สืบค้นงานวิจัย
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการปุ๋ยมันสำปะหลังเฉพาะพื้นที่
สุกิจ รัตนศรีวงษ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการปุ๋ยมันสำปะหลังเฉพาะพื้นที่
ชื่อเรื่อง (EN): Technology transfer for site specification nutrient management on cassava production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุกิจ รัตนศรีวงษ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากความหลากหลายของสภาพพื้นที่และการจัดการแปลงปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร ในจังหวัดนครราชสีมา ที่มีพื้นที่ปลูกกว่า 2 ล้านไร่ ส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังมีความผันแปร มีผลผลิตเฉลี่ยเพียง 3.43 ตัน/ไร่ การพัฒนาการผลิตจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีเฉพาะพื้นที่ “สีคิ้วโมเดล” จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เป็นกระบวนการในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับผลผลิต และขยายผลสู่เกษตรกร ในปี 2554-2555 ได้ทำการสำรวจพื้นที่การผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรรายแปลงเพื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและหาแนวทางแก้ไขโดยนำผลงานวิจัยมาปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ ผลการดำเนินงานพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.7 ปลูกบนเนื้อดินร่วนปนทราย บนดินเหนียว และทรายปนดินร่วน ร้อย ละ 20.3 และ 15.0 ตามลำดับ ดินปลูกมีปริมาณธาตุอาหารหลักอยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยเฉพาะอินทรียวัตถุมีถึงร้อยละ 95.7 ส่วนฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ร้อยละ 61.2 และ 81.4 ตามลำดับ เกษตรกรนิยมปลูกมันสำปะหลังต้นฤดูฝน ช่วงเดือน เมษายน และพฤษภาคม (ร้อยละ 41.0 และ 26.5 ตามลำดับ) และพบว่าเกษตรกรร้อยละ 37.5 เลือกใช้พันธุ์ปลูกที่เหมาะสมกับพื้นที่ ขณะที่ร้อยละ 28.3 การเลือกใช้พันธุ์ปลูกยังไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ส่วนการจัดการปุ๋ยพบว่ามีเพียงร้อยละ 15.0 ปลูกมันสำปะหลังโดยไม่มีการใส่ปุ๋ย ขณะที่ร้อยละ 85.0 เลือกใช้สูตรปุ๋ยตามความพึงพอใจ อัตราการใช้ 4-100 กิโลกรัม ต่อไร่ และเกษตรกร ร้อยละ 74.4 เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังอายุ 10-12 เดือน ผลผลิตเฉลี่ย 4.28 ตันต่อไร่ ต้นทุนการผลิต อยู่ระหว่าง 2,047-6,770 บาทต่อไร่ จัดทำแปลงทดสอบการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยวิธี เกษตรกร จำนวน 59 แปลง พบว่าการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าวิธีเกษตรกรเฉลี่ย 353 กิโลกรัม ต่อไร่ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไร่ละ 1,214 บาท มีรายได้ต่อต้นทุนเฉลี่ย 1.57 ซึ่งสูงกว่าวิธีเกษตรกร เกษตรกรร้อย ละ 78.1 พึงพอใจวิธีการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำการขยายผลสู่เกษตรกรผ่านสหกรณ์การเกษตร โดยฝึกอบรม เจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรและเกษตรกร ให้มีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ดินด้วยชุดตรวจสอบดินภาคสนาม (Soil test kit) และการเลือกใช้ปุ๋ยให้ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกเวลา และถูกวิธี จำนวน 9 ครั้ง และมีผู้เข้าอบรมรวม 690 คน เป็นกระบวนการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไปยังเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยยกระดับผลผลิตมันสำปะหลังนำมาซึ่งรายได้ และผลตอบแทนให้แก่เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=17 46_57.pdf&id=1431&keeptrack=6
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการปุ๋ยมันสำปะหลังเฉพาะพื้นที่
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2557
เอกสารแนบ 1
อาหารจากมันสำปะหลัง การใช้แบบจำลองการผลิตมันสำปะหลังเพื่อประเมินความเหมาะสมของเทคโนโลยีเฉพาะพื้นที่ การพัฒนาศักยภาพการเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังภายใต้การจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกัน การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโครงการหมู่บ้านมันสำปะหลังพัฒนาในจังหวัดนครราชสีมา การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังผงกึ่งสำเร็จรูปจากมันสำปะหลังสายพันธุ์หวาน การใช้ระบบน้ำหยดร่วมกับการจัดการปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง การส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังโดยหมอดินอาสามีส่วนร่วม การใช้เทคโนโลยีในการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลสุขสำราญ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก