สืบค้นงานวิจัย
การปรับตัวต่อสภาพแอโรบิกของพันธุ์ข้าวไร่ และข้าวนาสวน
พุทธพงศ์ มะโนคำ, ณัฏฐิณี ภัทรกุล, ศันสนีย์ จำจด, ชนากานต์ เทโบลต์, เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การปรับตัวต่อสภาพแอโรบิกของพันธุ์ข้าวไร่ และข้าวนาสวน
ชื่อเรื่อง (EN): Adaptation to Aerobic Condition of Upland and Wetland Rice Varieties
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
คำสำคัญ: การปรับตัว(Adaptation) แอโรบิก(aerobic) ข้าวไร่(upland rice) ข้าวนาสวน(wetland rice) วิธีการประเมิน(screening method)
บทคัดย่อ: ข้าวมีการปรับตัวของรากต่อสภาพแอโรบิกที่แตกต่างกันทั้งด้านการดูดน้ำและอาหาร ซึ่งการศึกษาระบบรากข้าวใช้เวลานานและลำบาก ดังนั้นการประเมินและคัดเลือกพันธุ์ที่มีการปรับตัวของรากจึงทำได้ยาก การศึกษานี้เริ่มจากเปรียบเทียบการเจริญของรากข้าว 2 พันธุ์คือ พันธุ์บือบ้าง (ข้าวไร่) และขาวดอกมะลิ 105 (ข้าวนาสวน) ในวัสดุปลูก 8 ชนิด ในงานทดลองที่ 1 เพื่อหาวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการนำมาใช้ศึกษารากข้าวที่ง่ายและรวดเร็ว พบว่า ดินชุดสันทรายและดินดำเป็นวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการศึกษาระบบรากข้าวการทดลองที่ 2 ศึกษาการปรับตัวต่อสภาพปลูกแอโรบิกเทียบกับสภาพน้ำขังพันธุ์ข้าวนาสวน 3 พันธุ์ และข้าวไร่ 3 พันธุ์ พบว่า ข้าวพันธุ์ บือบ้าง ชัยนาท 1 และ R 258 มีน้ำหนักรากเพิ่มขึ้นในสภาพแอโรบิก ส่วนการกระจายตัวของรากที่ความลึกใต้ผิวดิน  0-15 เซนติเมตร ข้าวนาสวนมีน้ำหนักรากลดลงยกเว้นพันธุ์ชัยนาท 1 ที่ความลึก 15-30 เซนติเมตร ข้าวไร่มีน้ำหนักรากเพิ่มขึ้นแต่ข้าวนาสวนลดลง และที่ความลึกมากกว่า 30 เซนติเมตร ข้าวทุกพันธุ์มีน้ำหนักรากเพิ่มขึ้น การเจริญทางลำต้นพบ น้ำหนักต้นและจำนวนหน่อของข้าวนาสวนเพิ่มขึ้น แต่ความสูงลดลง ส่วนข้าวไร่ไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้ค่า root/shoot ratio ของข้าวไร่เพิ่มขึ้นในสภาพแอโรบิก แต่ในข้าวนาสวนลดลงยกเว้นพันธุ์ชัยนาท 1 สำหรับการสะสมธาตุอาหารไนโตรเจนพบเพียงพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่มีค่าเพิ่มขึ้นในสภาพแอโรบิก ฟอสฟอรัสของข้าวไร่ส่วนใหญ่ลดลงและข้าวนาสวนไม่เปลี่ยนแปลง โพแทสเซียมมีเพียงปทุมธานี 1 เพิ่มขึ้นและสุพรรณบุรี 1 ลดลง แคลเซียมเพิ่มขึ้นในพันธุ์ชัยนาท 1 และพันธุ์บือบ้าง  และการสะสมแมกนีเซียมพบว่ามีเพียงข้าวสุพรรณบุรี 1 เท่านั้นที่ลดลงในสภาพแอโรบิกในขณะที่พันธุ์อื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง
บทคัดย่อ (EN): Root system of rice genotypes differ in their adaptation to aerobic condition, both in water and nutrient uptake.  However, studies of root system are time consuming and labor intensive. In Experiment 1, two rice genotypes Buebang (upland rice) and KDML 105 (wetland rice) were tested in 8 treatments to identify suitable growing media for screening genotypes of rice root system. It was found that Sansai soil and black loam soil were suitable for rice root study and Sansai soil was used further in Experiment 2. In Experiment 2, three each of upland (BueBang (BB), R258 and Seiw Mae Jan (SMJ)) and wetland (SupanBuri1 (SPR 1), Chainat1 (CNT 1) and Pathumthani1 (PTT 1)) rice were grown in two growth conditions (aerobic and flooded). Under aerobic condition, total root dry weight of BB, CNT 1 and R 258 varieties were increased. Root distribution of all wetland rice decreased at 0-30 cm depth but those of upland rice increased at 15-30 cm compared to the flooded condition. For shoot growth, shoot dry weight and number of tillers of wetland rice varieties were increased but plant height was reduced while those of upland rice were the same as in flooded. Thus, the root / shoot ratio of all upland rice varieties in aerobic were increased and all wetland rice, except CNT 1, decreased. For nutrient accumulation, nitrogen was increased only in PTT 1. Phosphorus of upland rice was decreased and wetland rice was not changed. Potassium was increased in PTT 1 but decreased in SPR 1. Calcium was increased in CNT 1 and BB, and magnesium decreased only in SPR 1.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับตัวต่อสภาพแอโรบิกของพันธุ์ข้าวไร่ และข้าวนาสวน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2557
เอกสารแนบ 1
วันปลูกที่เหมาะสมของข้าวไร่ แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร เสถียรภาพของสายพันธุ์ข้าวนาสวนดีเด่นภายใต้สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวต่อหนอนกอในสภาพธรรมชาติ การปรับปรุงดินเพื่อการปลูกข้าวไร่ ดัชนีความไวของข้าวบางพันธุ์ที่มีต่อช่วงแสงตามธรรมชาติ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบการปลูกข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองในจังหวัดนครราชสีมา การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก