สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยในกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
สุภาวดี แหยมคง - มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยในกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่อง (EN): Beef Cattle Production Efficiency Development of Small Scale Farmers in Tambon Ban Dong, Amphor Chat Trakan, Phitsanulok Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภาวดี แหยมคง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานภาพในการผลิตโคเนื้อ (2) ศึกษาต้นทุน และผลตอบแทนจากการผลิตโคเนื้อ และ (3) กำหนดแนวทางในการผลิตโคเนื้อ จากการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตำบลชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 60 ราย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงโคเนื้อ มีอายุเฉลี่ย 48.90 (SD=8.02) ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา เกษตรกรมีพื้นที่ถือ ครองที่ใช้ในการเลี้ยงโคเนื้อเป็นของตนเอง (100%) มีการใช้แรงงานในครัวเรือน (100%) และรายได้ หลักมาจากการเลี้ยงสัตว์ (86.60%) จำนวนโคเนื้อที่เลี้ยงเฉลี่ยเท่ากับ 18.48 (SD=9.95) ตัวต่อฟาร์ม ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสมชาโรเล่ห์ และเป็นการเลี้ยงโคแม่พันธุ์และลูกโค เกษตรส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้ การผสมเทียมแต่จะเป็นการปล่อยผสมธรรมชาติมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามถ้าเกษตรกรใช้บริการผสม เทียมจะใช้การบริการจากเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ เกษตรกรมีการคัดทิ้งแม่โค เนื่องจากโคอายุมาก ทัศนะคตีในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรส่วนใหญ่คิดว่าการเลี้ยงแมโคผลิตลูกสำหรับขายเพื่อส่งขุน จะให้กำไรสูงสุด ปัญหาและอุปสรรคที่พบมากที่สุดคือปัญหาเรื่องโรคระบาด โดยเฉพาะโรคปากและ เท้าเปื่อย สำหรับต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตโคเนื้อ พบว่า ต้นทุนที่มากที่สุด คือ ค่าแรงงาน เท่ากับ 6,750.00 บาทต่อตัว โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อมีต้นทุนการผลิตทั้งหมด ตั้งแต่แรกเกิดจนส่ง ขาย โดยมีต้นทุนในการผลิตอยู่ที่รวม 11,300.00 บาทต่อตั๋ว โดยแบ่งเป็นต้นทุนผันแปร เท่ากับ 10,675.00 บาทต่อตัว และต้นทุนคงที่ เท่ากับ 625.00 บาทต่อตัว (เป็นต้นทุนเงินสด 3,925.00 บาท ต่อตัว และไม่เป็นเงินสด 7,375.00 บาทต่อตัว) ราคาโคเนื้อที่เกษตรกรขายได้รวมเท่ากับ 20,000 บาทต่อตัว และส่วนของผลตอบแทนในการผลิตโคเนื้อ เกษตรกรจะมีกำไรจากการเลี้ยงโคเนื้อส่วนที่ เป็นเงินสดเท่ากับ 16,075 บาทต่อตัว จากข้อมูลที่ได้ดังกล่าว สามารถนำมากำหนดแนวทางในการ พัฒนาการผลิตโคเนื้อ โตยควรมีการส่งเสริม และสนับสนุนในด้านต่างๆ เช่น สนับสนุนวัคซีนหรือมี การลงพื้นที่เพื่อทำวัคซีนให้กับเกษตรกร และการลดต้นทุนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร หรือ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการผลิตโคเนื้อ โดยการให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทาง การเกษตร เพื่อเป็นการทดแทนแหล่งอาหารหยาบและอาหารข้น ซึ่งในส่วนนี้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและ เอกชน ควรให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตโคเนื้อได้
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were (1) to study the current status in beef cattle production (2) to study cost and compensation in beef cattle production and (3) to determine process on beef cattle production. The purposive samples used in this study were 60 farmers in Tambon Ban Dong, Amphor Chat Trakan, Phitsanulok Province. A questionnaire form was used for data collection. The statistics used in the data analysis were arithmetic mean, percentage, minimum, maximum and standard deviation. The results showed that followings: the farmers average age was 48.90 (SD=8.02) years old, most farmers were male and had primary school education. Most of them used land own their farmers (100%6), working labour were the members of their familes (100%) and main income of farmers from livestock (86.60%). The average number of beef cattle in each farm was 18.48 (SD=9.95) cattle per farms. The largest group of beef cattle presented in these farms was crossbreds contained Charolis crossbreds. The types of beef cattle were dams used in producing calf crossbred. Most farmers in this study preferred to breed their cows with natural breed. If farmers used artificial insemination, they used from staff of Department of Livestock Development. Farmers were culling cows because cattle age. Attitude of farmers, found that dams used in producing calf crossbred for sale to finishing to provide maximum profit. Most problem and obstacle in this study was pestilence, especially foot and mouth disease. Cost of labour was the highest (6,750.00 baht per head). Total cost of beef cattle production was 11,300 baht per head (for variable cost 10,675 baht per head, fixed cost 625.00 baht per head, cost cash 3,925 baht per head and no cost cash 7,375 baht per head) and total income of beef cattle production was 20,000 baht per head. So that income compensation of farmers in selling beef cattle was 16,075 baht per head. According to information, the approaches in developing beef production from experts and specialize in beef cattle of production should be encouraged and support such as to support vaccine or a vaccine to farmers and reducing feed and other production costs by providing more knowledge about the use of agricultural residues as a renewable source of roughage and concentrates. In this section, both governmental and private organization should provide ongoing support and help reduce the cost of beef production.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยในกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
30 กันยายน 2556
การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดพิษณุโลก ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอวัดโบสถ์ และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในกิจกรรมกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ จังหวัดนครสวรรค์ การพัฒนาระบบการเลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษาสภาพเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี การวิจัยและพัฒนาระบบการเลี้ยงและการตลาดโคเนื้อในจังหวัด นครศรีธรรมราช การแก้ไขปัญหาการผสมไม่ติดในโคเนื้อระยะแรกคลอดเชิงบูรณาการของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ การประเมินความสัมพันธ์และประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตต่อผลผลิตข้าวในเขตจังหวัดพิษณุโลกโดยแบบจำลองทางการเกษตร การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก