สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์มันเทศประกอบการรับรองพันธุ์
รักชัย คุรุบรรเจิดจิต - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์มันเทศประกอบการรับรองพันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Yield Trial of Sweet potato for Certified
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รักชัย คุรุบรรเจิดจิต
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เพื่อให้ได้มันเทศพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมสำหรับการบริโภค ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย จึงได้ทำการปรับปรุงพันธุ์มันเทศ โดยการผสมพันธุ์ คัดเลือก เปรียบเทียบ และทดสอบพันธุ์ ได้มันเทศที่ดีเด่น 3 สายพันธุ์ ที่มีผลผลิตสูง คุณภาพดี ผู้บริโภคยอมรับสูง โดยนำไปทดสอบพันธุ์กับพันธุ์ท้องถิ่นในไร่เกษตรกรที่จังหวัดสุโขทัย พิจิตร และเพชรบูรณ์ จังหวัดละ 2 แห่ง ในด้านการเจริญเติบโต การปรับตัวกับสภาพแวดล้อม ผลผลิต คุณภาพของผลผลิต การยอมรับของเกษตรกรและผู้บริโภคในปี 2558 ได้พันธุ์มันเทศที่เหมาะสม 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ สท.03 ที่มีผลผลิตเฉลี่ย 1,619 กิโลกรัมต่อไร่ เจริญเติบโตเร็ว คลุมวัชพืชได้ดี หัวสีขาว สีเนื้อเมื่อสุกสีเหลือง เนื้อเหนียวนุ่ม รสชาติดี ผู้บริโภคยอมรับสูง พันธุ์ สท.18 มีผลผลิตเฉลี่ย 1,727 กิโลกรัมต่อไร่ เจริญเติบโตดี หัวสีแดง สีเนื้อเมื่อสุกสีเหลืองเข้ม เนื้อเหนียวละเอียด รสหวาน รสชาติดี มีคะแนนความนิยมของผู้บริโภคสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ ขณะที่พันธุ์ท้องถิ่นมีผลผลิตเฉลี่ย 1,296 กิโลกรัมต่อไร่ พันธุ์คัดให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น 25 – 33 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงได้พันธุ์มันเทศพันธุ์ สท.03 และ สท.18 เพื่อเสนอการรับรองเป็นพันธุ์แนะนำ สำหรับแนะนำให้เกษตรกรปลูกต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์มันเทศประกอบการรับรองพันธุ์
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
ปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมันเทศพันธุ์ต่าง ๆ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ผักกาดขาวปลี การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูโดยวิธีผสมผสานเพื่อควบคุมการลงทำลาย ของด้วงงวงมันเทศ (Cylas formicarius (F.) ในมันเทศที่มีศักยภาพในการผลิตไบโอเอทานอลทั้ง 5 สายพันธุ์ การสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมของสับปะรดโดยการชักนำให้ เกิดการกลายพันธุ์เพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ โครงการปรับปรุงพันธุ์สุกรลูกผสม (พันธุ์พื้นเมือง) เพื่อให้เหมาะสมกับการเลี้ยงบนพื้นที่สูง การคัดเลือก ทดสอบ และส่งมอบพันธุ์กล้วยจากโครงการปรับปรุงพันธุ์นานาชาติสู่เกษตรกรไทย โครงการปรับปรุงพันธุ์ทานตะวัน โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนในภาคใต้: การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นเมืองให้บริสุทธิ์ โครงการปรับปรุงพันธุ์ไก่กระดูกดำพันธุ์แท้รุ่นที่ 2 ที่มีสมรรถภาพการผลิตที่ดีสำหรับพื้นที่ 3 ระดับความสูง การคัดเลือกและการศึกษาพันธุ์ขั้นต้นของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุงที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก