สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ส้มโอ
ณรงค์ แดงเปี่ยม, ณรงค์ แดงเปี่ยม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ส้มโอ
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Pummelo Cultivar
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ส้มโอ ได้มีการรวบรวมพันธุ์ส้มโอไว้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร จ.พิจิตร มีสายพันธุ์ส้มโอจำนวน 73 สายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์พื้นเมือง สายพันธุ์จากต่างประเทศ และสายพันธุ์ลูกผสม มีการเก็บข้อมูลลักษณะประจำพันธุ์ของต้น ใบ ดอก ผล เมล็ดส้มโอแต่ละพันธุ์ สายพันธุ์ที่น่าสนใจ ได้แก่ ทองดี ขาวแตงกวา ขาวน้ำผึ้ง ทช.32 ทช.23 Red Shaddock เป็นต้น ในด้านการปรับปรุงพันธุ์ส้มโอเพื่อให้ได้ส้มโอสายพันธุ์ใหม่นั้น ได้ทำการเปรียบเทียบพันธุ์ส้มโอที่คัดเลือกสายต้นจากการเพาะเมล็ดในเขตภาคเหนือตอนล่าง ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร จากจำนวนสายพันธุ์ส้มโอที่นำมาเปรียบเทียบพันธุ์ 12 สายพันธุ์ พบว่าส้มโอ ทช.23 ทช.32 เป็นพันธุ์เนื้อสีน้ำผึ้งที่มีแนวโน้มดี ส่วนสายพันธุ์เนื้อสีแดง พันธุ์ทช.130 และทช.180 เป็นสายพันธุ์ที่มีแนวโน้มดี ได้นำสายพันธุ์ส้มโอทั้ง 4 สายพันธุ์ไปทดสอบในแหล่งปลูกต่างๆ 3 แหล่ง คือ จ.เชียงราย จ.ชัยภูมิ จ.พิจิตร พบว่าพันธุ์ที่มีแนวโน้มเจริญเติบโตดีในแต่ละแหล่งปลูกคือ ทช.23 และทช.32 ส่วนการให้ผลผลิตจะได้รวบรวมข้อมูลการทดลองในระยะที่2 (พ.ศ.2559-พ.ศ.2564) ต่อไป สำหรับส้มโอพันธุ์การค้าทองดี ได้ดำเนินการคัดเลือกพันธุ์จากการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยการฉายรังสีแกรมม่า ผลการฉายรังสี ได้คัดเลือกส้มโอทองดีได้จำนวน 8 สายต้น ได้นำส้มโอทองดีทั้ง 8 สายต้นไปปลูกทดสอบใน 2 แหล่ง คือ จ.เชียงราย และจ.พิจิตร ผลการทดลองพบว่า ส้มโอทั้ง 2 แหล่งปลูกมีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนการให้ผลผลิตจะได้รวบรวมข้อมูลการทดลองในระยะที่2 (พ.ศ.2559-พ.ศ.2564) ต่อไป การผสมพันธุ์ส้มโอเพื่อให้ได้ส้มโอพันธุ์ใหม่ มีการดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร โดยการผสมพันธุ์ระหว่างส้มโอพันธุ์ต่างๆ จำนวน 16 คู่ผสม แล้วทำการคัดเลือกต้นส้มโอลูกผสมที่มีลักษณะดีตรงตามเกณฑ์การคัดเลือกได้จำนวน 5 สายต้นเพื่อนำไปเปรียบเทียบสายต้นต่อไปในปี 2559 สำหรับส้มโอพันธุ์ดีของ จ.พิจิตร คือ ส้มโอท่าข่อย ได้ดำเนินการเปรียบเทียบสายสายต้นส้มโอท่าข่อย จำนวน 7 สายต้น ที่คัดเลือกมาจากแหล่งปลูกส้มโอท่าข่อยหลายๆแหล่งของ จ.พิจิตร ผลการทดลองพบว่า สายต้นส้มโอท่าข่อยสายต้นสระทองขำ TK 4-5 มีการเจริญเติบโตดีที่สุด ส่วนการให้ผลผลิตจะได้รวบรวมข้อมูลการทดลองในระยะที่2 (พ.ศ.2559-พ.ศ.2564) ต่อไป การศึกษาต้นตอที่เหมาะสมสำหรับส้มโอพันธุ์การค้า ได้การดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร โดยการใช้ต้นตอ 7 ชนิด กับส้มโอทองดี ขาวน้ำผึ้ง ท่าข่อย เปรียบเทียบกับกิ่งตอน ผลการทดลองพบว่า ในด้านการเจริญเติบโตของส้มโอพันธุ์การค้าทั้ง 3 พันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันทางด้านสถิติส่วนในด้านผลผลิตพบว่า ส้มโอขาวแตงกวาบนต้นตอขาวใหญ่ให้ผลผลิตแตกต่างจากต้นตออื่นๆ ส้มโอทองดีบนต้นตอขาวพวง ให้ผลผลิตแตกต่างจากต้นตออื่นๆ และส้มโอท่าข่อยบนต้นตอเจ้าเสวยให้ผลผลิตแตกต่างจากต้นตออื่นๆ ส่วนในด้านคุณภาพผลผลิตของส้มโอพันธุ์การค้าบนต้นตอต่างๆ พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน เช่นในด้านขนาดผล เส้นรอบวงผล ความหวาน เป็นต้น ในด้านการผลิตส้มโอนอกฤดู จากการศึกษาการตอบสนองของพันธุ์ส้มโอต่อวิธีผสมผสานในการควบคุมการออกดอกเพื่อการผลิตนอกฤดู ได้ดำเนินการในสวนเกษตรกร จ.พิจิตร และแปลงทดลองภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ผลการทดลองพบว่า ส้มโอขาวแตงกวา ขาวน้ำผึ้ง และทองดี มีการตอบสนองต่อการบังคับการให้ผลผลิตนอกฤดูได้ดีเมื่อมีการใช้สารพาโคลบิวทราโซลและการควั่นรัดกิ่ง แต่มีปัญหาที่พบคือ มีการหลุดร่วงของดอกและผลอ่อน ซึ่งจะต้องศึกษาทดลองเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292803
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ส้มโอ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ส้มโอ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอ การศึกษาไวรอยด์ในส้มโอเพื่อการส่งออกส้มโอ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอหอมหาดใหญ่ในภาคใต้ตอนล่าง การวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจของเทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการพัฒนาทุเรียนและส้มโอเพื่อการส่งออก การศึกษาต้นตอของส้มโอ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กาแฟ การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามให้มีคุณภาพของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอในเขตลุ่มน้ำปากพนัง โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์มะละกอปลักไม้ลาย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก