สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการเมล็ดพันธุ์และมาตรฐานพันธุ์อัญชลี ประเสริฐศักดิ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Production Development of Rice Seed Produced by Farmers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการเมล็ดพันธุ์และมาตรฐานพันธุ์อัญชลี ประเสริฐศักดิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ปีที่ 1) Production Development of Rice Seed Produced by Farmers บทคัดย่อ การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเป็นปัญหาใหญ่ในการผลิตข้าวของประเทศไทย พื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศเป็นพื้นที่ทำนาปีประมาณ 57.5 ล้านไร่ และนาปรังราว 9 ล้านไร่ รวม 66.5 ล้านไร่นั้น หากคำนวณความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวจะพบว่ามีสูงถึงประมาณ 1 ล้านตันต่อปี นักวิชาการประเมินว่าแม้จะมีเกษตรกรส่วนหนึ่งเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง แต่ส่วนที่ต้องซื้อหาแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวก็ยังคงสูงถึง 571,000 ตัน ในส่วนของภาครัฐที่มีผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรนั้น มีศักยภาพเพียงประมาณปีละ 100,000 ตัน ตัวเลขความขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวจึงอยู่ที่ 4-5 แสนตันต่อปี แต่ที่ผ่านมาการผลิตข้าวของไทยยังดำเนินอยู่ได้ก็เพราะในท้องตลาดมีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตโดยเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร หรือผู้ประกอบการ ซึ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ป้อนสู่ตลาดการค้า ส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐาน จากปัญหาดังกล่าวผลักดันให้กรมการข้าวกำหนดยุทธศาสตร์เมล็ดพันธุ์ข้าว โดยวางแผนขยายปริมาณการผลิตด้วยการสนับสนุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในภาคเกษตรกร ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชน สหกรณ์การเกษตร และผู้ประกอบการอิสระ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องนำผู้ประกอบการเหล่านี้เข้าสู่ระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ถูกต้องและได้มาตรฐานตามเกณฑ์กำหนด แผนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาด้านเมล็ดพันธุ์ข้าว และถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตและควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับผู้ประกอบการและเกษตรกรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ตลอดจนพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี พื้นที่ทำการวิจัยใน 2 ภาค ๆ ละ 2 จังหวัด คือภาคกลาง ประกอบด้วยจังหวัดสุพรรณบุรี และปทุมธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สุรินทร์ และสกลนคร จำนวนไม่น้อยกว่า 100 รายในแต่ละจังหวัด อย่างไรก็ตามเมื่อดำเนินการวิจัยได้ระยะหนึ่งก็ได้เพิ่มการสำรวจปัญหาด้านเมล็ดพันธุ์ข้าว อีกภาคละ 1 จังหวัด คือ ชัยนาท และร้อยเอ็ด จากผลการสำรวจและสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว พบว่าเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรีค่อนข้างมีประสบการณ์ผลิตเมล็ดพันธุ์ยาวนานกว่าเกษตรกรในจังหวัดปทุมธานีและชัยนาท ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรในจังหวัดสกลนครโดยเฉพาะเกษตรกรในสังกัดศูนย์ข้าวชุมชนที่เคยผลิตเมล็ดพันธุ์ให้แก่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวมาก่อนจะมีประสบการณ์การผลิตเมล็ดพันธุ์ค่อนข้างมาก แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ตั้งต้นของเกษตรกรส่วนใหญ่ได้จากผู้ประกอบการที่ตนสังกัด มีเกษตรกรส่วนน้อย (เพียงประมาณร้อยละ 10) ที่ได้เมล็ดพันธุ์ตั้งต้นจากศูนย์วิจัยข้าวหรือศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ตระหนักดีถึงการใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพสูงและมีความต้องการอยากได้เมล็ดพันธุ์หลักจากศูนย์วิจัยข้าว ขณะเดียวกันก็ยังมีเกษตรกรที่ใช้เมล็ดพันธุ์ตั้งต้นที่เป็นเมล็ดพันธุ์เก็บเอง โดยเฉพาะเกษตรกรในศูนย์ข้าวชุมชนบางแห่ง สำหรับพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์พบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างภาคเป็นอย่างมาก ภาคกลางมีการปลูกผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหลากหลายพันธุ์ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพันธุ์ข้าวที่ผลิตเมล็ดพันธุ์อยู่ 3 พันธุ์ คือข้าวเจ้า 2 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 กับข้าวเหนียว กข6 ภาคกลางแม้จะมีการผลิตนับ 10 พันธุ์ แต่พันธุ์ที่ผลิตปริมาณมากมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ กข31 กข47 และ กข41 ในด้านวิธีการทำนาเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ พบว่าส่วนใหญ่ทำนาหว่านทั้ง 2 ภาค ภาคกลางมีการทำนาหว่าน/นาดำ ร้อยละ 78/22 ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการทำนาหว่าน/นาดำ ร้อยละ 69/31 ส่วนการปฏิบัติในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์นั้นแม้ว่าเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่จะมีการตรวจแปลงและตัดพันธุ์ปน แต่เกษตรกรที่ไม่มีการตัดพันธุ์ปนเลยก็ยังมีอยู่ โดยเฉพาะเกษตรกรในกลุ่มของศูนย์ข้าวชุมชน ในภาคกลางไม่ตัดพันธุ์ปน 1.6-5.6% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.0-3.7% ทั้งที่จริงแล้วไม่ควรมีเกษตรกรที่ละเลยการตัดพันธุ์ปน ปัญหาด้านการผลิตที่พบอีกประการหนึ่งก็คือ เกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ข้าวชุมชนจำนวนมากไม่สามารถขายเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ให้กับศูนย์ข้าวชุมชน บางทีต้องขายให้ผู้ประกอบการอื่นหรือเก็บไว้เอง ทั้งนี้โดยภาพรวมเกษตรกรสังกัดศูนย์ข้าวชุมชนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่พบปัญหามากกว่าเกษตรกรกลุ่มของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มผู้ประกอบการอิสระไม่ว่าจะเป็นด้านประสบการณ์ ด้านการปฏิบัติในแปลง ด้านการจัดการและการดำเนินธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ดังนั้นหากต้องการขยายการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวกับกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชน ภาครัฐควรให้การสนับสนุนศูนย์ข้าวชุมชนให้เหมาะสมเพื่อให้มีศักยภาพพอในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ส่วนผลการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการนั้น ในภาพรวมพบว่า ภาคกลางมีผู้ประกอบการอิสระดำเนินธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวนมาก ในขณะที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสำรวจไม่พบผู้ประกอบการอิสระที่ผลิตหรือรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าว มีเพียงศูนย์ข้าวชุมชน และสหกรณ์การเกษตร ผู้ประกอบการบางรายบางแห่ง ซื้อเมล็ดพันธุ์ชั้นเมล็ดพันธุ์ขยาย จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวไปจำหน่ายให้เกษตรกรโดยตรง ขณะที่ผู้ประกอบการมากรายขาดแคลนเมล็ดตั้งต้นที่มีคุณภาพดี ไม่สามารถหาซื้อเมล็ดพันธุ์ขยายเพื่อนำไปเป็นเมล็ดพันธุ์ตั้งต้นได้ ในด้านการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีการสุ่มตัวอย่างไม่ถูกวิธี มีการตรวจสอบข้าววัชพืชและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ไม่ถูกวิธีหรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ผู้ประกอบการศูนย์ข้าวชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีการคัดแยกทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ นับว่าเป็นกลุ่มที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนมากกว่ากลุ่มอื่นหากต้องการขยายการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไปยังกลุ่มนี้ ในงานวิจัยนี้นอกจากจะได้สะท้อนปัญหาที่สำรวจพบแล้วยังได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งได้ประเมินความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของแต่ละจังหวัดไว้ด้วย ในส่วนของการอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตและควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งได้ดำเนินการใน 4 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี ปทุมธานี สุรินทร์ และสกลนคร โดยแต่ละจังหวัดมีเกษตรกรและผู้ประกอบการเข้าร่วมการอบรมมากกว่า 100 ราย ซึ่งได้ทำการสรุปและประเมินผลการอบรมไว้ด้วยแล้ว ด้านการพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกรเชิงบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มความความมั่นใจในเมล็ดพันธุ์แก่ผู้ใช้ เป็นรูปแบบที่มีการผลิตที่ผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรของแต่ละพื้นที่ มีการตรวจรับรองโดยการตรวจประเมินตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ และมีการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ ตลอดจนมีการประชาสัมพันธ์เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้จากโครงการ จากการดำเนินงานในฤดูที่ 1 คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรทั้ง 4 จังหวัดมีองค์ประกอบหลักผ่านมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ผลผลิตที่ผ่านมาตรฐานทุกองค์ประกอบ คิดเป็นร้อยละ 51.63, 54.75, 62.46 และ 100 ของผลผลิตทั้งหมด ที่จังหวัดปทุมธานี สุพรรณบุรี สกลนครและสุรินทร์ ตามลำดับ สาเหตุที่ไม่ผ่านมาตรฐานเนื่องจาก มีสิ่งเจือปนสูงเกินมาตรฐาน (เกิน 2%) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สามารถปรับปรุงได้ โดยแนะนำให้เกษตรกรทำความสะอาดใหม่ก่อนบรรจุถุง และเพิ่มความเข้มงวดในการทำความสะอาดให้มากขึ้น ผลจากการทำประชาสัมพันธ์แหล่งผลิตตามโครงการ เพื่อเพิ่มโอกาสการจำหน่ายและกระจายเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้จากโครงการ จำนวน 102,528 กก. กลุ่มเกษตรกรสามารถกระจายเมล็ดพันธุ์ได้หมดไม่มียอดคงเหลือ ผลผลิตที่ได้นี้มีการจำหน่ายให้แก่เกษตรกรภายในกลุ่มและชุมชนของตนเอง จำหน่ายให้ศูนย์ข้าวชุมชนในบริเวณใกล้เคียง เอกชน และเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อไป จำนวน 39,504 26,288 22,858 และ 13,878 กิโลกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 38.53 25.64 22.29 13.54 ตามลำดับ เกษตรกรผู้ผลิต มีรายได้จากการผลิตสูงกว่าการจำหน่ายผลผลิตเข้าสู่การแปรรูปตามโครงการรับจำนำของรัฐบาล ที่ตั้งราคารับจำนำข้าวขาวทั่วไป (5%) ราคากิโลกรัมละ 15.00 บาท ส่วนข้าวหอมมะลิ ราคากิโลกรัมละ 20 บาท โดยเกษตรกรสามารถจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ในราคา กก.ละ 22.00 บาท และ 25.00 บาท สำหรับสำหรับข้าวขาวทั่วไปและ ข้าวหอมมะลิ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามรูปแบบการผลิตที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ จะได้มีการทำประชาคมร่วมกับเกษตรกรและปรับให้เหมาะสมต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Shortage of good quality seed is a serious problem in rice production of Thailand. From the data available, planted area of rice each year was 66.5 million rai (57.5 million rai in main season plus 9 million rai in dry season) and about one million of rice seed is calculated as a total requirement each year. Although, saved seed by a number of farmers was taken into account, 571,000 tons of rice seed is still needed by farmers and should be available in the market. For this figure, government sectors can only provide about 100,000 tons left about 400,000 - 500,000 tons of shortage each year. So far rice production in Thailand has not been pulled down by seed shortage because private sectors such as farmers, agri-businessmans, farmer organizations and agricultural cooperatives produce rice seed filling into the market to meet the demand. However, a great percentage of this seed (about 70%) was found to be illegal due to its low quality based on the standard set forth in seed legislation of Thailand. These all problems mentioned above forced the Rice Department to set up a strategy for rice seed production aiming at increasing rice seed production by farmer sectors including community rice seed center, agricultural cooperative and private seed producer. To introduce these organizations or private sectors into high quality seed production system, the problems existed in nowaday rice seed production by these sectors should be surveyed and also at the same time, knowledge in Seed Technology of rice should be transferred to the seed producers to help increase both quality and quantity of rice seed to meet the demand and the quality standard according to seed laws including developing rice seed production by farmers. The objective of this research program, therefore was (1) to survey the problems in rice seed production and to transfer the knowledge about seed production and quality control of rice seed to farmers and seed producers, and (2) to develop rice seed production by farmer participatory. The period of studies were totally 3 years. The survey on rice seed production problem and knowledge transferring to stakeholders project was conducted for 1 year and the farmer participation for rice seed production development project was conducted for 2 years The sites studied were 2 provinces in each region of the central part and the Northeast, i.e. Suphan Buri, Pathum Thani, Surin and Sakon Nakhon, respectively. Two activities were carried out. First was the survey on problems in rice seed production by questionaires, farm and processing plant visits and data collections on cultural practices, farm management, seed receiving, processing and testing. Second was the knowledge transfer on production and quality control of rice seed. More than 100 farmers and producers in each province were interviewed and joined in the training programs. However, another 2 provinces, i.e. Chai Nat and Roi Et were added in the survey during the second half of the research period. For the survey on problems in seed production and the farmer interview, the results revealed that rice seed growers in Suphan Buri seemed to have a longer experience in rice seed production comparing to seed growers in Pathum Thani and Chai Nat. In the Northeast, farmers in Sakon Nakhon especially ones who used to be contract growers of the Rice Seed Center have been producing rice seed for a longer time comparing to farmers in another 2 provinces. Asking about the source of seed for their production, the majority of farmers received rice seed from their contract producers, only about 10% of them received the seed from Rice Research Center or Rice Seed Center. Most of them realized that high quality seed should be used and if possible they would like to get the foundation seed from Rice Research Center for their seed production. Some farmers multiplied their commercial seed using foundation seed, while some used their saved seed or seed of unknown classes to produce commercial seed. In both cases, it seemed that there could be an imbalance between demand and supply of seed of each class. For rice variety, it was found that there were a number of rice varieties produced by farmers in the central plain of Thailand while there were only 3 main varieties, i.e. Khao Dawk Mali 105, RD15 and RD6 produced in the Northeast. In the central region, although there were about 10 varieties produced for seed market, but there were 3 varieties, i.e. RD31, RD47 and RD41 that took the top-three rank in terms of production amount. For the method of rice growing, in both regions, area of broadcasting was a lot higher than that of transplanting. In the central region, the ratio of broadcasting method and transplanting method was 78/22 while in the northeast region was 69/31. Most of the farmers made field surveys to check and to rogue the red rice and off-type plants due to contamination or volunteer plants, however there were still some farmers who did not practice roguing especially farmers from community rice seed centers (1.6-5.6% in the central region and 3.0-3.7% in the northeast region). This can be a cause of weedy rice spreading if there is no rejection process by the seed producers. For high quality seed production, all seed field should be strictly visited and rogued 3-5 times. Another problem found was that a high percentage of farmers in community rice seed centers in particular could not sell their seed to their own organization, some have to sell to other business groups or companies, some have to keep their seed. Generally, problems in rice seed production recorded in the survey of farmers in community rice seed centers were more pronounced than those encountered in farmers from agricultural cooperatives or private seed producers. The former seemed to have a lesser experience and poorer cultural practices, farm management and seed-business handling. Therefore, if the government sectors would like to expand the volume of rice seed production in the section of community rice seed center, they should put hard effort to support and raise their potential in effective rice seed production. In case of seed producer interviewing, it was found that there were a great number of private seed producers in the central region but no private seed producers were found in the northeast region, only agricultural cooperatives and community rice seed centers were interviewed. An imbalance between the use of foundation seed and registered seed was also observed in the part of rice seed producers. Some rice seed producers purchased registered seed from Rice Seed Center and sold it directly to farmers while some could not get good quality seed such as registered seed or foundation seed to allocate to their contract farmers. For seed testing, some rice seed producers (in a high percentage) did not correctly practice seed sampling, weedy rice test and seed quality test. Many community rice seed centers did not clean and grade their seed probably due to lack of seed processing facilities. If rice seed production need to be increased by community rice seed centers, more support should be done to this sector. In this research, apart from problems in seed business were reflected, solutions to these problems were also suggested and the need for seed use in each province was also estimated. For the part of technology transfer, training program, evaluation and handbook were presented in this full report explaning the training courses that were organized in 4 provinces, i.e. Suphan Buri, Pathum Thani, Surin and Sakon Nakhon, with more than 100 farmers and rice seed producers joined in these trainings. The farmer participation for rice seed production development aimed to increase efficiency of rice seed production by farmer participatory. From the first season results showed that the main components of seed quality could reach the seed standard. The yield that pass the standard of all components were 51.63, 54.75, 62.46 and 100 % of total yield at Pathum Thani, Suphan Buri, Sakon Nakorn and Surin respectively. The only component that was below the seed standard was over inert matter (over 2%) which could be improved by reclean before packing. The total yield produced from the projects was 102,528 kg which could sold out or all distribution due to well public relations. The farmers could sell the seed yield at the price of 22 and 25 baht/kg. for white rice and Hawm Mali rice respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-29
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-10-28
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
28 ตุลาคม 2558
กรมการข้าว
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ต่อเนื่องปีที่ 2) การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ต่อเนื่องปีที่ 2) การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกรเชิงบูรณาการ จังหวัดปทุมธานี การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเชิงพาณิชย์ในแปลงเกษตรกร การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การพัฒนาศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพและการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมต่อพื้นที่โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ในภาคเหนือของประเทศไทยงบประมาณ 3 ปี 2,500,000.- บาท (ปีที่ 2) แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จังหวัดชัยนาท

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก