สืบค้นงานวิจัย
การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมคุณภาพเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร
ประวิตร พุทธานนท์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมคุณภาพเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร
ชื่อเรื่อง (EN): The development of a quality sweet corn hybrid for Agro-industry
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประวิตร พุทธานนท์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prawit Puddhanon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมคุณภาพเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร ดำเนินการติดต่อกัน 3 ปี 7 ฤดูปลูก ระหว่าง ปี 2543 - 2545 ทั้งในแปลงทดลองของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และไร่เกษตรกร โดยมีขั้นตอนดังนี้ การสกัดและการประเมินเชื้อพันธุกรรมคุณภาพจากภายในและต่างประเทศ การสร้างพันธุ์ลูกผสมเบื้องต้นที่ควบคุมด้วยยีน shrunken 2 และการเปรียบเทียบผลผลิตและคุณภาพกับพันธุ์ข้าวโพดหวานคุณภาพมาตรฐาน NT 58 ผลการทดลองพบว่า ความดีเด่นเหนือพ่อแม่ของพันธุ์ลูกผสม ได้จากการผสมข้ามระหว่างเชื้อพันธุกรรม ที่แตกต่างกัน และวิธีการทดสอบพันธุ์ลูกผสมเบื้องต้น (S, x S.) F, สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาและคัดเลือกพันธุ์ผสมที่ดี จนได้พันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่มีความสม่ำเสมอของทรงต้น ออกดอกและออกไหม 40 และ 42 วัน อายุสั้นเก็บเกี่ยวได้ภายใน 59-65 วัน ฝักคุณภาพดี เมล็ดสีเหลืองอ่อนนุ่ม หวาน 14.0 % Brix น้ำหนักผักสดทั้งเปลือกและปอกเปลือกเฉลี่ย 350 และ 240 กรัม ผลผลิตเฉลี่ยจาก 3 การทดลอง เท่ากับ 2,052 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมข้าวโพดหวานแช่แข็งคุณภาพสูง คือ พันธ์ (Sure Gold S-2-2 x Inbred No. 40-9-2) F, ซึ่งจะแนะนำให้เกษตรกรทดลองปลูกส่ง โรงงานอุตสาหกรรมแช่แข็ง และรับรองเป็นพันธุ์ข้าวโพดหวานของมหาวิทยาลัย ชื่อ หวานแม่โจ้ 72 ในปี 2548
บทคัดย่อ (EN): The development of a quality sweet corn hybrid for Agro-industry was carried out during 2000 - 2002, including 7 crop seasons in Maejo University and farmer fields. The procedures consisted of indigenous and exotic germplasm evaluation, testcross to develop F1 hybrids, standard yield and quality trials of the hybrids with standard check: NT58 and eventually selection of an elite sweet corn hybrid variety. It was found that heterosis between parent lines of the hybrid varieties was high when crossing the lines among different genetic background. The early generation testing of hybrids (S2 X S2) F1 proved to be efficient for hybrid variety development and selection. As a result. The elite shrunken-2 sweet corn hybrid: (Sure Gold S3-2-2 x Inbred No. 40-9-2) 1, was selected as early maturity variety with 40 and 42 days to tasselling and silking, 59 - 65 days to harvest. Plant type was uniform with 185 cm. plant height and long ears averaged of 19 cm. with tender quality and 14.0 % Brix. The green and fresh yellow weights were approximate 350 and 240 grams an ear or average fresh ear yield from three experiments of 2,052 kg/rai, suitable for fresh ear market and premium quality frozen industry. The variety will be registered as Maejo University sweet corn by the name of WAN MAEJO 72 in 2005.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-44-007
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมคุณภาพเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2545
เอกสารแนบ 1
การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสม เพื่ออุตสาหกรรมเกษตรแช่แข็งในเขตภาคเหนือของไทย ผลของสารเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษ ความสามารถในการรวมตัวของสายพันธุ์แท้ข้าวโพดหวานที่มีขนาดฝักแตกต่างกันใน ลักษณะผลผลิต และลักษณะทางการเกษตร ผลของการห่อผลที่มีต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์มหาชนก ผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อการเปลี่ยนแปลงความหนืด ของข้าวพันธุ์ต่างๆ การสร้างพันธุ์ข้าวโพดไร่พันธุ์ลูกผสมเดี่ยวสำหรับเกษตรกรในภาคเหนือ ผลของสารเคลือบเมล็ดด้วยสารป้องกันราน้ำค้างต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษลูกผสมหลังการเคลือบและการเก็บรักษา ผลของคุณค่าทางโภชนการในอาหารที่มีวัตถุดิบหลักจากข้าวโพดและผลพลอยได้ทางการเกษตรเพื่อผลิตอาหารหยาบคุณภาพ ศูนย์สาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานเพื่อการเกษตร ผลของอุณหภูมิสูงในระยะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการติดเมล็ดและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก