สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุนปลูกยางพาราของจังหวัดน่าน (9 ต.ค. 2558)
สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 2 จังหวัดพิษณุโลก - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุนปลูกยางพาราของจังหวัดน่าน (9 ต.ค. 2558)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 2 จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุนปลูกยางพาราของจังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงสภาพการผลิตและการตลาดยางพารา และวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินในการปลูกยางพาราของ จังหวัดน่าน ปี 2556 ผลการศึกษามีดังนี้คือ การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินในการปลูกยางพารา คือ มูลค่าปัจจุบันของผลได้สุทธิ (NPV) มีค่า เท่ากับ 107,006.67 บาท/ไร่ ณ ระดับอัตราคิดลดร้อยละ 8 อัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุน (B/C Ratio) มีค่าเท่ากบ ั 4.34 และอัตราผลตอบแทนในการผลิต (IRR) มีค่าประมาณร้อยละ 34.50 บาท/ปี สรุปได้วา การลงทุนตลอดช่วงอายุของยางพารามีความคุ้มค่าในการลงทุน ส่วนการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของการปลูกยางพารา พิจารณาออกเป็น 3 กรณี คือ 1) กรณีที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นคือ ปุ๋ยเคมีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.57 และยา ป้องกน/กำจัดวัชพืชเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.50 โดยรายได้คงที่ ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุน ปลูกยางพารา คือ มูลค่าปัจจุบันของผลได้สุทธิมีค่าเท่ากับ 106,508.43 บาท/ไร่่ อัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุนมีค่า เท่ากับ 4.28 และอัตราผลตอบแทนในการผลิตมีค่าประมาณร้อยละ 34.26 บาท/ปี ซึ่งสูงกว่าอัตราคิดลด หรือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารฯ สรุปได้ว่า การลงทุนตลอดช่วงอายุของยางพาราเกิดความคุ้มค่าในการลงทุน 2) กรณีที่ราคายางก้นถ้วยลดลงต่ำาสุด 22.02 บาท/กก. และต้นทุนการผลิตคงที่ ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทน ทางการเงินในการลงทุนปลูกยางพารา คือ มูลค่าปัจจุบันของผลได้สุทธิมีค่าเท่ากับ 55,468.07 บาท/ไร่ อัตราส่วนผลได้ตอต้นทุนมีค่าเท่ากับ 2.73 และอัตราผลตอบแทนในการผลิตมีค่าประมาณร้อยละ 25.29 บาท/ปี ซึ่งสูงกว่าอัตราคิดลด หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารฯ สรุปได้ว่า การลงทุนตลอดช่วงอายุของยางพารา เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน 3) กรณีรัฐบาลมีโครงการแกไขปัญหาราคายางพารา โดยให้ราคาของยางก้นถ้วยอยู่ประมาณ 30 บาท/กก. และต้นทุนการผลิตคงที่ ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุนปลูกยางพารา คือ มูลค่าปัจจุบันของผลได้สุทธิมีค่าเท่ากับ 93,094.65 บาท/ไร่ อัตราส่วนผลได้ต่อต้นทุนมีค่า เท่ากับ 3.91 และอัตราผลตอบแทนในการผลิตมีค่าประมาณร้อยละ 32.39 บาท/ปี สรุปได้วา การลงทุนตลอด ช่วงอายุของยางพาราเกิดความคุ้มค่าในการลงทุน ข้อเสนอแนะ คือ ด้านการผลิต ควรมีการอบรมถ่ายทอด ความรู้เกี่ยวกับการใส่ปุ๋ย การดูแลรักษา ตลอดจนการกรีดยาง ให้กับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจ เกษตรกรควรผลิตยางก้นถ้วยคุณภาพดี และส่งเสริมพัฒนาให้มีการทํายางแผ่นคุณภาพดี หรือรวมกลุ่มกันขายน้ำยางสด และ ควรเน้นความหลากหลายของชนิดพืชที่ปลูก ด้านการตลาด ควรประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเข้าเป็นสมาชิก กลุ่มฯ โดยมีหน่วยงานของรัฐเป็นที่ปรึกษา ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ และ ความสําคัญของการรวมกลุ่ม ควรพัฒนาให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง และสามัคคีกัน เพื่อมีอํานาจในการต่อรองราคา ในตลาดยางพารา รวมถึงการขยายตลาดให้กว้างมากขึ้น.
ชื่อแหล่งทุน: ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: http://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/rubberofnan57.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดน่าน
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 2556
เผยแพร่โดย: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ส่วนวิจัยเศรษฐกิจพืชสวน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินในการลงทุนปลูกยางพาราของจังหวัดน่าน (9 ต.ค. 2558)
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ส่วนวิจัยเศรษฐกิจพืชสวน
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงราย กลุ่มวิจัยยางพารา การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุน ระหว่างการปลูกยางพาราและการปลูกข้าว ในอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การเก็บรักษาคัพภะยางพาราในสภาพอุณหภูมิต่ำในหลอดทดลอง ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคของยางพารา (Hevea brasiliensis Muell.Arg.) ในพื้นที่เพาะปลูกจังหวัดสุราษฎร์ธานี การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การสำรวจศัตรูยางพาราในเขตพื้นที่ จังหวัดน่าน โครงการ การพัฒนายุทธศาสตร์สำหรับการปลูกยางพาราของประเทศไทยด้วยประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพาราในจังหวัดเพชรบูรณ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก