สืบค้นงานวิจัย
สัดส่วนกรดไขมัน n3:n6 ที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลาสวายโมงขนาดเล็ก
ดาราวรรณ ยุทธยงค์, จูอะดี พงศ์มณีรัตน์, สาวิตรี ศิลาเกษ, อัญชลี โค้วนฤมิตร, ดาราวรรณ ยุทธยงค์, จูอะดี พงศ์มณีรัตน์, สาวิตรี ศิลาเกษ, อัญชลี โค้วนฤมิตร - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: สัดส่วนกรดไขมัน n3:n6 ที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลาสวายโมงขนาดเล็ก
ชื่อเรื่อง (EN): Optimum Ratio of Dieting Fatty Acids n3:n6 for Thai panga (Pangasianodon hypohthalmus Sauvage, 1878 X P­angasius bocourti Sauvage, 1880) Fry
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สัดส่วนกรดไขมัน n3:n6 ที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของ ปลาสวายโมงขนาดเล็ก สาวิตรี ศิลาเกษ๑* ดาราวรรณ ยุทธยงค์๒ และจูอะดี พงศ์มณีรัตน์๓ ๑ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เขต 6 (ขอนแก่น) ๒กองวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์น้ำ ๓สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บทคัดย่อ การศึกษาสัดส่วนกรดไขมัน n3:n6 ที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลาสวายโมงขนาดเล็ก โดยใช้อาหารทดลอง 6 สูตร ที่มีสัดส่วนของกรดไขมัน n3:n6 เท่ากับ 0.18, 0.24, 0.31, 0.39, 0.49 และ 0.61 โดยใช้น้ำมันปลาและน้ำมันปาล์มเป็นแหล่งไขมัน อาหารปลาแต่ละสูตรมีหน่วยทดลอง 3 ซ้ำ และมีปลา 20 ตัวต่อหน่วยทดลอง น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ยของปลาทดลองคือ3.13-3.14 กรัม (p>0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลองจำนวน 84 วัน พบว่าปลาทดลองที่ได้รับอาหารมีสัดส่วนของกรดไขมัน n3:n6 ที่แตกต่างกัน มีค่าน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย ร้อยละน้ำหนักที่เพิ่ม น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวัน อาหารที่กิน อัตราแลกเนื้อ และอัตรารอด ที่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ค่าน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ยของปลาทดลองทั้ง 6 ชุดอยู่ในช่วง 68.1-72.55 กรัม, ร้อยละน้ำหนักที่เพิ่มมีค่าอยู่ในช่วง 2071.22-2214.6 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อวันมีค่าอยู่ในช่วง 0.77-0.83 กรัม/ตัว/วัน อาหารที่กินค่าอยู่ในช่วง 0.94-1.00 กรัม/ตัว/วัน, อัตราแลกเนื้อมีค่าอยู่ในช่วง 1.17-1.25และมีอัตรารอด 100 เปอร์เซ็นต์ในทุกชุดการทดลองการศึกษาทางเนื้อเยื่อวิทยาของตับและสำไส้ของปลาสวายโมงที่ได้รับอาหารมีสัดส่วนของกรดไขมัน n3:n6 ที่แตกต่างกันไม่พบความแตกต่างที่ชัดเจนของลักษณะเนื้อเยื่อตับและลำไส้ของปลาสวายโมงในแต่ละชุดการทดลอง และไม่พบความผิดปกติหรือการอักเสบในเนื้อเยื่อปลาจากชุดการทดลองใดๆ สรุปผลการศึกษาได้ว่าสัดส่วนของกรดไขมันn3:n6 ในการทดลองครั้งนี้ ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกปลาสวายโมง ดังนั้นทั้งน้ำมันปลาและน้ำมันปาล์มสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งไขมันในอาหารสำหรับลูกปลาสวายโมงได้ โดยที่ปลามีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: ปลาสวายโมง อาหาร กรดไขมัน n3:n6 *ผู้รับผิดชอบ :๒๒๒หมู่ ๑๓ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐โทร ๐ ๔๓๒๔ ๖๖๕๔ e-mail :beebee1112@yahoo.com
บทคัดย่อ (EN): Optimum Ratio of Dietary Fatty Acids n3:n6 for Thai Panga (PangasianodonhypophthalmusSauvage, 1878 ? P?angasiusbocourtiSauvage, 1880) Fry Sawitri Silakes1*Darawan Yuttayong2 and Juadee Pongmaneerat3 1Inland Aquaculture Research and Development, Regional Center 6 (KhonKaen) 2Feed Research and Development Division 3Office of the Permanent Secretary of Ministry of Agriculture and Cooperatives Investigation onoptimum dietary n-3 to n-6 ratio for Thai Panga (PangasianodonhypophthalmusSauvage, 1878 ?P?angasiusbocourtiSauvage, 1880) fry growth was performed. Mixture of fish oil and palm oil were used as the dietarylipid sources. Experimental diets 1-6 were produced with the n-3:n-6 ratio of 0.18, 0.24, 0.31, 0.39, 0.49 and 0.61, respectively. Each diet was fed twice daily to triplicate groups of 20 fish. The average initial body weight was 3.13-314g(p>0.05). After the end of experiment (84 days), the n3:n6 ratio in diet had no influence to average final weight, percent weight gain, average daily weight gain, feed intake, feed conversion rate and survival rate of fish (p>0.05), The average final weight of fish fed with 6 diets were in the range of 68.1-72.55 g, percent weight gain were in the range of 2,071.22-2,214.6%, average daily weight gain were in the range of 0.77-0.83 g/fish/day, feed intake were in the range of 0.94-1.00 g/fish/day, feed conversion rate were in the range of 1.17-1.25 and survival was 100%. By the examination of the histological tissue sections of the liver and intestinal of 6 experimented groups,there were no difference in histology of tissues among treatments and no abnormal or inflammation sign were found in any treatment. In conclusion, the dietary n3:n6 ratio in feed of this study had no influence to growth of young Thai panga fry. Therefore, either fish oil or palm oil can be used in feed for Thai panga fry without any different in growth. Key words: Thai panga fry, feed, fatty acid, n3:n6 ratio *Correspondent author: 222 Moo 13, NaiMuaeng, Muaeng, KhonKaen. 40000 Tel. 0 4324 6654 e-mail: beebee1112@yahoo.com
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สัดส่วนกรดไขมัน n3:n6 ที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลาสวายโมงขนาดเล็ก
กรมประมง
31 ธันวาคม 2556
กรมประมง
ชนิดและระดับคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลาสวายโมงขนาดเล็ก ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารปลาสวายโมงขนาดกลาง ระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารปลาสวายโมงขนาดเล็ก ผลของระดับน้ำมันปลาทะเลในอาหาร และช่วงระยะเวลาการให้อาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และส่วนประกอบของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ในเนื้อไก่พื้นเมือง สัดส่วนกรดไขมัน w6/w3 ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาโมงขนาดเล็ก การเสริมกรดไขมัน EPA และ DHA ในสาหร่ายเซลล์เดียวเข้มข้นจากบ่อเลี้ยงกุ้งเป็นอาหารปรับสภาพพ่อแม่พันธุ์หอยตะโกรมกรามขาว : ผลต่อองค์ประกอบของกรดไขมันในไข่และลูกหอยระยะวัยอ่อน การเจริญเติบโตและอัตราการรอด ระดับโปรตีนและพลังงานในอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาไหลนาขนาดเล็ก ผลของอาหารหยาบคุณภาพดีต่อคุณภาพเนื้อและสัดส่วนของกรดไขมันในเนื้อโค ผลของสัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้า-6 ต่อโอเมก้า-3 (n-6:n-3)ในอาหารต่อประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตและองค์ประกอบของไขมันในเนื้อแพะ ผลของการเสริมแหนเป็ด ในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิลแดง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก