สืบค้นงานวิจัย
การประเมินความเสี่ยงของสารมลพิษทางทะเล ในพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ฉลวย มุสิกะ - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: การประเมินความเสี่ยงของสารมลพิษทางทะเล ในพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ชื่อเรื่อง (EN): Risk Assessment of Marine Pollutants in Industrial Areas of the Eastern Coast of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฉลวย มุสิกะ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำทะเล และดินตะกอน ในฤดูแล้ง (มีนาคม) และฤดูฝน (กันยายน) บริเวณชายฝั่งทะเลนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ใน 23 สถานี ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2551 รวม 4 ครั้ง เพื่อตรวจวัดปริมาณสารอาหาร (NH3-N, NO2-N NO-N, PO4-P และ SiO2-Si) และโลหะหนัก (Hg, Cd, Pb, Cu, Zn, Ni, Fe และ Mn) รวมทั้งคุณภาพน้ำและดินตะกอนเบื้องต้นบางประการ ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตราฐานของประเทศไทย พบว่าน้ำทะเล และดินตะกอนส่วนใหญ่มีคุณภาพดี การประเมินความเสี่ยงของสารมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล พบว่า ระดับความเสี่ยงเฉลี่ยของสารแต่ละชนิดในน้ำทะเล และดินตะกอน ยังอยู่ในระดับต่ำและใกล้เคียงกันระหว่างนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และระหว่าง 2 ฤดู โดยโอกาสเสี่ยงในน้ำทะเลบริเวณนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง พบ pH > DO > PO4-P > Fe > Cu > NO3-N > Mn > unionized ammonia > Hg >Pb = Zn > Cd และในดินตะกอน Pb > Cu > Mn > Hg > Ni > Zn > Fe > Cd ส่วนบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ในน้ำทะเล pH > DO > PO4-P > Fe > No3-N = Cu > unionized ammonia > Hg > Pb = Mn > Zn > Cd และในดินตะกอน Pb > Zn > Cu = Hg > Ni > Fe> Mn > Cd อย่างไรก็ตามในบางสถานีก็มีความเสี่ยงสูงในการที่จะได้รับผลกระทบจากสารเหล่านี้ โดยเฉพาะ ฟอสเฟส ไนเตรท แอมโมเนีย เหล็ก และทองแดง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-01-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-12-31
เอกสารแนบ: https://dspace.lib.buu.ac.th/handle/1234567890/375
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินความเสี่ยงของสารมลพิษทางทะเล ในพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
ฉลวย มุสิกะ
มหาวิทยาลัยบูรพา
31 ธันวาคม 2552
เอกสารแนบ 1
การวิจัยเชิงนโยบายเพื่อการประหยัดพลังงานและคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับประเทศไทยและภาคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอาหารไทย ปลอดภัยเชื่อถือได้ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี โครงการศึกษาสถานภาพการใช้เทคโนโลยีแก็สซิฟิเคชันสำหรับ ผลิตความร้อนและไฟฟ้าในระดับอุตสาหกรรม ชุมชน หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดเล็กของประเทศไทย คุณภาพสิ่งแวดล้อมในถิ่นอาศัยของฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย การติดตามการสะสมของโลหะหนักในฟองน้ำทะเล บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของไทย การคัดแยกและลักษณะสมบัติของแบคทีเรียย่อยสลายปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนที่ทนโลหะหนักจากฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และการพัฒนาแบคทีเรียพร้อมใช้สำหรับบำบัดสิ่งแวดล้อม สาร 3-MCPD กับซอสถั่วเหลือง ประเมินผลการดำเนินงานสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง การกระจายและแหล่งที่มาของสารอินทรีย์ในดินตะกอนบริเวณชายฝั่งทะเล เทศบาลเมืองชลบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก