สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาสารสกัดและสารออกฤทธิ์จากฟ้าทะลายโจรที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำลายกระดูกอ่อนในโรคข้อเสื่อม
รศ.ดร.ศิริวรรณ องค์ไชย - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาสารสกัดและสารออกฤทธิ์จากฟ้าทะลายโจรที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำลายกระดูกอ่อนในโรคข้อเสื่อม
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of extracts and active compounds of Andrographis paniculata for inhibition of cartilage degeneration in degenerative joint diseases
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รศ.ดร.ศิริวรรณ องค์ไชย
คำสำคัญ: ฟ้าทะลายโจร ฤทธิ์แอนโดรกราโฟไลด์ การสลายกระดูกอ่อน โรคข้อเสื่อม
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: " สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การวิจัยและพัฒนาสารสกัดและสารออกฤทธิ์จากฟ้าทะลายโจรที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำลายกระดูกอ่อนในโรคข้อเสื่อม” แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดและสารออกฤทธิ์จากฟ้าทะลายโจรต้านการเสื่อมทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อที่กระตุ้นโดย IL-1b ซึ่งเป็น catabolic proinflammatory cytokine สำคัญในการก่อโรคข้อเสื่อม (OA) และข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) จากการศึกษาวิจัย พบว่า สารสกัดฟ้าทะลายโจร 5 แบบถูกเตรียมขึ้นโดยการสกัดเป็นลำดับจาก 4 ตัวทำละลายอินทรีย์คือ Haxane, Ethyleacetate, Acetone และ Ethanol รวมทั้งการสกัดด้วย 80% เอทานอล (80% EtOH) พบว่าสารสกัดแบบ 80% EtOH ให้ %yield (18.4) และ ปริมาณ andrographolide (200 ug/mg solid) สูงสุดเมื่อเทียบกับสารสกัดแบบอื่น เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพต้านการเสื่อมทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อที่กระตุ้นโดย IL-1b โดยวิธี cartilage explant model พบว่า สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรทั้ง 5 แบบมีฤทธิ์ต้านการสลายกระดูกอ่อน แต่พบว่าสารสกัด 80% EtOH และสารสกัดจากชั้นเอทิลแอซิเตตให้ผลดีที่สุด ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านการเสื่อมทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อของสารสำคัญสองชนิดจากฟ้าทะลายโจร คือ androgra-pholide และ neoandrographolide โดยวิธีการเดียวกัน พบว่าสารทั้งสองชนิดสามารถต้านการสลายกระดูกอ่อนอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการทดลองยังสามารถยืนยันได้จากการศึกษาในระดับเซลล์ ซึ่งพบว่าสารสกัดและสารสำคัญจากฟ้าทะลายโจรทั้งสองชนิดสามารถยับยั้งการแสดงออกในระดับยีนของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายกระดูกอ่อนในโรคข้อเสื่อม โดยเฉพาะเอนไซม์ MMP-13 ซึ่งถือเป็นเอนไซม์สำคัญที่สุดของโรคข้อเสื่อม พร้อมทั้งยังสามารถยับยั้งการสังเคราะห์ PGE2 ได้อีกด้วย เมื่อนำสารสกัด 80% EtOH (0.3 ug/ml) ผสมกับกลูโคซามีนซัลเฟต (2 mM) หรือสารสำคัญจากขิง คือ vanillyl acetone หรืออีกชื่อหนึ่งคือ zingerone (10 mM) พบว่าสูตรผสมทั้งสองเสริมฤทธิ์สารสกัดฟ้าทะลายโจรต้านการสลายกระดูกอ่อนโดย cartilage explant model และยับยั้งการแสดงออกของเอนไซม์ MMP-2 และ MMP-13 ในเซลล์เชื้อสายเซลล์สร้างเส้นใยไขข้อ SW982 ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัย ได้เปิดเผยฤทธิ์ทางชีวภาพของฟ้าทะลายโจร ซึ่งสามารถใช้เป็นยารับประทานโรคข้อเสื่อมได้ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลของฟ้าทะลายโจร หรือการเตรียมสูตรฟ้าทะลายโจรที่ช่วยการกระตุ้นการสร้างสารชีวโมเลกุลของเนื้อกระดูกอ่อน จึงจะทำให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ และสร้างความมั่นใจที่จะพัฒนาต่อยอดในเชิงพานิชย์ต่อไป"
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-03-07
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-03-06
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP ลิขสิทธิ์
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ โครงการการวิจัยและพัฒนาสารสกัดและสารออกฤทธิ์จากฟ้าทะลายโจรที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำลายกระดูกอ่อนในโรคข้อเสื่อม
เลขที่คำขอ 296083
วันที่ยื่นคำขอ 2013-08-26 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน 2016-01-21 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน ส.9988
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาสารสกัดและสารออกฤทธิ์จากฟ้าทะลายโจรที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำลายกระดูกอ่อนในโรคข้อเสื่อม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6 มีนาคม 2555
วิจัยและพัฒนาการปลูกระบบ Aeroporic การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดใบกฤษณาเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ การวิจัยและพัฒนาสารสกัดจากว่านอึ่งเพื่อใช้ประโยชน์ในอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ระยะ ๔ ผลของสารสกัดหยาบจากฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) ต่อองค์ประกอบเลือด ระบบภูมิคุ้มกันและความต้านทานโรคในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ฤทธิ์ของสารสกัดจากสาหร่ายทะเลบางชนิดในการยับยั้งเชื้อโนดะไวรัสที่ก่อโรคในปลากะรังดอกแดง ผลของสารสกัดบริสุทธิ์จากสมุนไพรต่อการยับยั้นการเจริญของเชื้อ Pythium insidiosum (คปก. ต่อยอด) ผลของการเสริมฟ้าทะลายโจรผงต่อผลผลิตและคุณภาพไข่ในนกกระทาญี่ปุ่น ผลของสารสกัดจากรากกระพังโหมต่อการเกิดเจลซูริมิจากปลาชะโด ผลของการใช้วัสดุคลุมแปลงปลูกที่แตกต่างกันที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของฟ้าทะลายโจร การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเห็ดต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพัฒนาของกระดูกในเซลล์เพาะเลี้ยงกระดูกระยะตัวอ่อนของมนุษย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก