สืบค้นงานวิจัย
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำของชุมชนในบริเวณแม่น้ำชี
เรณู สิริมงคลถาวร, อนุพงษ์ สนิทชน, ทิวารัตน์ เถลิงเกียรติลีลา, เรณู สิริมงคลถาวร, อนุพงษ์ สนิทชน, ทิวารัตน์ เถลิงเกียรติลีลา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำของชุมชนในบริเวณแม่น้ำชี
ชื่อเรื่อง (EN): Fish Valuation in the Chi River
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผลการศึกษา 1. การใช้ทรัพยากรประมงหลังการจับสัตว์น้ำ การใช้ทรัพยากรสัตว์น้ำภายหลังการจับของชุมชนบริเวณลำน้ำชี มีการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1.1 การนำมาบริโภค พบว่า เป็นการใช้ประโยชน์ที่มากเป็นอันดับสาม คือ ร้อยละ 16.04 ชนิดสัตว์น้ำที่นำขึ้นมา ใช้ประโยชน์ในการบริโภคมากที่สุด ได้แก่ ปลาสร้อยขาว ร้อยละ 30.95 รองลงมาได้แก่ ปลาช่อน ร้อยละ 10.43 (รูปที่1) รูปที่ 1 ชนิดปลาจากแม่น้ำชีที่จับขึ้นมาใช้ประโยชน์ใน การบริโภค ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคสัตว์น้ำ ได้แก่ อาชีพ และบริเวณที่ตั้งอาศัย โดยพบว่า ชาวประมง ผู้ค้าสัตว์น้ำและกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมสัตว์น้ำ เช่นการแปรรูป มี การบริโภคสัตว์น้ำมากกว่ากลุ่มผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ ถึงร้อยละ 70.25 และมีการบริโภคสัตว์น้ำสดเฉลี่ย 0.31กิโลกรัม/วัน/ครัวเรือน กลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำชีมีการนำสัตว์น้ำขึ้นมาบริโภคมากกว่าชุมชนที่ห่างออกไป ถึงร้อยละ 83.16 1.2 การนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ เป็นการใช้ประโยชน์ที่มากที่สุด ถึงร้อยละ 62.93 ชนิดสัตว์น้ำที่นำขึ้นมาจำหน่ายมากที่สุด ได้แก่ ปลาสร้อยขาว ร้อยละ 33.06 รองลงมาได้แก่ปลากด ร้อยละ 9.68 (รูปที่ 2) รูปที่ 2 ชนิดปลาจากแม่น้ำชีที่นำขึ้นมาจำหน่าย รูปแบบของสินค้าที่จำหน่ายส่วนใหญ่เป็นปลาสดแช่น้ำแข็ง ยกเว้นปลาบู่ ปลาดุก ปลาช่อน และปลาไหล ที่จำหน่ายเป็นปลาที่มีชีวิต การเดินทางของสินค้าสัตว์น้ำ พบว่ามีการเดินทางในระยะใกล้ คือจากชาวประมง จะจำหน่ายในหมู่บ้าน (ร้อยละ 62.67) มีผู้ค้ารวบรวมในหมู่บ้าน หรือพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ ร้อยละ 21.70 และนำไปขายเองที่ตลาดในหมู่บ้านหรือในอำเภอใกล้เคียงร้อยละ 15.63 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจำหน่าย ได้แก่ ราคา และชนิดลักษณะของสินค้า ปลาบางชนิดมีราคาสูง เช่นกลุ่มปลาเนื้ออ่อน เมื่อจับได้ จะนำมาจำหน่ายทันทีหรือรับซื้อมาจะเก็บรักษาในสภาพดีในระหว่างขนส่ง ลักษณะของสินค้า สัตว์น้ำ ถ้ามีการแยกชนิดและปลาอยู่ในสภาพดี จะมีราคาสูงกว่าและจำหน่ายได้ง่ายกว่าปลารวมที่ไม่มีการคัดแยก 1.3 นำไปแปรรูป เพื่อเพิ่มอายุเวลาการเก็บผลผลิตสัตว์น้ำ และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เป็นการใช้ประโยชน์ที่มากเป็นอันดับสอง คือ ร้อยละ 19.55 รูปแบบการแปรรูป ได้แก่ ปลาแห้ง ปลาร้า ปลาเค็ม และปลาส้ม รูปแบบที่นิยมได้แก่ ปลาร้า ซึ่งมีถึงร้อยละ 81.33 รองลงมาได้แก่ ปลาแห้ง ร้อยละ 13.94 ชนิดสัตว์น้ำที่นำมาแปรรูป ได้แก่ ปลาสร้อยขาว ร้อยละ 71.31 ซึ่งนำมาทำเป็นปลาร้า รองลงมาได้แก่กลุ่มปลาตะเพียน ร้อยละ 8.35 ซึ่งนำมาทำเป็นปลาแห้ง ผลผลิตหลังการแปรรูปพบว่ามีการนำมาบริโภค ร้อยละ 52.86 นำไปจำหน่าย และแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่น ๆ ร้อยละ 44.00 และแจกจ่ายให้กับญาติ และเพื่อนบ้านอีกร้อยละ 3.13 (ตารางที่ 1) ตารางที่ 1 รูปแบบการแปรรูปและการใช้ประโยชน์ 1.4 การแจกจ่ายให้กับญาติพี่น้อง เป็นการใช้ประโยชน์ที่มีปริมาณน้อยกว่าแบบอื่น ๆ มีเพียงร้อยละ 1.48 ซึ่งจะมีการแจกจ่ายในรูปผลผลิตที่แปรรูปมากกว่ารูปแบบสัตว์น้ำสด โดยจะมีการแจกจ่ายในช่วงที่จับสัตว์น้ำได้ปริมาณมาก ช่วงต้นฤดูฝน และช่วงต้นฤดูหนาว ส่วนใหญ่จะแจกจ่ายในรูปปลาแปรรูป เช่น ปลาร้า และปลาแห้ง 2.แนวทางในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตสัตว์น้ำ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก เช่นปลาสร้อยขาว ปลากระมัง ปลาซิว มีราคาต่ำมากถ้าจำหน่ายในรูปสัตว์น้ำสด แต่ถ้านำไปแปรรูปจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งชุมชนบริเวณแม่น้ำชีหลายแห่ง ได้แปรรูปสัตว์น้ำเหล่านี้ในหลายชุมชน เพื่อนำไปจำหน่ายเพิ่มมูลค่าให้กับสัตว์น้ำ (ตารางที่ 2 และ 3) ตารางที่ 2 ราคาสินค้าสัตว์น้ำในบริเวณแม่น้ำชี ปี 2551 ชนิดปลา ราคาต่ำสุด (บาท/กก) ราคาสูงสุด (บาท/กก) ราคาที่จำหน่ายประจำ (บาท/กก) ปลารากกล้วย 10 20 10 ปลาตะเพียนทอง 30 55 40 ปลาตะเพียน 30 55 40 ปลากระมัง 20 40 30 ปลาหมู 10 25 20 ปลาซิว 10 15 10 ปลาสร้อยขาว 20 40 20 ปลาสร้อยเกล็ดถี่ 20 20 20 ปลาสร้อยนกเขา 20 20 20 กลุ่มปลาตะเพียน 20 40 25 ปลาแขยง 30 60 40 ซึ่งอัตราการใช้สัตว์น้ำสด ในการแปรรูปจะต่างกันไปตามประเภทของผลผลิต เช่น การทำปลาร้า จะใช้ปลาสด 10 กิโลกรัม ซึ่งสามารถผลิตปลาร้า ได้ 20-30 กิโลกรัม ขึ้นกับชนิดของปลา ส่วนการทำปลาแห้ง ปลาสด 5 กิโลกรัม ผลิตปลาแห้งได้ 0.5-1 กิโลกรัม โดยพบว่าชุมชนในบริเวณแม่น้ำชี ผลิตปลาแปรรูปมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มรายได้และการแลกเปลี่ยนกับสินค้าชนิดอื่นมากขึ้น ซึ่งสินค้าเกษตรอื่น ที่นำมาแลกเปลี่ยนกับปลาแปรรูป ได้แก่ ข้าว แตงโม หน่อไม้ เป็นต้น ตารางที่ 3 ราคาสินค้าสัตว์น้ำแปรรูปในบริเวณแม่น้ำชี ปี 2551 ชนิดปลา ผลผลิตแปรรูป ราคา (กก./บาท) ปลารากกล้วย ปลาแห้ง 50 - 70 ปลาตะเพียนทอง ปลาแห้ง 100 ปลาตะเพียน ปลาแห้ง 100 ปลาตะเพียน ปลาส้ม 50 ปลากระมัง ปลาแห้ง 100 ปลาหมู ปลาแห้ง 100 ปลาซิว ปลาแห้ง 50 ปลาสร้อยขาว ปลาร้า 25 - 50 ปลาสร้อยเกล็ดถี่ ปลาร้า 25 - 50 ปลาสร้อยนกเขา ปลาร้า 25 - 50 กลุ่มปลาตะเพียน ปลาร้า 25 - 50 ปลาแขยง/ปลากด ปลาร้า 50 ปลาแขยง/ปลากด ปลาแห้ง 100 แต่จะพบว่าการแปรรูปสินค้าสัตว์น้ำยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร เนื่องจากไม่สามารถผลิตให้ได้ปริมาณมากพอเนื่องจากปริมาณสัตว์น้ำลดลง ผลผลิตจากการแปรรูปจึงจำหน่ายในชุมชน และตลาดในอำเภอใกล้เคียงเท่านั้น แนวทางการพัฒนาการผลิตสัตว์น้ำแปรรูปให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยใช้สัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงเข้ามาทดแทนปริมาณสัตว์น้ำในแม่น้ำชีที่ลดลง จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในการแปรรูปของชุมชนบริเวณนี้ได้ 3. ประเมินปริมาณผลจับสัตว์น้ำในแม่น้ำชี การประเมินปริมาณผลจับสัตว์น้ำในแม่น้ำชีโดยใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำในด้านการบริโภคและการจำหน่าย พบว่าบริเวณตอนบนของแม่น้ำชีมีปริมาณผลจับสัตว์น้ำมีปริมาณผลจับเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 483.42 กิโลกรัม/ปี/คน โดยในพื้นที่ตอนบนมีปริมาณผลจับสัตว์น้ำมากกว่าพื้นที่ตอนกลางและตอนล่าง โดยมีผลจับเฉลี่ย/คน/ปี เท่ากับ 1,769.23 ขณะที่พื้นที่ตอนกลางและตอนล่าง เท่ากับ 524.56 และ 591.84 คน/ปี ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำ ที่พื้นที่ตอนบนมีการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำมากกว่าพื้นที่ตอนกลางและล่าง ตามลำดับ (รูปที่ 3) รูปที่ 3 ปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำจากการใช้ประโยชน์ของ ชุมชนบริเวณแม่น้ำชี ปี 2551 ในบริเวณพื้นที่ตอนบน พบว่าชุมชนมีการทำประมงเป็นอาชีพหลักมากกว่าพื้นที่ตอนกลางและพื้นที่ตอนล่าง ที่มีอาชีพหลักในการทำนา และทำสวน การทำประมงเป็นเพียงอาชีพเสริมในบางฤดูกาล โดยจะทำประมงในช่วงต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว ปริมาณผลจับสัตว์น้ำ จึงมีน้อยกว่าพื้นที่ตอนบน ส่วนมูลค่าของผลผลิตสัตว์น้ำ พบว่าในพื้นที่ตอนบน โดยเฉพาะบ้านหนองมะกุด สามารถจับสัตว์น้ำที่มีมูลค่าสูง ได้แก่กลุ่มปลาเนื้ออ่อน ส่วนพื้นที่ตอนล่าง ชนิดสัตว์น้ำที่จับได้เป็นกลุ่มปลาตะเพียน และกลุ่มปลาสวาย ซึ่งมีมูลค่าไม่สูงมากนัก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำของชุมชนในบริเวณแม่น้ำชี
กรมประมง
30 กันยายน 2552
กรมประมง
สภาวะการทำการประมงและผลจับสัตว์น้ำในแม่น้ำชี การศึกษาความหลากหลายของสัตว์หน้าดินกับคุณภาพน้ำในระบบนิเวศแม่น้ำชี จังหวัดมหาสารคาม คุณภาพน้ำและการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในแม่น้ำชี การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของการใช้พลังงานไฟฟ้า ในการสูบน้ำเพื่อระบบชลประทานในลุ่มแม่น้ำชี : กรณี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด : รายงานการศึกษาวิจัย การดูดซับคาร์บอนของดินในพื้นที่ชุ่มน้ำ : ป่าบุ่งป่าทาม บริเวณแม่น้ำชีตอนล่างจังหวัดร้อยเอ็ด ประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วมในแม่น้ำชี การใช้ไรน้ำนางฟ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจในจังหวัดตรัง ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาที่สำคัญทางเศรษฐกิจบางชนิดในแม่น้ำชี การใช้น้ำมันกานพลูเป็นยาสลบสำหรับสัตว์น้ำ โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำชี พ.ศ.2546-2548

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก