สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลเขื่อน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
บุญมี หมื่นไธสง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลเขื่อน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุญมี หมื่นไธสง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: จากการศึกษาสภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลเขื่อน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 120 ราย ที่เป็นเพศชาย และเป็นเพศหญิง ที่มีจำนวนใกล้เคียงกัน มีอายุเฉลี่ย 50.76 ซึ่งส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา พบว่าเกษตรกรที่ทำการศึกษาทุกรายทำนา รองลงมาคือ เลี้ยงสัตว์ และทำไร่ และอาชีพนอกภาคเกษตรคือรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.35 ราย แยกเป็นแรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2.77 คน เกษตรกรที่ทำการศึกษาเป็นสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ มากกว่า 1 กลุ่ม เกษตรกรมีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 15.53 ไร่ มีรายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 49,772 และมีรายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 8,897.20 บาท รวมเป็นรายได้รวมทั้งหมดเฉลี่ย 57,738.67 บาท เกษตรกรทุกรายใช้เงินทุนของตนเอง รองลงมาคือใช้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ญาติพี่น้อง และจากสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่มีรถไถนาเดินตามและเครื่องสูบน้ำ เป็นเครื่องจักรกลทุ่นแรงในการทำนา สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรมีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 12.91 ปี แหล่งน้ำที่เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ในการทำนาปี คือน้ำฝนในการทำนาปี และอาศัยน้ำชลประทานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เกษตรกรส่วนมากมีที่นาเป็นที่ลุ่ม และเกษตรกรเกือบทั้งหมดมีที่นาเป็นของตนเอง โดยมีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 15.18 ไร่ ส่วนใหญ่ดินมีคุณภาพระดับปานกลาง เกษตรกรเกือบทั้งหมดไม่เคยมีการปลูกพืชตระกูลถั่วในการปรับปรุง พันธุ์ข้าวนาปีที่เกษตรกรใช้ปลูก พบว่าเกษตรกรประมาณ 2/3 ใช้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ รองลงมาคือพันธุ์ กข. 6 ซึ่งช่วงเวลาที่เกษตรกรทำนา พบว่าเกษตรกรปลูกข้าวในช่วงเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม แหล่งพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้คือพันธุ์ที่เก็บไว้เอง รองลงมาคือ ซื้อจากเพื่อนบ้าน และจากทางราชการคือศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชหรือสถานีทดลองข้าว เกษตรกรทุกรายทำนาโดยการทำนาหว่านน้ำตม ซึ่งเกษตรกรให้เหตุผลว่าเป็นการลดต้นทุนค่าแรงงานลงได้มากกว่าการปลูกโดยวิธีการปักดำ โดยเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 14.74 กก./ไร่ เกษตรกรมีการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นเวลาติดต่อกันเฉลี่ย ประมาณ 3 ครั้ง จำนวนแรงงานที่ใช้ในการทำนา พบว่าเกษตรกรใช้เเรงงานในการทำนาเฉลี่ยประมาณ 4 คน โดยเกษตรกรต้องจ้างแรงงานในการทำนาเฉลี่ยประมาณ 4 คน เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนา รองลงมาคือ ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกัน ปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรใช้คือปุ๋ยเคมีสูตร 16-8-8 รองลงมาคือสูตร 16-20-0 , 16-16-8 และ 46-0-0 อัตราปุ๋ยอินทรีย์ที่เกษตรกรใช้ เฉลี่ย 27.8 กก./ไร่ สำหรับ อัตราปุ๋ยเคมีที่เกษตรกรใช้เฉลี่ย 26.61 กก./ไร่ โดย พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมี 2 – 3 ครั้ง การป้องกันกำจัดศัตรูพืช พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่มีการสำรวจแมลงศัตรูข้าว แมลงศัตรูข้าวที่พบมากและทำความเสียหายต่อข้าว พบว่าเป็นหนูนา และหนอนกอ สำหรับโรคระบาดที่ทำความเสียต่อข้าว พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่พบข้าวเป็นโรคไหม้รองลงมาคือโรคโรคกาบใบเน่า โดยเกษตรกรเกือบทั้งหมดใช้สารเคมีในการกำจัดโรคแมลง สำหรับการป้องกันกำจัดวัชพืช พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช และใช้ทั้งแรงคนและสารเคมีร่วมกัน เกษตรกรทุกรายมีการระบายน้ำออกจากแปลงนาก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวตามคำแนะนำ เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง เกษตรกรทุกรายเก็บเกี่ยวข้าวโดยจ้างรถเกี่ยวนวดข้าว ในอัตราไร่ละ 350 บาท โดยเกษตรกรได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 476.92 กก./ไร่ เกษตรกรขายข้าวเปลือกได้เฉลี่ย กก.ละ 8.64 บาท การจัดการผลผลิตของเกษตรกรพบว่าเกษตรกรจะเก็บผลผลิตไว้ส่วนหนึ่งและแบ่งขายส่วนหนึ่ง รองลงมาคือขายทันทีหลังเก็บเกี่ยว และนำไปตากเก็บไว้รอราคา เกษตรกรทุกรายให้ข้อมูลว่าทำนาแล้วได้กำไร ปัญหาในการผลิตข้าวของเกษตรกร พบว่าในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาในระดับมาก โดยประเด็นที่เป็นปัญหาระดับมาก ได้แก่ มีแมลงศัตรูข้าวทำลาย โรคระบาดข้าว สัตว์ศัตรูข้าว ขาดความรู้เรื่องสารกำจัดวัชพืช หาซื้อพันธุ์ที่ต้องการยาก มีวัชพืชมาก ปุ๋ยเคมีราคาแพง ปุ๋ยอินทรีย์ราคาแพง ขาดความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ย และ ขาดเงินทุนซื้อปุ๋ย ข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้เกษตรกรในเรื่องการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าว การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช การเพิ่มผลผลิตโดยใช้ปุ๋ย การรวมกลุ่มจัดหาปัจจัยการผลิตที่จำเป็นได้แก่พันธุ์ และปุ๋ย เพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญในการผลิตข้าวของเกษตรกร ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินในนาเนื่องจากมีเกษตรกรน้อยมากที่เคยปลูกพืชตระกูลถั่วในการปรับปรุงดิน ควรอบรมให้ความรู้เกษตรกรในเรื่องการทำนาแผนใหม่ และการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง และเกษตรกรควรมีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวทุก 3 ปี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลเขื่อน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
กรมส่งเสริมการเกษตร
2551
สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปี ของเกษตรกร ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สภาพการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรตำบลเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตกกของเกษตรกร ตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตและการตลาดข้าวนาปีของเกษตรกรกิ่งอำเภอ ลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก