สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อธุรกิจแปรรูปส้มแขกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดนราธิวาส
นายสง่า เดชารัตน์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อธุรกิจแปรรูปส้มแขกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดนราธิวาส
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายสง่า เดชารัตน์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การดำเนินงานธุรกิจแปรรูปส้มแขกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดนราธิวาส มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มและสมาชิก ผลการดำเนินธุรกิจแปรรูปส้มแขก และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างคือประธานคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 14 ราย และสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 120 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการวิจัย ด้านข้อมูลทั่วไปพบว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่จัดตั้งมามากกว่า 3 ปี มีสมาชิกเฉลี่ย 15 คนต่อกลุ่ม มีเงินทุนหมุนเวียนเฉลี่ย 20,572 บาทต่อกลุ่ม ทุกกลุ่มมีการบริหารจัดการภายในกลุ่ม โดยมีคณะกรรมการบริหารและแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีการระดมหุ้นจากสมาชิกเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน แต่พบว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของกลุ่มยังไม่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ สำหรับวิธีการจำหน่ายพบว่ามีทั้งขายปลีกและขายส่ง ส่วนข้อมูลของสมาชิกพบว่าสมาชิกมีอายุเฉลี่ย 43 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ส่วนใหญ่สมรสแล้ว และประกอบอาชีพทำสวนเป็นหลัก ด้านผลการดำเนินการ พบว่าสมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มที่สำคัญคือ การกำหนดชนิดผลิตภัณฑ์ การวางแผนการดำเนินงาน และการแก้ปัญหาภายในกลุ่ม สำหรับรายได้พบว่าก่อนและหลังการเข้าร่วมธุรกิจแปรรูปส้มแขกสมาชิกรายได้เฉลี่ย 920.30 บาทต่อคนต่อเดือน และ 1,649.20 บาทต่อคนต่อเดือน ตามลำดับ ส่วนประโยชน์ที่สมาชิกได้รับจากการเข้าร่วมทำธุรกิจแปรรูปส้มแขกพบว่า ทุกประเด็นสมาชิกเห็นว่าได้รับประโยชน์ปานกลาง ซึ่งได้แก่ประเด็น การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร การนำความรู้ไปประกอบอาชีพ การสร้างเครือข่ายการผลิต การสร้างเครือข่ายการตลาด การพัฒนาสังคมและชุมชน การเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวเกษตรกร การจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกในกลุ่ม การติดตามประเมินผลงานของเจ้าหน้าที่ การได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต สำหรับความพึงพอใจของสมาชิกซึ่งได้วิจับในประเด็น ความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูป การบริหารจัดการ กลุ่ม การดำเนินงานของกิจกรรมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน พบว่า ทุกประเด็นสมาชิกมีความพึงพอใจปานกลาง ด้านปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของกลุ่ม พบว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาเรื่องผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานสินค้าเกษตรปริมาณน้อย ขาดอุปกรณ์ในการแปรรูผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีในการแปรรูปมีไม่เพียงพอ
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548-08-02
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อธุรกิจแปรรูปส้มแขกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดนราธิวาส
กรมส่งเสริมการเกษตร
2 สิงหาคม 2548
การศึกษาโครงการแปรรูปผลผลิตเกษตรเชิงธุรกิจขนาดย่อมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงธุรกิจของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดกำแพงเพชร การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในการแปรรูปอาหาร ของแม่บ้านเกษตรกรในภาคเหนือ บทบาทของสื่อและปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร : ศึกษาเฉพาะกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดนครปฐม ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานธุรกิจของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลำปาง ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดชัยนาท ความต้องการความรู้ด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ ความต้องการของแม่บ้านเกษตรกรในการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดตราด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก