สืบค้นงานวิจัย
ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
อำนวย คงพรหม - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Mantis shrimp resources along the Andaman Sea Coast of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อำนวย คงพรหม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): amnuay kongprom
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทะเลอันดามันของประเทศไทย มีชายฝั่งทะเลยาว 740 กิโลเมตร ทอดยาวตั้งแต่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรังและจังหวัดสตูล อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ชายเลน บริเวณห่างชายฝั่งออกไปมีเกาะแก่ง ปะการัง และกองหินใต้น้า พื้นท้องทะเลเป็นโคลนปนทราย และโคลนเหลว สภาพภูมิประเทศดังกล่าวส่งผลให้ทะเลอันดามันเป็นทั้งแหล่งวางไข่และเลี้ยงตัวของสัตว์น้าวัยอ่อน รวมทั้งเป็นแหล่งอาศัยของกั้งตั๊กแตน จากการเพิ่มขึ้นของเครื่องมือประมงทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก ทางฝั่งทะเลอันดามัน ส่งผลให้ทรัพยากรทุกชนิดมีปริมาณลดลง รายได้ของชาวประมงลดลง ทาให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมาเกือบทุกพื้นที่ กั้งตั๊กแตนเป็นทรัพยากรสัตว์น้าอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการทาประมงมากเกินควร โดยเครื่องมือประมงที่สาคัญในการจับกั้งตั๊กแตน ได้แก่ อวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนรุน และอวนจมปู คิดเป็นร้อยละ 74 16 และ 6 ตามลาดับ สาเหตุสาคัญที่ทาให้ปริมาณกั้งตั๊กแตนลดลงอย่างรวดเร็วคือ มีการจับกั้งตั๊กแตนไข่แก่มากเกินไป เนื่องจากการบริโภคได้เปลี่ยนจากการบริโภคเนื้อเป็นบริโภคกั้งตั๊กแตนที่มีไข่แก่เต็มท้อง ทาให้ไม่มีพ่อแม่พันธุ์กั้งตั๊กแตนเพียงพอในการที่จะผลิตกั้งตั๊กแตนรุ่นใหม่เข้าไปทดแทนที่ในแหล่งประมงได้ทัน ดังนั้นจึงมีความจาเป็นต้องมีการจัดการทรัพยากรกั้งตั๊กแตนที่ถูกต้องและเหมาะสมโดยใช้ข้อมูลทางวิชาการ จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีงานแผนงานวิจัยทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามัน โดยได้ดาเนินการระหว่างปีงบประมาณ 2555-2556 ซึ่งภายใต้ชุดโครงการฯ มีโครงการย่อย 5 เรื่อง ดังนี้ การทาประมงกั้งตั๊กแตนจากเครื่องมือประมงพื้นบ้าน โดยศึกษาในพื้นที่จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ และสตูล ระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม ปี 2555 พบเครื่องมือประมงดังนี้คือ อวนจมกุ้ง อวนลอย อวนจมปู โป๊ะน้าตื้น ลอบกั้ง แร้วกั้ง ขุดกั้ง และเหยียบกั้ง โดยพบว่า อวนจมกุ้ง ในจังหวัดพังงามีอัตราการจับเฉลี่ย 7.14 กก./วัน เป็นกั้งตั๊กแตนร้อยละ 3.64 กั้งตั๊กแตนมีความยาวเฉลี่ย 29.04 ซม. ในพื้นที่จังหวัดกระบี่มีอัตราการจับเฉลี่ย 7.91 กก./วัน เป็นกั้งตั๊กแตนร้อยละ 2.86 กั้งตั๊กแตนมีความยาวเฉลี่ย 29.29 ซม. ในจังหวัดสตูล มีอัตราการจับเฉลี่ย 9.34 กก./วัน เป็นกั้งตั๊กแตนร้อยละ 11.35 กั้งตั๊กแตนมีความยาวเฉลี่ย 24.82 ซม. อวนติดตาในจังหวัดพังงา มีอัตราการจับเฉลี่ย 46.20 กก./วัน เป็นกั้งตั๊กแตนร้อยละ 0.49 กั้งตั๊กแตนมีความยาวเฉลี่ย 28.78 ซม. ในจังหวัดกระบี่มีอัตราการจับเฉลี่ย 81.11 กก./วัน เป็นกั้งตั๊กแตนร้อยละ 0.45 กั้งตั๊กแตนมีความยาวเฉลี่ย 28.99 ซม. อวนจมปูในจังหวัดพังงามีอัตราการจับเฉลี่ย 9.08 กก./วัน เป็นกั้งตั๊กแตนร้อยละ 2.43 มีขนาดความยาวเฉลี่ย 27.58 ซม. ในจังหวัดระนองมีอัตราการจับสัตว์น้าเฉลี่ย เท่ากับ 3.29 กก./วัน องค์ประกอบกั้งตั๊กแตนร้อยละ 27.20 กั้งตั๊กแตน มีขนาดความยาวเฉลี่ย 23.98 ซม. โป๊ะน้าตื้น ในจังหวัดพังงา มีอัตราการจับเฉลี่ย 5.65 กก./วัน เป็นกั้งตั๊กแตนร้อยละ 3.63 กั้งตั๊กแตนมีขนาดความยาวเฉลี่ย เท่ากับ 27.41 ซม. ในจังหวัดกระบี่ มีอัตราการจับเฉลี่ย 8.31 กก./วัน เป็นกั้งตั๊กแตนร้อยละ 1.61 กั้งตั๊กแตนมีความยาวเฉลี่ย 27.91 ซม. แร้วกั้ง หรือไซกั้ง ในจังหวัดระนองมีอัตราการจับเฉลี่ย 1.04 กก./วัน เป็นกั้งตั๊กแตนร้อยละ 97.18 กั้งตั๊กแตนมีขนาดความยาวเฉลี่ย เท่ากับ 23.75 ซม. ในจังหวัดสตูล มีอัตราการจับเฉลี่ย 2.50 กก./วัน เป็นกั้งตั๊กแตนร้อยละ 73.36 กั้งตั๊กแตนมีขนาดความยาวเฉลี่ย เท่ากับ 21.26 ซม. ลอบกั้งในจังหวัดสตูล มีอัตราการจับเฉลี่ย 4.50 กก./วัน เป็นกั้งตั๊กแตนร้อยละ 21.05 มีขนาดความยาวเฉลี่ย เท่ากับ 23.70 ซม. เหยียบกั้งใน จังหวัดระนอง มีอัตราการจับกั้งเฉลี่ย 4.62 กก/วัน ขนาดความยาวเฉลี่ย เท่ากับ 22.38 ซม. จังหวัดสตูล มีอัตราการจับกั้งเฉลี่ย 2.27 กก/วัน ขนาดความยาวเฉลี่ย เท่ากับ 21.32 ซม. กั้งตั๊กแตนที่จับโดยเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ในจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ และสตูล มีรูปแบบการซื้อและจาหน่ายในลักษณะคล้ายกันคือ จะมีแพรับซื้อเพื่อรวบรวมกั้งตั๊กแตนที่มีชีวิตในหมู่บ้าน ซึ่งจะรับซื้อกั้งตั๊กแตนมีชีวิต ขนาด 9 นิ้ว ขึ้นไป (22 เซนติเมตร หรือมีน้าหนักมากกว่า 150 กรัม) กิโลกรัมละ 500 – 1,000 บาท ส่วนกั้งตั๊กแตนที่ขนาดต่ากว่า 22 เซนติเมตร หรือขนาด 150 – 200 กรัม ราคากิโลกรัมละ 250 บาท ขนาด 50 -150 กรัม ราคากิโลกรัมละ 150 บาท ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2555 โดยเก็บตัวอย่างจากเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ได้แก่ อวนลอยกั้ง ลอบกั้ง แร้วกั้ง และจากการขุดกั้ง ซึ่งมีแหล่งทาการประมงบริเวณคลองบ้านบากันเคย คลองบ้านปูยู เกาะการ๊าฟ เกาะโกย เกาะขมิ้น เกาะบรัสมานา เกาะยาว เกาะสาม จังหวัดสตูล และน่านน้าประชิดไทย-มาเลเซีย พบว่ากั้งตั๊กแตนชนิด H. raphidea ทั้งหมดมีความยาวตลอดตัวอยู่ในช่วง 13.10-32.50 เซนติเมตร น้าหนักตัวอยู่ในช่วง 30.00-372.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวตลอดตัวกับน้าหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W = 0.0156TL2.8808 เพศผู้มีความยาวตลอดตัวอยู่ในช่วง 13.10-31.80 เซนติเมตร น้าหนักตัวอยู่ในช่วง 30.00-342.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวตลอดตัวกับน้าหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0143TL2.9081 เพศเมียมีความยาวตลอดตัวอยู่ในช่วง 15.40-32.50 เซนติเมตร น้าหนักตัวอยู่ในช่วง 36.00-372.00 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวตลอดตัวกับน้าหนักตัวอยู่ในรูปสมการ W=0.0168TL2.8576 อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:1 ซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P<0.05) ขนาดแรกสืบพันธุ์ (L50) ของปลาเพศผู้และเพศเมียเท่ากับ 26.04 เซนติเมตร มีการวางไข่ได้เกือบตลอดปีโดยวางไข่มาก 2 ช่วง คือ เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และกรกฎาคม-พฤศจิกายน ซึ่งวางไข่สูงสุดในเดือนมีนาคมและสิงหาคม ความชุกชุมและการแพ่รกระจายของกั้งตั๊กแตนวัยอ่อนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ทาการศึกษา 3 พื้นที่ จานวน 44 สถานี ได้แก่ พื้นที่สารวจที่ 1 บริเวณปากแม่น้ากระบุรีลงมาทางทิศใต้ถึงบริเวณเกาะตาวัวดา จังหวัดระนอง พื้นที่สารวจที่ 2 บริเวณเกาะหมากลงมาทางทิศใต้ถึงเกาะนาคาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต และบริเวณเกาะหมากลงมาทางทิศใต้ ถึงบริเวณเกาะห้อง จังหวัดกระบี่ และพื้นที่สารวจที่ 3 บริเวณเกาะเขาใหญ่ลงมาทางทิศใต้ ถึงเกาะตะรุเตา และเกาะตามะลัง จังหวัดสตูล เก็บตัวอย่างในเดือนมกราคม ถึงธันวาคม ปี 2555 โดยใช้ถุงลากแพลงก์ตอนขนาดชองตา 330 ไมโครเมตร พบกั้งตั๊กแตนวัยอ่อนในพื้นที่สารวจที่ 1 เฉลี่ย 41.13 ตัวต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร ชุกชุมในเดือนธันวาคม แพ่รกระจายหนาแน่นบริเวณด้านทิศใต้ของเกาะสองเหนือซึ่งอยูบริเวณปากแม่น้ากระบุรี ด้านทิศใต้ของเกาะรู และด้านทิศเหนือของเกาะช้าง จังหวัดระนอง พื้นที่สารวจที่ 2 พบเฉลี่ย 21.29 ตัวต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร ชุกชุมในเดือนธันวาคม แพร่กระจาย หนาแน่นบริเวณเกาะยาวใหญ่ และเกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา พื้นที่สารวจที่ 3 พบเฉลี่ย 288.10 ตัวต่อพื้นที่ 10 ตารางเมตร ชุกชุมในเดือนมีนาคม และธันวาคม แพ่รกระจายหนาแน่นบริเวณเกาะแรดใหญ่ เกาะระยะโตดใหญ่ ชายฝั่งด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตาบลตันหยงโป บริเวณเกาะโกย ด้านทิศตะวันออก เฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล และเมื่อเปรียบเทียบความชุกชุมของกั้งตั๊กแตนวัยอ่อนในพื้นที่สารวจที่ 1-3 พบว่าพื้นที่สารวจที่ 3 มีความชุกชุมหนาแน่นมากกว่าพื้นที่สารวจที่ 1 และ 2 อย่างมีนัยสาคัญ (P<0.05) กั้งตั๊กแตนมีฤดูวางไข่ในเดือนในเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม และพฤศจิกายนถึงธันวาคม มีแหล่งเลี้ยงตัววัยอ่อนบริเวณด้านทิศใต้ของเกาะสองเหนือ บริเวณเกาะรู เกาะช้าง เกาะยาวใหญ่ เกาะยาวน้อย เกาะแรดใหญ่ เกาะระยะโตดใหญ่ เกาะโกยใหญ่ ชายฝั่งด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตาบลตันหยงโป และด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะตะรุเตา คุณภาพน้าทางฝั่งทะเลอันดามัน ที่ระดับความลึก 1 เมตร จากผิวน้า ได้แก่ อุณหภูมิ ความเค็ม และความเป็นกรด-ด่าง มีค่าอยูในเกณฑ์ปกติ (28.84-30.11 26.46-31.45 7.51-7.86) เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานคุณภาพน้าทะเล สาหรับความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกั้งตั๊กแตนวัยอ่อนกับคุณภาพน้าทะเล พบว่ามีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิ และความเค็มน้าทะเลอย่างมีนัยสาคัญ (P<0.05) และเมื่อพิจารณาตามพื้นที่สารวจพบว่าพื้นที่สารวจที่ 1 และ 3 ซึ่งมีกั้งตั๊กแตนวัยอ่อนชุกชุม มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิ และความเค็มน้าทะเลอย่างมีนัยสาคัญ กั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea ที่ถูกจับด้วยเครื่องมืออวนลอยกั้ง ลอบกั้ง แร้ว และจากการขุดกั้ง มีความยาวตลอดตัวอยู่ในช่วง 15.50-23.50, 16.00-31.50, 7.50-31.00 และ 16.50-31.00 เซนติเมตร ตามลาดับ มีค่าการประมาณค่าสัมประสิทธิ์การเติบโต (K) เท่ากับ 1.8 ต่อปี และค่าความยาวอนันต์ 34.13 เซนติเมตร การสารวจทรัพยากรกั้งตั๊กแตนโดยเรือสารวจประมง 4 ด้วยอวนลากแผ่นตะเฆ่ จานวน 3 เที่ยวเรือในเดือนมีนาคม เมษายน และ พฤษภาคม 2555 มีอัตราการจับสัตว์น้าทั้งหมดเฉลี่ย 65.373 กก./ชม. โดยมีอัตราการจับกลุ่มกั้งตั๊กแตนเฉลี่ย 0.032 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของสัตว์น้าทั้งหมด และมีความหนาแน่นเท่ากับ 0.42 กก./กม2 กั้งตั๊กแตนที่พบมี 3 ชนิด คือ กั้งตั๊กแตนหางจุด (Harpiosquilla harpax) มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.020 กก./ชม. มีความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 0.266 กก./กม2 มีความยาวอยู่ในช่วง 10.25-16.75 ซม. ความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 12.55±2.23 ซม. กั้งตั๊กแตนหางฟ้า-ชมพู (Oratosquilla woodmasoni) มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.011 กก./ชม. มีความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 0.110 กก./กม2 มีความยาวอยู่ในช่วง 5.25-17.75 ซม. ความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 9.51±2.05 ซม. และกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla annandalei มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.001 กก./ชม. มีความหนาแน่นเฉลี่ยเท่ากับ 0.006 กก./กม2 มีความยาวอยู่ในช่วง 11.75-13.25 ซม. ความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 12.50±1.12 ซม. กั้งตั๊กแตนหางจุดพบชุกชุมและแพร่กระจายบริเวณเกาะตาชัย อ่าวพังงา จังหวัดพังงา และเกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่ กั้งตั๊กแตนหางฟ้า-ชมพู พบชุกชุมและแพร่กระจายตั้งแต่บริเวณเกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ตลอดจนแนวชายฝั่งจังหวัดตรัง และสตูล และกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla annandalei พบชุกชุมและแพร่กระจายบริเวณเกาะอาดัง-ราวี กั้งตั๊กแตนมีการแพร่กระจายในเขตสารวจที่ 1 3 และ 4 โดยมีความชุกชุมสูงสุดในเขตสารวจ 3 มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.090 กก./ชม. รองลงมาคือเขตสารวจ 4 และ 1 เท่ากับ 0.025 และ 0.014 กก./ชม. ในขณะที่เขตสารวจที่ 2 ไม่พบการแพร่กระจายกั้งตั๊กแตน โดยบริเวณเขตสารวจที่ 3 มีอัตราการจับเฉลี่ยสูงกว่าเขตสารวจที่ 1 และ 4 อย่างมีนัยสาคัญ (p<0.05) การแพร่กระจายกั้งตั๊กแตนตามระดับความลึกน้า พบว่ามีอยู่ทั่วไปที่ระดับความลึกน้า 15-70 เมตร โดยมีความชุกชุมสูงสุดที่ระดับความลึกน้า 15-30 เมตร มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.088 กก./ชม. และชุกชุมต่าสุดที่ระดับความลึกน้า 31-50 เมตร มีอัตราการจับเฉลี่ยเท่ากับ 0.002 กก./ชม. โดยที่ระดับความลึกน้า 15-30 เมตร มีอัตราการจับสูงกว่าที่ระดับความลึกน้า 31-50 51-70 และ 71-90 เมตร อย่างมีนัยสาคัญ (p<0.05)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2556
กรมประมง
ความชุกชุมและการแพร่กระจายของกั้งตั๊กแตนจากเรือสำรวจประมงทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย กั้งตั๊กแตนจากการประมงพื้นบ้านทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกั้งตั๊กแตนชนิด Harpiosquilla raphidea (Fabricus, 1798) ทางฝั่งทะเล อันดามันของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรกั้งกระดาน (Thenus unimaculatus Burton and Davie, 2007) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาลัง (Rastrelliger kanagurta (Cuvier, 1816)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประมงกั้งกระดาน (Thenus unimaculatus Burton and Davie, 2007) ทางฝั่งทะเลอันดามันตอนบนของประเทศไทย ความชุกชุมและการแพร่กระจายของกั้งตั๊กแตนวัยอ่อน ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาปากคมชนิด Saurida undosquamis และ S. elongata ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งโอคักทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก