่อยู่ในสภาพที่ไม่สามารถพัฒนาได้ - อำเภอที่มีกลุ่มเกษตรกรมากที่สุด คือ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี มีจำนวน 16 กลุ่ม อำเภอที่ไม่มีกลุ่มเกษตรกรเลยมีจำนวน 6 อำเภอ - อำเภอที่มีกลุ่มเกษตรกรดีเด่นทั้งหมด มี 1 อำเภอ คือ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี มีจำนวนกลุ่มเกษตรกร 2 กลุ่ม - อำเภอที่มีกลุ่มเกษตรกรดีเด่นมากที่สุดคือ อ.หันคา จ.ชัยนาท มีจำนวน 6 กลุ่ม - จำนวนสมาชิกกลุ่มเกษตรกรต่อกลุ่ม ส่วนใหญ่จะมีในช่วง 51-100 คน (มีจำนวน 153 กลุ่ม จาก 408 กลุ่ม) (2)จากการศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานกลุ่มเกษตรกรพอจะสรุปได้ดังนี้ (2.1)การเตรียมเจ้าหน้าที่ เนื่องจากการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าปฏิบัติงานของกรมส่งเสริมการเกษตรเน้นหนักที่ผู้สำเร็จการศึกษาทางการเกษตรเป็นหลัก เมื่อบุคลากรเหล่านี้ต้องเข้ามารับผิดชอบงานกลุ่มเกษตรกร ซึ่งต้องอาศัยความรุ้หลาย ๆ ด้านมาผสมกัน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร เป็นต้นว่า ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และอื่น ๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีความรู้ในด้านต่าง ๆ ดังกล่าว จากประสบการณ์ตรง จากการฝึกอบรมในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ บ้าง จึงทำให้มีความรู้ที่มีไม่เพียงพอ ที่จะไปปฏิบัติงานกลุ่มเกษตรกรได้ ทำให้เจ้าหน้าที่บางส่วนละเลยไม่เข้าไปปฏิบัติงานด้านกลุ่มส่งเสริมเกษตรกร เนื่องจากขาดความรู้และขาดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ทำให้กลุ่มเกษตรกรที่จัดตั้งขึ้นมาขาดที่ปรึกษาในการดำเนินงานไม่สามารดำเนินกิจการให้ต่อเนื่องได้ และในบางส่วนเจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจบทบาทที่แท้จริงของตนเอง จึงเข้าไปดำเนินการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรในลักษณะการทำงานให้เขาแทนที่จะทำงานร่วมกับเขา ซึ่งทำให้เห็นว่ากลุ่มประสบความสำเร็จในระยะแรก ๆ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่กลับทำให้กลุ่มล้มไปในที่สุด เนื่องจากการไม่ได้สอนให้กลุ่มพึ่งพาตนเองแต่เป็นการสอนให้กลุ่มพึ่งพาเจ้าหน้าที่ตลอดเวลา ทั้งนี้ ก็เพราะว่าการไม่ได้มีการเตรียมเจ้าหน้าที่เพื่อให้รับผิดชอบงานกลุ่มเกษตรกรอย่างแท้จริง (2.2)การเตรียมเกษตรกร ปัญหานี้เกิดจากการส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร โดยเฉพาะในปีแรก ๆ ของการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการทำความเข้าใจกับเกษตรกรให้เข้าถึงวัตถุประสงค์อันแท้จริงของการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรทั้งก่อนและหลังการจัดตั้ง จึงทำให้เกิดปัญหาเกษตรกรไม่เข้าใจวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินการของกลุ่ม และส่งผลให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้เกิดการเบื่อหน่ายและเสื่อมศรัทธาต่อกลุ่มเกษตรกรไปในที่สุด (2.3)การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม จากปัญหาข้อที่ 1 และ 2 ส่งผลให้เกษตรกรไม่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลุ่มอย่างแท้จริง เนื่องจากการที่เกษตรกรรอรับความช่วยเหลืออย่างเดียวจากเจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจวิธีการดำเนินงาน งานส่วนใหญ่จึงไม่ตรงกับความต้องการและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงทำให้สมาชิกไม่เห็นความสำคัญและไม่ให้ความร่วมมือ (2.4)การส่งเสริมและสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกลุ่มเกษตรกรมีหลายหน่วยงานทำงานในลัษณะต่างคนต่างทำการสนับสนุนเป็นไปในลักษณะขาดๆ เกิน ๆ ไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกรการหาปัจจัยการผลิตและการสนับสนุนดังกล่าว ก็เป็นไปในลักษณะของผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใครทำให้ตัวเกษตรกรระดับล่างแทบไม่ได้รับการสนับสนุนจริงจัง (2.5)ผู้นำกลุ่มเกษตรกร ทำหน้าที่ทุกอย่างทั้งที่ไม่มีการสร้างผู้นำที่สมบูรณ์ มีผลประโยชน์ในหน้าที่ (2.6)หนี้สิน ปัญหานี้เกิดตั้งแต่การจัดตั้งทำให้ระบบบัญชีล้มเหลว
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สถานการณ์โดยทั่วไปของกลุ่มเกษตรกรในภาคกลาง
ประวิช จรดำ
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การดำเนินงานกลุ่มเกษตรกรในภาคกลาง ปี 2538 การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรภาคกลาง ศึกษาความคิดเห็นของคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรต่อการดำเนินงานกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดมุกดาหาร ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเลือกซื้อปุ๋ยของเกษตรกรภาคกลาง การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของกลุ่มเกษตรกรดีเด่น กับกลุ่มเกษตรกรกำลังพัฒนาในจังหวัดร้อยเอ็ด การศึกษาความคิดเห็นของหัวหน้างานพัฒนาสถาบันเกษตรกรอำเภอเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรในภาคกลาง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรจังหวัดระยอง การจัดการพืชอาหารสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่ภาคกลาง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรจังหวัดระยอง การใช้เทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ถั่วเขียวใน 4 จังหวัดภาคกลาง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก