สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกพันธุ์พริกต้านทานโรคแอนแทรกโนสในแนวกว้าง
เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกพันธุ์พริกต้านทานโรคแอนแทรกโนสในแนวกว้าง
ชื่อเรื่อง (EN): Screening chilli cultivars for broad spectrum resistance to anthracnose
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เพชรรัตน์ ธรรมเบญจพล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Petcharat Thummabenjapone
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาแหล่งของความต้านทานและการคัดเลือกพันธุ์พริกที่ต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนส (anthracnose) ที่ผ่านมามีการดำเนินงานโดยใช้เชื้อ Colletotrichum สปีชีส์เดียว เท่านั้น การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกพันธุ์พริก ที่ต้านทานต่อเชื้อสาเหตุโรคแอนแทรกโนสให้ได้หลายสปีชีส์ ได้ประเมินความต้านทานของพันธุ์พริก 24 พันธุ์ ซึ่งรวมรวมจาก แหล่งต่างๆ ต่อเชื้อ Colletotrichum 4 species (C. capsici-Kh5-2, C. acutatum-Khon2, C. gloeosporioides-Phit2-3 และ C. coccodes-Am8-4) ในห้องปฏิบัติการ โดยปลูกเชื้อลงบนส่วนกลางของผลพริกในระยะผลเขียวอายุ 35-40 วัน หลังออกดอกโดยวิธีฉีดสารแขวนลอยสปอร์เชื้อ แล้วบ่มไว้ในกล่องชื้นที่อุณหภูมิ 28±2o ซ. ภายใต้แสง 12 ชั่วโมง สลับมืด 12 ชั่วโมง ประเมินความต้านทานโรคเมื่อ 14 วันหลังปลูกเชื้อ นำค่าระดับการเกิดโรคมาคำนวณเป็นเปอร์เช็นต์ดัชนีการเกิด โรค (disease index, %DI) สำหรับนำไประบุลักษณะความต้านทานต่อเชื้อ Colletotrichum ในแต่ละสปีชีส์ พบว่า พันธุ์ PBC932 และ KKU-P24006 มีต้านทานต่อเชื้อ Colletotrichum ทั้ง 4 species เมื่อแยกตามสปีชีส์ของเชื้อที่ทดสอบ พบว่า มีพันธุ์ที่ต้านทานมาก (HR) ต่อเชื้อ C. capsici-Kh5-2 2 พันธุ์ ต้านทานปานกลาง (MR) 2 พันธุ์ อ่อนแอปานกลาง (MS) 2 พันธุ์ อ่อนแอ (S) 3 พันธุ์และอ่อนแอมาก (HS) 15 พันธุ์ กลุ่มที่ต้านทาน (R) ต่อเชื้อ C. acutatum-Khon2 มี 2 พันธุ์ ส่วนพันธุ์ ที่เหลือ 22 พันธุ์ มีความอ่อนอ่อนแอมาก (HS); สำหรับเชื้อ C. gloeosporioides-Phit2-3 มีพันธุ์ที่ต้านทานมาก (HR) 2 พันธุ์ อ่อนแอ (S) 2 พันธุ์ และอ่อนแอมาก (HS) 20 พันธุ์; สำหรับเชื้อ C. coccodes-Am8-4 พบว่า มีพันธุ์ที่ต้านทานมาก (HR) 11 พันธุ์ ต้านทาน (R) 6 พันธุ์ ต้านทานปานกลาง (MR) 1พันธุ์ อ่อนแอ (S) 2 พันธุ์ และอ่อนแอมาก (HS) 4 พันธุ์
บทคัดย่อ (EN): Only one species of Colletotrichum was used in screening of chilli for resistance to anthracnose in most previous studies. The objective of this study was to screen chilli for broad spectrum resistance to anthracnose disease caused by Colletotrichum spp. Twenty four varieties of chilli collected from different sources were evaluated for resistance to four species of Colletotrichum (C. capsici-Kh5-2, C. acutatum-Khon2, C. gloeosporioides-Phit2-3 andC. coccodes-Am8-4) under laboratory conditions. Green detached fruits of chilli collected at 35-40 days after flowering were artificially-inoculated by microinjection of spore suspension to the middle of the fruits. The inoculated fruits were incubated in moist chamber in the room with 12 h of darkness and 12 h of light cycle at temperature of 28±2o C. Disease resistance was evaluated at 14 days after inoculation. The disease scores of individual fruits were converted to percentage of disease index(%DI), which will be used for determination of resistant phenotypes. The results showed that PBC 932 and KKU-P24006 had broad spectrum resistance to 4 species of Colletotrichum. Two varieties of chilli had high resistance (HR) to C. capsici-Kh5-2, two varieties had moderate resistance (MR), two varieties were moderatelysusceptible (MS), three varietieswere susceptible(S), and fifteen varieties were highly susceptible (HS). Two varieties were resistant (R) to C. acutatum-Khon-2, and twenty-two varieties were highly susceptible (HS). Two varieties were highly resistant (HR) to C. gloeosporioides-Phit2-3, two varieties were susceptible (S)and twenty varieties were highly susceptible (HS). Eleven varieties were highly resistant (HR) to C. coccodes-Am8-4, six varieties were resistant (R), one variety was moderately resistant (MR), two varieties were susceptible(S)and four varieties were highly susceptible (HS).
ชื่อแหล่งทุน: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=09-Khonesavanh.pdf&id=1048&keeptrack=12
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากร การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกพันธุ์พริกต้านทานโรคแอนแทรกโนสในแนวกว้าง
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2555
เอกสารแนบ 1
การประยุกต์ใช้ไคโตซานร่วมกับสารสกัดจากสับปะรดและมะละกอเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและควบคุมโรคแอนแทรกโนสในพริกในพื้นที่ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา การคัดเลือกพันธุ์พริกที่ให้ผลผลิตสูงและต้านทานโรค การคัดเลือกฟักทองเพื่อความหลากหลายของทรงผลและคุณภาพผลที่ดี การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพดหวานโดยวิธีการผสมกลับร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ระยะที่ 4 001 วงจรชีวิตของ Meloidogyne incognita ในพริกพันธุ์ต้านทานและพันธุ์อ่อนแอ การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินร่วนเหนียว ในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา ชีวเคมีของพริก ตอนที่ 1 สีสันแสนสวยด้วยเม็ดสีที่แตกต่าง เปรียบเทียบการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ของพริกภายใต้ 2 ระบบปลูก ข้าวเหนียวสายพันธุ์ต้านทานโรคและแมลง PRE01014-20-1-2-1 การคัดพันธุ์ต้านทานโรครากขาว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก