สืบค้นงานวิจัย
รูปแบบการเลี้ยงสัตว์น้ำหลายชนิดแบบยั่งยืนและลดต้นทุนการผลิต
เพ็ญพรรณ ศรีสกุลเตียว - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการเลี้ยงสัตว์น้ำหลายชนิดแบบยั่งยืนและลดต้นทุนการผลิต
ชื่อเรื่อง (EN): Aquatic Animal Polyculture Models for Sustainable and Reduced Production Cost
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เพ็ญพรรณ ศรีสกุลเตียว
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Penpun Srisakultiew
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยภาคสนามนี้ต้องการที่จะหารูปแบบการเลี้ยงสัตว์น้ำหลายชนิด มีเกษตรกรที่ให้ความร่วมมือในการวิจัยเพียง 3 รายในบ่อดินขนาด 1 – 2 ไร่ จำนวน 3 บ่อ ทำให้ต้องเลือกรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรมาทำการทดลอง โดยทำการทดลองรูปแบบละ 1 ซ้ำ ประกอบด้วย 1) บ่อเลี้ยงปลานิลชนิดเดียวที่ความหนาแน่นต่ำ (1.53 ตัว/ตารางเมตร) ในบ่อขนาด 1.3 ไร่; 2) บ่อเลี้ยงปลานิลชนิดเดียวที่ความหนาแน่นสูง (3.33 ตัว/ตารางเมตร) ในบ่อ 2 ไร่ และ 3) บ่อเลี้ยงปลานิลร่วมกับการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (2.13+2.17 = 4.30 ตัว/ตารางเมตร) ในบ่อ 1 ไร่ การเลี้ยงปลานิลชนิดเดียวใช้ระยะการเลี้ยงนาน 8 เดือน ส่วนการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งก้ามกรามใช้เวลา 10 เดือน ระหว่างการเลี้ยงมีการใส่น้ำกากส่าสร้างอาหารธรรมชาติวันละ 30 ลิตร/ไร่ และมีการใช้อาหารเม็ดโปรตีนร้อยละ 26 เลี้ยงปลาในระยะ 2 - 3 เดือนสุดท้ายของการเลี้ยง พบว่าการเลี้ยงปลานิลชนิดเดียวที่ความหนาแน่นสูง มีอัตราการรอดตาย (13.76 %) ต่ำกว่าการเลี้ยงที่ความหนาแน่นต่ำ (20.16%) แต่การเลี้ยงที่ความหนาแน่นสูงนี้ พบปลาขนาดใหญ่กว่าการเลี้ยงที่ความหนาแน่นต่ำ เพราะจำนวนปลาที่เหลือในบ่อมีน้อย ทำให้ผลผลิตปลานิลเลี้ยงที่ความหนาแน่นสูงมีค่าเป็น 281.5 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าการเลี้ยงที่ความหนาแน่นต่ำที่มีผลผลิตเพียง 183.85 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งก้ามกรามพบว่า ปลานิลมีอัตรารอดตายสูง (36.15%) มีผลผลิตเฉพาะปลา 443 กิโลกรัม/ไร่ ส่วนกุ้งก้ามกรามนั้นมีผลผลิตเพียง 1 ตัว (อัตรารอดตาย 0.03%) เมื่อสิ้นสุดการทดลอง มีกำไรที่หักเฉพาะค่าอาหารเม็ดไร่ละ 4,515, 5,930 และ 9,520 บาท ในบ่อที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ สรุปการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งก้ามกรามในบ่อเดียวกัน ที่ใช้น้ำกากส่าซึ่งเป็นสิ่งเหลือใช้จากโรงงานผลิตสุราในพื้นที่ นำมาสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อนั้นมีความเป็นไปได้ ทำให้ปลามีอัตราการรอดตายสูง มีการวิจารณ์ถึงสาเหตุที่ทำให้ไม่ได้ผลผลิตกุ้งก้ามกรามประกอบด้วย
บทคัดย่อ (EN): The on farm trial was aimed to find out polyculture models. There were only 3 farmers with 3 earthen ponds (1-2 rai) joined the project. Thus, the designed models have to be selected in order to fit demand of the farmer including, 1) tilapia monoculture at a low density (1.53 fish/m2) in 1.3 rai pond, 2) tilapia monoculture at a hight density (3.33 fish/m2) in 2 rai pond and 3) tilapia and prawn polyculture (2.13+2.17 = 4.30/m2) in 1 rai pond. The monoculture took 8 month period for culture while the polyculture took 10 months. During growing period, distillery slop was applied daily at 30 L/rai for increasing natural food in the pond. Survival of the tilapia monoculture at the high density found lowest survival (13.76%) while the low density found 20.16% survival rate. The high density, however, had bigger sized fish due to lower fish number remained in the pond. So, 281.5 and 183.85 kg/rai fish productions found in the high and low densities ponds, respectively. For tilapia and prawn polyculture, the fish had high survival rate at 36.15% with 433 kg/rai fish production. For the prawn unfortunately, found only 1 prawn left (0.03% survival) at harvest period. Profits of the model when computed only pellet cost were 4,515, 5,930 and 9,520 baht/rai in pond no 1, 2 and 3 respectively. The trial was concluded that tilapia and prawn are possible to grow in the same pond fed with the slop, the by product from a distillery factory in the area, resulted in higher fish survival. For reasons of no prawn production were discussed.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
รูปแบบการเลี้ยงสัตว์น้ำหลายชนิดแบบยั่งยืนและลดต้นทุนการผลิต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2555
การเลี้ยงปลายะขุ่ยด้วยอาหารต่างชนิดกัน ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในลุ่มน้ำสงคราม การเลี้ยงกั้งตั๊กแตน (Harpiosquilla raphidea Fabricus, 1798) ด้วยอาหารชนิดต่างๆ การเลี้ยงปลาหมอร่วมกับกบนาในบ่อดิน ความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในลุ่มน้ำลำปลายมาศ การจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบการเกษตรที่ดี (GAP) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน : ศึกษาเฉพาะกรณีของเกษตรกรในเขตจังหวัดพิษณุโลก สภาวะการเลี้ยงปลาหมอไทยของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงปลานิลในกระชังในแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดอ่างทอง การพัฒนาการเลี้ยงปลานิลด้วยวัตถุดิบโปรตีนทดแทนจากแปลงปลูกเกษตรปลอดสารพิษ การเลี้ยงปลาสายยูในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกันในแม่น้ำโขง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก