สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตบัวเข็มอย่างมีคุณภาพ
เกตุวดี สุขสันติมาศ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตบัวเข็มอย่างมีคุณภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Smithatris myanmarensis for Quality Product
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เกตุวดี สุขสันติมาศ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บัวเข็ม (Smithatris myanmarensis) จัดเป็นพืชใน Genus Smithatris เป็นพืชชนิดใหม่ มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเมือง Taunggyi พื้นที่ลาดเอียงทางตะวันตกของ Shan Hills ในประเทศพม่า และแถบภาคตะวันตกของประเทศไทย ปัญหา คือ ขาดเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อการค้า เช่น การใส่ปุ๋ย วัสดุปลูก การพรางแสง ระยะปลูก ขนาดหัวพันธุ์ตลอดจนการผลิตนอกฤดู โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตบัวเข็มอย่างมีคุณภาพ เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2554 จนถึงเดือนกันยายน ปี 2558 ที่ จ.พิจิตร จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก และ จ.เพชรบูรณ์ ผลการดำเนินการวิจัยการทดสอบปุ๋ย 5 อัตราเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 10 กรัมต่อหลุม รองพื้นก่อนปลูก โดยใช้ดิน แกลบดิบ แกลบดำ และ มูลวัว ในอัตรา 1 ส่วนเท่ากันเป็นวัสดุปลูกก็เพียงพอต่อการผลิตดอก หากต้องการผลิตเพื่อใช้หัวพันธุ์ ควรเพิ่มธาตุอาหารในวัสดุปลูกด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 อัตรา 5-20 กรัม/กอ ในช่วงออกดอกและสะสมอาหาร เนื่องจากจะช่วยให้มีการสะสมอาหารไว้ในเหง้าและตุ้มรากมากขึ้น ทําให้เหง้ามีขนาดใหญ่และสมบูรณ์?ซึ่งจะให้ดอกที่มีคุณภาพสูง และตาข่ายพลาสติกพรางแสงที่เหมาะสมในการปลูกบัวเข็ม คือ สามารถพรางแสงได้ 50-70% ไม่ควรเกินกว่านี้เพราะทำให้ผลผลิตลดลง การศึกษาวัสดุปลูก 6 กรรมวิธีเพื่อหาอัตราส่วนของวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการผลิตหัวพันธุ์ พบว่า วัสดุปลูกที่เหมาะสมในการผลิตหัวพันธุ์บัวเข็มมากที่สุด คือ แกลบดิบ : แกลบดำ : มูลวัว สัดส่วน 2:1:1 รองลงมา คือ ดิน: แกลบดิบ: มูลวัว สัดส่วน 1:1:1 การใช้ดินเพียงอย่างเดียวปลูกบัวเข็มไม่เหมาะสมในการผลิตหัวพันธุ์ นอกจากจะให้ผลผลิตต่ำแล้วเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์ยังจัดการได้ยากอีกด้วย เพราะดินจะเกาะตัวแน่นกับหัวพันธุ์ทำให้เวลาเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์หักเกิดความเสียหาย เป็นช่องทางของเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย การเก็บรักษาหัวพันธุ์ที่มีผลต่อการงอกและการเจริญเติบโตของบัวเข็มเพื่อผลิตนอกฤดู พบว่า หัวพันธุ์ที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15+ 2 oC และนำออกปลูกทุก 2 4 6 และ 8 เดือน หัวพันธุ์ที่ผ่านการเก็บรักษา 6 เดือน ใช้เวลาในการงอกเฉลี่ยต่ำสุด 19 วัน ส่วนการเก็บรักษาหัวพันธุ์ 8 เดือน ใช้เวลาในการงอกนานถึง 29 วัน ในด้านเปอร์เซ็นต์การงอก หัวพันธุ์บัวเข็มที่ผ่านการเก็บรักษา 6 เดือน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกเฉลี่ยสูงสุด 92.7% ส่วนการเก็บรักษาหัวพันธุ์ 4 เดือน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำสุด 82.1% อายุการเก็บรักษาหัวพันธุ์ที่นานขึ้นเมื่อนำออกปลูก จะส่งผลต่อการเจริญเติบโต คือบัวเข็มจะมีการเจริญเติบโตลดลง มีอายุการตัดดอกแรกที่นานขึ้น ตลอดจนขนาดของช่อดอกจะมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับหัวพันธุ์ที่ไม่ผ่านการเก็บรักษา การศึกษาระยะปลูกในโรงเรือน 3 ระยะปลูก ได้แก่ 30x30 40x40 และ 50x50 ซม. เพื่อเพิ่มผลผลิตของหัวพันธุ์บัวเข็มเชิงพาณิชย์ พบว่า การใช้ระยะปลูก 50x50 ซม. ทำให้มีจำนวนหัวพันธุ์ จำนวนตุ้มสะสมอาหารต่อกอเพิ่มมากขึ้น หัวพันธุ์มีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้มีจำนวนกลีบดอก จำนวนดอกต่อกอเฉลี่ยมากที่สุด การเจริญเติบโต ได้แก่ ความสูง ความกว้างลำต้น ความกว้างใบ มีความสัมพันธ์กับระยะปลูกคือเมื่อปลูกถี่บัวเข็มต้นจะสูงกว่าการใช้ระยะปลูกที่เพิ่มขึ้น นอกจากระยะปลูกแล้วสิ่งจำเป็นที่ต้องคำนึงถึง คือการพรางแสงเนื่องจากบัวเข็มเป็นพืชที่มีถิ่นกําเนิดในป่?าค่?อนข้างทึบและชื้น ไม่สามารถเจริญเติบโตในสภาพกลางแจ้งได้ การศึกษาขนาดหัวพันธุ์บัวเข็มที่ใช้ในการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยกำหนดความยาวของหัวพันธุ์ 5 ระดับ ได้แก่ หัวพันธุ์มีความยาว 3 5 7 9 และ 11 ซม. ผลการทดลอง พบว่า บัวเข็มสามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตคุณภาพของดอกและคุณภาพหัวพันธุ์ไม่แตกต่างกันมากนัก หัวพันธุ์ที่มีความยาว 9 ซม. มีแนวโน้มในการให้จำนวนต้นต่อกอ การเจริญเติบโต และจำนวนดอกต่อกอสูงที่สุด รวมถึงคุณภาพของดอก รองลงมาคือหัวพันธุ์ที่มีความยาว 7 ซม. และ 5 ซม. แต่ขนาดแง่งบัวเข็มที่นำมาใช้เป็นหัวพันธุ์สำหรับขยายพันธุ์มีความยาวเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5.87 – 7.60 ซม. ทำให้หาหัวพันธุ์ที่มีความยาว 9 เซนติเมตรได้ค่อนข้างยาก หากต้องการพัฒนาเป็นไม้กระถางและสามารถหาหัวพันธุ์ได้ง่ายควรเลือกใช้หัวพันธุ์ที่มีความยาว 5 – 7 ซม.
บทคัดย่อ (EN): Bua Khem (Smithatris myanmarensis) is a new species of plants in the Genus Smithatris. It is originally found in the western sloping area of Shan Hills in Taunggyi city, Myanmar, and in the western part of Thailand. The concerned problem is the lack of commercial production technologies such as using fertilizers, growing media, shading, spacing, head rhizome size and off-season production. Bua Khem Quality Research and Development Project was carried out during October 2011 to September 2015 at the Office of Agricultural Research and Development 2 Phitsanulok, Phichit Agricultural Research and Development Center, Sukhothai Agricultural Research and Development Center and Phetchabun Agricultural Research and Development Center. The test of using five different fertilizers application rates was performed to produce high quality production of Bua Khem. It was found that basal application with 10 grams per pit of fertilizer grade 15-15-15. The planting media with the mixture of 1:1:1:1 ratio of soil, chaff, cow dung, and black chaff was suitable for the production of Bua Khem flowers. However, for rhizome production, 5-20 gram/pit of fertilizer grade 8-24-14 should be applied in addition during flowering and food storing periods. The increase of food storage in the rhizome and root weight resulting in the big full rhizome which would produce high quality flowers. In addition, the proper plastic mesh used for growing Bua Khem should provide shading between 50-70%. The shading of more than 70% would result in low yield. The study of 6 different planting medias for rhizome production showed that the best proper planting material was 2:1:1 ratio of chaff, black chaff, and cow dung. The second was 1:1:1 ratio of soil, chaff, and cow dung. Using only soil to grow Bua Khem was not proper for rhizome production because it showed low yield and difficulty in post-harvest, which the soil would stick tightly to the rhizomes, and it caused the damage of rhizomes and disease infection. Effects of the rhizomes preservation on germination and growth of Bua Khem for producing off season were studied by storing rhizomes at temperature of 15+ 2 c๐ and taking them off to grow every two months during 8 months of storage. The results showed that 6 month storage rhizomes germinated within 19 days while 8 month storage rhizomes germinated about 29 days after planting. The highest percentage of germination was 92.7% for 6 month storage rhizomes and the lowest percentage of that was 82.1% for 4 month storage rhizomes. The preservation of rhizomes at 15 c๐ for longer time affected in the decrease of growth, and the delay of flowering, and flower sizes were smaller comparing to those of the control rhizomes without preservation. The three spacing of growing Bua Khem rhizomes of 30x30, 40x40, and 50x50 centimeters were studied in order to increase the production of rhizomes to commercial scale. The space of 50x50 centimeters showed the increase number of rhizomes and tuberous root per pit. The rhizome sizes were bigger which resulted in the maximum number of flowers per pit. Studied of rhizome size of Bua khem, 5 levels was 3, 5, 7, 9 and 11 centimeters. The result showed that the growth of Bua khem yield and quality of flower and rhizome was not significantly different. Although, there was a trend that rhizome with the length 9 centimeters gave a better growth and the higher number and quality of flowers but it was scarcely. Therefore the suitable length of rhizome was 5-7 centimeters.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตบัวเข็มอย่างมีคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะปรางอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพุทราอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตละมุดอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลองกองคุณภาพเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตลางสาดอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะกรูดอย่างมีคุณภาพ การวิจัยและพัฒนาการผลิตเห็ดกระดุมเขตร้อน โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะขามหวานอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตกล้วยตานีอย่างมีคุณภาพ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก