สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อราสาเหตุโรครากขาว และการควบคุมโรคโดยชีววิธี
นพวรรณ นิลสุวรรณ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อราสาเหตุโรครากขาว และการควบคุมโรคโดยชีววิธี
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Genetic Diversity of White Root Disease and Biological Control
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นพวรรณ นิลสุวรรณ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เก็บตัวอย่างดินจากสวนยางพาราจำนวน 50 แหล่ง สามารถแยกเชื้อรา 4 สกุล(genus) คือ เชื้อรา Aspergillus spp. (312 ไอโซเลท) Chaetomium spp. (126 ไอโซเลท) Penicillium spp. (396 ไอโซเลท) และ Trichoderma spp. (548 ไอโซเลท) จากนั้นจึงนำเชื้อราแต่ละสกุล ทดสอบการยับยั้งเชื้อรา Rigidoporus microporus ด้วยวิธีdual culture plate พบว่าเชื้อรา Trichoderma spp. จำนวน 2 ไอโซเลท มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงสุด จึงจำแนกชนิดโดยการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา ลักษณะทางกายภาพจำแนกได้คือ เชื้อรา T. harzianum SK 31(92.96%) และ T. koninigii TR7 (92.59 %) ในส่วนของการศึกษาลักษณะทางกายภาพของเชื้อรา Trichoderma spp ที่ระดับ pH 4.0-8.0 พบว่า ได้ดี T. harzianum SK 31 สามารถเจริญได้ดีที่สุดที่ระดับ pH 7.0 (8.03 เซนติเมตร) pH (7.64 เซนิตเมตร) pH5 (7.25 เซนติเมตร) pH 4.0 (6.03 เซนติเมตร) และ pH8.0 (5.47เซนติเมตร) เมื่อทราบถึงคุณสมบัติทางกายภาพของเชื้อรา Trichoderma spp. สามารถมีชีวิตรอดที่ระดับ pH ที่แตกต่างกันแล้ว จำเป็นที่จะต้องศึกษาคุณสมบัติการเพิ่มปริมาณเชื้อรา Trichoderma spp. บนหัวเชื้อสด โดยได้ทำการคัดเลือกวัสดุการเกษตรเพื่อผลิตหัวเชื้อสด จำนน 4 ชนิด ได้แก่ข้าวฟ่าง รำข้าว แกลบ ข้าวสุก ปริมาณ 100 กรัม บ่มเชื้อที่อุณหภูมิห้อง นาน 10 วัน พบว่าเชื้อรา T. harziaum sk 31 เลี้ยงบนข้าวฟ่าง สร้างสารแขวนลอยสปอร์ได้สูงสุด7x1024 cfu/g รองลงมาคือ T. konigiii 5x1024 cfu/g จากนั้นนำมาศึกษาการมีชีวิตรอดของหัวเชื้อสดในดินระยะเวลา 6 เดือน พบว่าเชื้อราจะมีการเพิ่มปริมาณเชื้อได้สูงสุด ในช่วงระหว่างเดือนที่ 2-3 (10 24 cfu/ 1 g soil) และในช่วงเดือนที่ 4-5 ปริมาณเชื้อมีชีวิตรอดในดินลดลงอยู่ระหว่าง 1x104 cfu/ 1 g soil เมื่อทราบชนิดของหัวเชื้อที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณ เชื้อรา Trichoderma spp.จึงนำมาทดสอบประสิทธิภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ผงเชื้อรา Trichoderma spp. ในระดับห้องปฏิบัติการ ระยะการเก็บรักษา 120 วัน พบว่าเชื้อรา T. koninigii TR7 มีปริมาณเชื้อมีชีวิตรอด (4x107cfu/ ผงเชื้อ 1 g) และมีปริมาณเชื้อมีชีวิตรอด T. harzianum SK 31 (2.7x109 cfu/ผงเชื้อ 1g) จากนั้นจึงทำการทดสอบศักยภาพผลิตภัณฑ์ ผงเชื้อ Trichoderm sp. ในการควบคุมโรครากขาวในสภาพเรือนทดลองโดยการนำเชื้อรา T. koninigii (TR7) และ T. harzianum (SK31) ผสมสารพาหินฟอสเฟต รองก้นหลุม 200 กรัม/1 ท่อบ่อ และทุกๆ 3 เดือน ทำการโรยผงเชื้อรา Trichoderma spp. เป็นระยะเวลานาน 15 เดือน พบว่าผงเชื้อ T. harzianum (SK 31) ผสมผงเชื้อหินฟอสเฟต พบดัชนีการเข้าทำลายเชื้อรา R. microporus เพียง 5 % และมีปริมาณเชื้อมีชีวิตรอด (6.7x104 cfu/ 1 g soil) การศึกษาความหลากหลายของเชื้อรา R. microporus โดยเก็บตัวอย่างเชื้อสาเหตุโรครากขาวของยางพาราจำนวน 15 ไอโซเลทจาก 7 จังหวัดภาคใต้ผลการทดลองลักษณะทางกายภาพ การย่อยสารประกอบลิกโลเซลลูโลส รวมทั้งการจำแนกโดยใช้ลายพิมม์ดีเอนเอ พบว่าเชื้อราทั้ง 15 สายพันธุ์ มีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง จากผลการทดลองลักษณะทางกายภาพบนอาหารเลี้ยงเชื้อรา จำนวน 5 ชนิด พบว่า R. microporus W8 การเจริญของเส้นใยเชื้อราเร็วที่สุด บนอาหาร CMA (5.8 เซนติเมตร) และ MEA (5.1 เซนติเมตร)บ่มเชื้อที่อุณหภูมิห้องนาน 3 วัน จากนั้นจึงทำการทดสอบระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH)4.0-8.0 พบว่า R. microporus W2 การเจริญของเส้นใยเชื้อราเร็วที่สุด pH5.0 (2.7 เซนติเมตร) , pH 8.0 (2.33 เซนติเมตร), pH4.0,6.0 (2.24, 2.23 เซนติเมตร สำหรับการทดสอบเชื้อรา R. microporus ในการย่อยสารประกอบลิกโลเซลลูโลสเพื่อดูการทดสอบการผลิตเอนไซม์ peroxidase ด้วยวิธีAzure –B Agar การทดสอบการผลิตเอนไซม์ Xylanase ด้วย Xylan Agar การทดสอบการผลิตเอนไซม์ Laccase ด้วยวิธีABTS Agar ทำการบ่มเชื้อที่อุณหภูมิห้อง นาน 10 วันพบว่า เชื้อ R. microporus w15 มีการสร้าง clear zone กว้างสุด 7.2 เซนติเมตร ในส่วนของการทดสอบการผลิตเอนไซม์ Xylanase ไม่เกิดปฏิกิริยาการจำแนกชนิดของเชื้อราสาเหตุโรครากขาวโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอนเอ ด้วยการใช้เทคนิค AFLP โดยใช้ primer 3 คู่สามารถแบ่งกลุ่มได้3 กลุ่ม กลุ่ม 1 ประกอบด้วย W2 W13 W7 และ W11 กลุ่ม 2 ประกอบด้วย W3 W5 W9 และ W10 กลุ่ม 3 ประกอบด้วย W4 W6 และ W14 จากการจัดกลุ่ม จะเห็นได้ว่าเชื้อราสาเหตุโรครากขาวมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงซึ่งจากกลุ่มW3 และ W5 จากกลุ่มที่มีความใกล้ชิดกันมากที่สุด ยังมีความเหมือนกันเพียง 75 %
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อราสาเหตุโรครากขาว และการควบคุมโรคโดยชีววิธี
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การคัดเลือก และการขยายพันธุ์ต้นตอยางพาราที่ต้านทานโรครากขาว และการควบคุมโรคโดยชีววิธี ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี 2557A17002032 การควบคุมโรคไหม้ของข้าวโดยชีววิธีด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา การใช้ประโยชน์จากเชื้อราในการควบคุมโรคพืช ประสิทธิภาพและกลไกของเชื้อรา Trichoderma spp. ในการควบคุมโรคใบร่วงและโรครากขาวของยางพารา และบทบาทในการเป็นจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความต้านทานต่อเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรครากขาวในยางพารา การควบคุมโรครากขาวของยางพาราโดยชีววิธีและการคัดเลือกสายพันธุ์ยางต้านทานโรคเพื่อผลิตต้นตอพันธุ์ การควบคุมเชื้อรา Rigidoporus lignosus สาเหตุโรครากขาวในยางพารา (Havea brasiliensis Muell. Arg) ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora parasitica KK8 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคโคนเน่าของพลู การรวบรวมข้อมูลโรคพืชและเชื้อราสาเหตุชนิดต่างๆด้วยระบบดิจิตอล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก