สืบค้นงานวิจัย
การประเมินลักษณะเชื้อพันธุกรรมข้าวพื้นเมืองในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
เปรมกมล มูลนิลตา - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การประเมินลักษณะเชื้อพันธุกรรมข้าวพื้นเมืองในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Evaluation of local rice genetic resources in the lower northern
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เปรมกมล มูลนิลตา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Preamkamon Moonnilta
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การประเมินลักษณะข้าวพันธุ์พื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนล่าง ได้มีการจำแนกความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมของข้าวโดยวิธีจัดกลุ่มเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม การศึกษาครั้งนี้ใช้พันธุ์ข้าวจำนวน 87 พันธุ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการจัดกลุ่มทางสัณฐานวิทยา (สัมประสิทธิ์ความเหมือน simple matching จัดกลุ่มวิธี UPGMA) และลักษณะทางการเกษตร (สัมประสิทธิ์ความเหมือน Square Euclidean จัดกลุ่มวิธีของ Ward) ซึ่งสามารถจัดกลุ่มทางสัณฐานวิทยาออกเป็น14 กลุ่ม (G1-G14)มีกลุ่มหลักจำนวน 4 กลุ่มหลัก โดยกลุ่มที่ 12(G12) เป็นกลุ่มที่มีจำนวนพันธุ์ข้าวสูงสุดจำนวน 56 พันธุ์ มีลักษณะใบสีเขียว กาบใบสีเขียว ยอดเกสรสีขาว เมล็ดสีฟาง เป็นข้าวเจ้า ไม่มีลักษณะสีอื่นปรากฏตามส่วนต่างๆ ของต้นข้าว กลุ่มที่13(G13) มีจำนวนพันธุ์ข้าวทั้งหมด 11 พันธุ์ มีลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มที่ 12 ที่มีสีม่วงปรากฏ ในบางส่วนของต้นข้าว และเป็นข้าวเหนียว กลุ่มที่ 2(G2) และกลุ่มที่ 6(G6) จะพบลักษณะสีม่วงบนส่วนต่างๆ ของต้นข้าว เช่น สีของใบ กาบใบ หูใบ ลิ้นใบ สีเปลือกและเป็นข้าวเหนียว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน แตกต่างที่กลุ่มที่ 2 (G2)มีสีเมล็ดสีขาว แต่กลุ่มที่ 6(G6)เป็นสีม่วง สำหรับการจัดกลุ่มทางลักษณะทางการเกษตรสามารถจัดกลุ่มได้ 9 กลุ่ม (G1-G9) สามารถแยกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก โดยกลุ่มที่ 2(G2) เป็นกลุ่มที่มีจำนวนพันธุ์ข้าวสูงสุด 71 พันธุ์ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดของลักษณะ ความยาวแผ่นใบ และความยาวรวงกลุ่มที่ 1(G1) มีพันธุ์ข้าวทั้งหมด 6 พันธุ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของลักษณะ ความยาวลิ้นใบสำหรับกลุ่มที่ 4(G4) มีพันธุ์ข้าวทั้งหมด 3 พันธุ์ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดของลักษณะ เส้นผ่าศูนย์กลาง ความยาวลำต้น ความกว้างแผ่นใบ ความยาวเมล็ด และความกว้างเมล็ด แสดงให้เห็นว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองมีความหลากหลายทางพันธุกรรม ในลักษณะทางสัณฐานวิทยา และลักษณะทางการเกษตร ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในอนาคตได้
บทคัดย่อ (EN): Evaluations in genetic relationship amomg local rice genetic resources in the lower northern region were perform edusing cluster analysis method. In this study, a total number of 81 rice varieties were selected and clustered in both morphology traits by using the UPGMA of simple matching and agronomic traits by using the Square Euclidean by Ward method. From the morphology traits grouping results, there were 14 clusters (G1-G14) with4 main clusters i.e.Group 12 Group13 Group 2 and Group 6 which could be grouped.The results also showed that Group 12 has the highest number of members of rice varieties that was 56 varieties. The characteristics of Group 12’s members were green leaf, green leaf sheet, white pollen, yellow grain, non-glutinous rice and the other parts of the rice were colorless. ForGroup13, there were 11 varieties classified into this group. The members of Group 13were classified as glutinous riceand was purple color in some parts of their rice plants that made them differ from Group 12. In Group 2 and Group 6, the purple color were found on some parts of leaves leaf sheaths ligules auricles pericarpsand there were also classified as glutinousricebut their grains color was white and purple in Group 2 and Group 6 respectively. The use of9 agronomic characteristics of rice for clustering agronomic traits could group of 9 clusters (G1-G9) which were consisted of 3 main clusters. The 71 varieties of Group 2 were found to have themeans value of leaf blade lengthandpanicle length at the maximum length comparing to the other group. While, the 6 members of Group 1 showed the maximum length in the ligule and the 3 members of Group 4 had the highest means value of stem diameter, stem length, leaf blade width, grain length and grain width. The results from this study show that the cluster analysis is one of the powerful method to identify the genetic diversity of the local rice and can be a helpful technique for rice breeding.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328733
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินลักษณะเชื้อพันธุกรรมข้าวพื้นเมืองในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
กรมการข้าว
2557
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมือง การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม ความหลากหลายของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของข้าวพื้นเมือง ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี การประเมินลักษณะเชื้อพันธุกรรมข้าวในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ปี 2553 ซิลิกาที่เป็นประโยชน์ต่อข้าวในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง การประเมินลักษณะเชื้อพันธุกรรมข้าวในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ปี 2555 การประยุกต์ใช้ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมแมลงศัตรูข้าวในภาคเหนือตอนล่าง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก