สืบค้นงานวิจัย
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชพื้นเมือง
อุบล สมทรง, วรรณา กอวัฒนาวรานนท์, ไสว แจ่มแจ้ง, พรผกา โพธิ์พร้อม - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ชื่อเรื่อง: การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชพื้นเมือง
ชื่อเรื่อง (EN): Tissue culture of Native Plants
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชพื้นเมือง 2 ชนิด ได้แก่ มันเสาและส้มซ่า ตั้งแต่วิธีการฟอกฆ่าเชื้อ สูตรอาหารที่ใช้ชักนำยอด สูตรอาหารที่ใช้ชักนำราก และการย้ายออกปลูกในสภาพแปลงที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 -ตุลาคม 2554 ผลการวิจัยมีดังนี้ การฟอกฆ่าเชื้อปลายยอดมันเสาด้วยการใช้โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 1.5 เปอร์เซ็นต์ 20 นาที ให้ผลดีที่สุดโดยมีการปนเปื้อน 20.00% ส่วนการฟอกฆ่าเชื้อเมล็ดส้มซ่าด้วยเอทานอล 95% และโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 4 วิธีการ พบว่าการใช้โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 1.5 % 10 นาที ให้ผลดีที่สุดโดยมีการปนเปื้อน 27.50 % และการฟอกฆ่าเชื้อปลายยอดส้มซ่าจากธรรมชาติ พบว่าการใช้โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 1.0 และ 1.5 % 10 นาที ให้ผลดีที่สุดโดยมีการปนเปื้อน 30.00 % ในการศึกษาสูตรอาหารชักนำยอดมันเสา 8 สูตรซึ่งผสมผงถ่านกัมมันต์ 0.1 % พบว่าอาหารสูตร MS+BAP 1.5 มก./ลิตร +IAA 0.5 มก./ลิตร ให้จำนวนข้อมากที่สุด 4.38 ข้อ ในเวลา 6 สัปดาห์ และอาหารสูตร MS+BAP 1.0 มก./ลิตร ชักนำจำนวนยอดมากที่สุด 2.23 ยอด ในเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนอาหารสูตรที่ชักนำยอดส้มซ่า 14 สูตรในเวลา 8 สัปดาห์จากการเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นกล้า ได้แก่ ยอด ใบเลี้ยง ข้อใบเลี้ยง และส่วนของยอดจากต้นในธรรมชาติ พบว่าอาหารที่ชักนำยอดจากยอดต้นกล้าได้มากที่สุด 3.70 ยอด ได้แก่สูตร MS+BAP 1.0 มก./ลิตร และอาหารสูตร ?MS+BAP 2.0 มก./ลิตร ให้ความยาวยอดมากที่สุด 10.36 มิลลิเมตร อาหารสูตรที่ชักนำยอดจากใบเลี้ยงของต้นกล้ามีเพียง 8 สูตร โดยอาหารสูตร MS+BAP 0.5 มก./ลิตร ให้ยอดมากที่สุด 2.40 ยอด และอาหารสูตร ?MS ไม่ใส่สารควบคุมการเจริญเติบโต ให้ความยาวยอดมากที่สุด 5.10 มิลลิเมตร อาหารที่ชักนำยอดจากข้อใบเลี้ยงมากที่สุด 6.40 ยอด ได้แก่สูตร MS+BAP 1.0 มก./ลิตร+IAA 0.5 มก./ลิตร และอาหารสูตร MS+BAP 0.5 มก./ลิตร+IAA 0.5 มก./ลิตร ให้ความยาวยอดมากที่สุด 9.47 มิลลิเมตร ส่วนอาหารที่ชักนำยอดจากยอดส้มซ่าในธรรมชาติได้จำนวนยอดมากที่สุด 2.90 ยอด ได้แก่สูตร ?MS+BAP 0.5 มก./ลิตร+IAA 0.5 มก./ลิตร และอาหารสูตร MS+BAP 0.5 มก./ลิตร+IAA 0.5 มก./ลิตร ให้ความยาวยอดมากที่สุด 5.56 มิลลิเมตร การศึกษาสูตรอาหารที่ชักนำรากมันเสา 4 สูตรในเวลา 1 เดือน พบว่าอาหารทุกสูตรสามารถชักนำรากมันเสาได้ 100 % โดยอาหารสูตร MS+NAA 0.5 มก./ลิตร ให้จำนวนรากมากที่สุด 3.41 ราก และอาหารสูตร MS ไม่ใส่สารควบคุมการเจริญเติบโต ให้ความยาวรากมากที่สุด 5.62 เซนติเมตร ส่วนอาหารที่ชักนำรากส้มซ่า 6 สูตร พบเพียง 4 สูตรที่ชักนำรากได้ในเวลา 2 เดือน โดยให้จำนวนรากไม่แตกต่างกันทางสถิติ 1.00-1.45 ราก และอาหารสูตร ?MS ไม่ใส่สารควบคุมการเจริญเติบโตมีการออกรากมากที่สุด 91.68% และให้ความยาวรากมากที่สุด 3.02 เซนติเมตร ส่วนอาหารที่ทำให้ออกรากเร็วที่สุดในเวลา 23.33 วันได้แก่สูตร MS ไม่ใส่สาร NH4NO3 และ KNO3 สำหรับการย้ายปลูกในสภาพแปลงโดยใช้วัสดุปลูก 4 ชนิด ในเวลา 2 เดือน พบว่าวัสดุที่ให้เปอร์เซ็นต์การรอดตายของมันเสามากที่สุด 100 % ได้แก่การใช้ทรายอย่างเดียวและใช้ทรายผสมถ่านแกลบอัตรา 1:1 ส่วนวัสดุที่ให้เปอร์เซ็นต์การรอดตายของส้มซ่ามากที่สุด 100 % มี 3 ชนิด ได้แก่ การใช้ถ่านแกลบผสมทรายอัตราส่วน 1:1 ถ่านแกลบผสมดินอัตราส่วน 1:1 กาบมะพร้าวสับผสมถ่านแกลบและดินอัตราส่วน 1:1:1
บทคัดย่อ (EN): The two native plants, Dioscorea alata Linn. and Citrus medica L. var. linetta Risso, tissue culture were studied in terms of using surface disinfestation, shoots induction media, roots induction media and transplanting to the field. These experiments were conducted at Faculty of Agricultural Technology,Phetchaburi Rajabhat University during October 2009 to October 2011 The results showed as follow: The surface disinfestations of Dioscorea alata Linn. with 1.5% sodium hypochlorite for 20 minutes was the best condition which resulted in 20.00% contamination. Four surface disinfestation methods of the seed of Citrus medica L. var. linetta Risso were done by using 95% ethanol and sodium hypochlorite. It showed that 1.5% sodium hypochlorite for 10 minutes was the best method which result in 27.50% contamination. For five surface disinfestation methods of Citrus medica L. var. linetta Risso shoot tips, using 1% and 1.5% sodium hypochlorite for 10 minutes was the best methods which resulted in 30.00% contamination. All shoots induction media for Dioscorea alata Linn. were mixed with 0.1 % activated charcoal. Among 8 studied media , MS+BAP 1.5 mg/l + IAA 0.5 mg/l produced the highest number of nodes (4.38 nodes) in 6 weeks. After 8 weeks, MS+ BAP 1.0 mg/l induced the highest amount of shoot (2.23 shoots). Fourteen shoots induction media used for growing different parts of Citrus medica L. var. linetta Risso seedling including shoot, cotyledon, cotyledonary node and naturally-grown shoot were also studied within 8 weeks. MS+BAP 1.0 mg/l induced the highest shoot number (3.7 shoots) that had been grown from seedling shoot while ? MS+BAP 2.0 mg/l induced the longest shoot (10.36 mm.). Only 8 media formula could generate the shoot from the cotyledon. The yield of MS+BAP 0.5 mg/l was the highest shoot number (2.4 shoots) and ? MS without growth regulator showed the longest shoot (5.10 mm.). The media formula that offered the highest shoot number from the cotyledonary node was MS+BAP 1.0 mg/l + IAA 0.5 mg/l (6.40 shoots) and the formula that induced the longest shoot was MS+BAP 0.5 mg/l + IAA 0.5 mg/l (9.47 mm.). The media formula that offered the highest number of shoot from naturally-grown shoot was ? MS+BAP 0.5 mg/l + IAA 0.5 mg/l (2.9 shoots) , where as the longest shoot was MS+BAP 0.5 mg/l + IAA 0.5 mg/l (5.56 mm.). The 4 Dioscorea alata Linn. root induction media were studied within 1 month. The results showed that all media could induced the root formation. MS + NAA 0.5 mg/l produced the highest root numbers (3.41 roots) , while MS without growth regulator produced the longest of roots (5.62 cm.). Six formulas of Citrus medica L. var. linetta Risso root media were studied, but only 4 formulas found the root within 2 month, with non-significantly different at 1.00-1.45 roots. The ? MS without growth regulator showed the highest of root formation (91.68 %) and the longest of root (3.02 cm.). MS without NH4NO3 and KNO3 induced the root formation in 23.33 days. Regarding survival percentage measured 2 months after transferring the plants to the field, Dioscorea alata Linn. was found 100 % survive when planted in sand or in a mixture of sand and rice husk charcoal (1:1). Citrus medica L. var. linetta Risso was 100 % survive when planted in a mixture of sand and rice husk charcoal (1:1), soil and rice husk charcoal (1:1) or coconut bract and soil and rice husk charcoal (1:1:1).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชพื้นเมือง
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
30 กันยายน 2552
ศึกษาสูตรอาหารและส่วนของพืชในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อยางพารา การผลิตเมล็ดเทียมของหญ้าหวานโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อกิ่งพันธุเบญจมาศที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดลำพูน (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ปี 2547 โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์พืชโดยใช้เทคโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน การขยายพันธุ์สับปะรดประดับโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพาะเลี้ยงกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในไบโอรีแอกเตอร์แบบจมชั่วคราว(TIB) โครงการวิจัยการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเจริญและพัฒนาของสปอร์เฟิร์นมหาสดำโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ศึกษาการขยายพันธุ์ผักย่านางด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก