สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพการผลิตและการตลาดยางเครพของสถาบันเกษตรกร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดวงกมล อินทร์แก้ว - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพการผลิตและการตลาดยางเครพของสถาบันเกษตรกร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Potential Production and Marketing Crepe Rubber of the Institute of Farmers in the Northeast
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดวงกมล อินทร์แก้ว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดยางเครพของสถาบันเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและกำหนดแนวทางพัฒนาการผลิตและการตลาดยางเครพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) การผลิตและการตลาดยางเครพของสถาบันเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ หนองคาย และอุดรธานี ซึ่งคัดเลือกโดยพิจารณาจากจังหวัดใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีสถาบันเกษตรกรที่ผลิตยางเครพ โดยศึกษาเฉพาะสหกรณ์กองทุนสวนยางที่เป็นจุดรวบรวมและจำหน่ายยางก้อนถ้วยคุณภาพดี เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรที่ใช้ยางก้อนถ้วยเป็นวัตถุดิบแปรรูปเป็นยางเครฟเพื่อเพิ่มมูลค่า และโรงงานยางเครฟและยางแท่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการศึกษาพบว่า กลุ่ม/สถาบันเกษตรกรส่วนใหญ่ผลิตยางเครพสีน้ำตาล อัตราการสูญเสียน้ำเมื่อนำยางก้อนถ้วยมาผลิตยางเครพหลังจากการตากยางเครพไว้โดยเฉลี่ย 26 วันมีอัตราการสูญเสียน้ำเฉลี่ย 24% นั่นคือเมื่อนำยางก้อนถ้วยมา 100 กิโลกรัม สามารถผลิตยางเครพได้เฉลี่ย 76 กิโลกรัม เมื่อสถาบันเกษตรกรนำยางเครพไปส่งโรงงาน ได้รับราคายางก้อนถ้วย 100% อยู่ที่72.25 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วยางเครพที่ได้จากสถาบันเกษตรกรมีเปอร์เซ็นต์ยางแห้ง DRC เฉลี่ย 88.25 % ทำให้เกษตรกรได้รับราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 63.76 บาทต่อกิโลกรัม จากการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตยางเครพของกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร พบว่าในการผลิตยาง เครพมีต้นทุนในการผลิตรวมทั้งสิ้น 2.20 บาทต่อกิโลกรัม แบ่งเป็นต้นทุนคงที่เฉลี่ย 0.54 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 1.66 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับวิถีการตลาดยางเครพเกษตรกรจะนำยางก้อนถ้วยไปจำหน่ายยังพ่อค้าท้องถิ่นโดยตรงหรือผ่านกลุ่มเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรผ่านการประมูลยางโดยมีพ่อค้าท้องถิ่นหรือโรงงานแปรรูปยางเครพเข้ามาประมูลยาง เมื่อพ่อค้าท้องถิ่นประมูลยางก้อนถ้วยได้ก็จะนำไปจำหน่ายไปยังโรงงานแปรรูปยางเครพหรือทำการแปรรูปเป็นยางเครพเพื่อจำหน่ายต่อไปยังโรงงานยางแท่งต่อไป และมีบางกลุ่มเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรก็นำยางก้อนถ้วยมาแปรรูปเป็นยางเครพซึ่งในการประมูลยางก้อนถ้วยจะมีการการกำหนดราคาอ้างอิง ส่วนใหญ่อ้างอิงราคาแผ่นดิบหารสอง แล้วบวก 2-5 บาทต่อกิโลกรัม หรืออิงราคาหน้าโรงงานรับซื้อยางก้อนถ้วย จาการศึกษา SWOT ANALYSIS การผลิตและการตลาดยางเครพของสถาบันเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า สถาบันเกษตรกรที่ผลิตยางเครพมีจุดแข็ง คือ กลุ่ม/สถาบันเกษตรกรมีความสามารถในการรวบรวมหรือจัดหายางก้อนถ้วยมาใช้ในการผลิตอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการกลุ่มมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กร มีความสามารถพัฒนากลุ่มจากเป็นผู้รวบรวมยางก้อนถ้วยมาเป็นผู้ผลิตยางเครพ ความพร้อมด้านสถานที่ ที่ตั้งการผลิตและไฟฟ้าประปาเข้าถึง บุคลากรมีความรู้ด้านการผลิตยางเครพเป็นอย่างดี ยางก้อนถ้วยที่สมาชิกนำมาขายปราศจากสิ่งปลอมปน เช่น เปลือกไม้ หิน ดิน ทราย เป็นต้น ยางก้อนถ้วยที่รวบรวมสามารถนำไปผลิตยาง เครพได้คุณภาพดี กลุ่มมีความสามารถในการรวบรวมหรือจัดหายางก้อนถ้วยมาใช้ในการผลิตอย่างต่อเนื่อง กลุ่ม/สถาบันเกษตรกรสามารถหาแรงงานที่มีทักษะและความชำนาญการผลิตยางเครพได้ เนื่องจากกระบวนการผลิตยางเครพมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก สมาชิก/คณะกรรมการกลุ่มสามารถผลิตยางเครพได้ สมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบที่กลุ่มกำหนด ส่วนจุดอ่อน คือ การผลิตยางเครพไม่ได้มาตรฐานตามที่โรงงานต้องการทำให้ไม่มีอำนาจในการต่อรองราคา ผู้ซื้อไม่ให้การยอมรับและเชื่อมั่นทั้งกระบวนการซื้อขายและคุณภาพยาง ความสามารถในการระดมทุนจากสมาชิกน้อยเพื่อใช้เป็นทุนดำเนินการผลิตยางเครพน้อย กลุ่ม/สถาบันเกษตรกรขาดทักษะในการหาตลาดและการเข้าถึงตลาดของ ทำให้ช่องทางในการจำหน่ายยางเครพน้อย การเข้าถึงข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารด้านการผลิตและการตลาดยังมีข้อจำกัด การผลิตยางเครพไม่คุ้มค่าไม่ได้ช่วยให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น สมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นเมื่อกลุ่มมีปัญหาน้อย ส่วนโอกาสของกลุ่มคือ แนวโน้มเกษตรกรผลิตยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ทำให้โอกาสที่กลุ่มจะผลิตยางเครพที่มีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อเพิ่มมากขึ้นและให้ราคาสูงกว่าการรับซื้อยางแห้ง 100 % หน้าโรงงาน มีความสะดวกในการขนส่งผลผลิต มีโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มมากขึ้นทำให้กลุ่ม/สถาบันเกษตรกรมีความสะดวกในการขนส่งไปยังโรงงานยางแท่ง และถนนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในสภาพที่ดี และมีโอกาสได้รับเงินสนับสนุนเงินทุนจากสถาบันการเงินเพื่อพัฒนาการผลิต สำหรับอุปสรรคของกลุ่มคือความต้องการยางเครพของผู้ซื้อ (โรงงานยางแท่ง) มีแนวโน้มลดลง อันเนื่องจากผู้ซื้อต้องนำยางเครพที่ได้จากกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรเข้าสู่การผลิตเช่นเดียวกับยางแท่งเพื่อให้มั่นใจในกระบวนการผลิตยางแท่ง หน่วยงานภาครัฐไม่ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรยังอย่างจริงจัง และการสร้างเครือข่ายร่วมกันทั้งทางด้านการผลิตและการตลาดยางเครพจากกลุ่มเกษตรกรอื่นๆทำได้ยาก กลุ่ม/สถาบันเกษตรกรไม่สามารถรวมกลุ่มเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ในการสร้างอำนาจการต่อรองได้ จากการศึกษาสามารถกำหนดข้อเสนอแนะได้ดังนี้ แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ สถาบันเกษตรกรควรมีการรวมกลุ่มกันเพื่อการพัฒนาการผลิตยางเครพจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดี โดยให้ได้รับเงินทุนจากสถาบันการเงินที่มีดอกเบี้ยต่ำในการซื้อเครื่องจักร เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเพื่อให้ได้ยางเครพที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของโรงงานและเป็นการลดต้นทุนในการผลิต สถาบันเกษตรกรควรพัฒนาการผลิตยางเครพให้ได้มาตรฐานตามที่โรงงานต้องการ เนื่องจากกลุ่ม/สถาบันเกษตรกรความพร้อมด้านสถานที่ ที่ตั้งการผลิตและไฟฟ้า ประปา เข้าถึงคณะกรรมการมีความรู้ด้านการผลิตยางเครพเป็นอย่างดี และยางก้อนถ้วยที่ใช้ในการผลิตยางเครพที่สมาชิกนำมาขายปราศจากสิ่งปลอมปน เช่น เปลือกไม้ หิน ดิน ทราย เป็นต้น จึงทำให้ยางก้อนถ้วยที่รวบรวมสามารถนำไปผลิตยางเครพได้คุณภาพดี แนวโน้มเกษตรกรผลิตยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ทำให้โอกาสที่กลุ่มจะผลิตยางเครพที่มีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับของผู้ซื้อเพิ่มมากขึ้นและให้ราคาสูงกว่าการรับซื้อยางแห้ง 100 % หน้าโรงงาน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพการผลิตและการตลาดยางเครพของสถาบันเกษตรกร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
สถานภาพการผลิตและตลาดไหม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผลิตและการตลาดน้ำผึ้งในจังหวัดขอนแก่น การผลิต การตลาด และความต้องการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการตลาดกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออก การผลิตและการตลาดลิ้นจี่ของเกษตรกรใน 4 จังหวัดภาคเหนือ สภาพการผลิตและการตลาดพืชผักของเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต ศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดยางของสถาบันเกษตรกร การผลิตและการตลาดไข่ไก่ในประเทศไทย การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน โครงการวิจัยการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก