สืบค้นงานวิจัย
การประเมินมลพิษทางน้ำในกว๊านพะเยาโดยใช้ยีนดัชนีชีวภาพในปลาชะโด (Channa micropeltes)
ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์ - มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง: การประเมินมลพิษทางน้ำในกว๊านพะเยาโดยใช้ยีนดัชนีชีวภาพในปลาชะโด (Channa micropeltes)
ชื่อเรื่อง (EN): Assessment of Pollution in Kwan Phayao using Biomarkers Response in Giant Snake-head Fish, Channa micropeltes
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีววิทยาและการกระจายของพันธุ์รุกรานต่างถิ่น ได้แก่ ปลาชะโด และผักตบชวา เพื่อหาแนวทางในการป้องกันกำจัด และเพื่อการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรในกว๊านพะเยาอย่างยั่งยืน การศึกษาแหล่งที่อยู่อาศัย อาหารและนิสัยการกินอาหาร ความแตกต่างระหว่างเพศและ สัดส่วนเพศ และความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและความยาวตัวของปลาชะโดในกว๊านพะเยา โดยการ สำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างปลาชะโดจากชาวประมงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2555 ผลการศึกษาพบว่าปลาชะโดจำนวน 425 ตัว เป็นเพศผู้ 223 ตัว เพศเมีย 202 ตัว มี น้ำหนักตัวระหว่าง 70-6,500 กรัม และมีความยาวระหว่าง 15.2-61.8 เซนติเมตร ปลาขนาดเล็ก อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นฝูง เมื่อตัวเต็มวัยแยกตัวจากฝูงอาศัยอยู่กลางน้ำ และพื้นท้องน้ำ ชนิดอาหารที่พบ ในกระเพาะประกอบด้วย ปลาคิดเป็นร้อยละ 78.4 รองลงมาได้แก่ ตัวอ่อนแมลง กุ้งฝอย ซากเน่า เปื่อย และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 11.7 4.2 3.3 และ 2.4 ตามลำดับ จัดเป็นประเภทปลากินเนื้อ สมการ ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและความยาวตัวปลาคือ = 0.008 3.133 สัดส่วนเพศระหว่างเพศผู้ ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:0.91 การศึกษาระดับการแสดงออกของยีนดัชนีชีวภาพต่างๆ ในเนื้อเยื่อตับของปลานิล ใช้ในการ ประเมินการปนเปื้อนของสารและโลหะหนักต่างๆ ได้แก่ ยืน Metallothionein (MT) Glutathione peroxidase (GPX) Glutathione S-transferase (GST) Cytochrome P4501A (CYP1A) และ Heat shock protein 70 (HSP70) ด้วยวิธี Quantitative RT-PCR โดยเก็บตัวอย่างปลาในเดือนมิถุนายน กันยายน ธันวาคม 2555 และมีนาคม 2556 พบว่า ในเดือนมิถุนายนมีระดับการแสดงออกของยืนสูงที่สุดอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) รองลงมาคือเดือนมีนาคม ในขณะที่เดือนธันวาคมมีระดับการแสดงออก ของยืนต่ำที่สุด ซึ่งระดับการแสดงออกของยืนมีความสอดคล้องกับระดับความเข้มข้นของโลหะหนักใน กว๊านพะเยา การศึกษาการเจริญเติบโต การแพร่กระจายของผักตบชวา และอัตราการเจริญเติบโตของ ผักตบชวาในกว๊านพะเยา ในระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนเมษายน 2555 พบว่า ในกว๊านพะเยา มีการแพรระบาดของผักตบชวา คิดเป็น 12.2 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่กว้านพะเยา ซึ่งมีทั้งแบบที่ลอยอยู่ใน แหล่งน้ำและติดอยู่ตามขอบตสิ่ง ซึ่งบริเวณสะพานขุนเดชเป็นบริเวณที่มีการเคลื่อนย้ายของผักตบชวา เข้าสู่กว้านพะเยามากที่สุด และเมื่อทำการสุ่มเก็บตัวอย่างสามารถเก็บได้ 15,708.5 9,860.7 และ 16,075.6 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ในฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน ตามลำดับ โดยการเจริญเติบโตของ ผักตบชวาจะมีความยาวของราก จำนวนใบ ความกว้างของใบ ความยาวของก้านใบ และความกว้าง ของก้านใบมีค่าเพิ่มขึ้นในทุกเดือน ส่วนการเกิดไหลของผักตบชวาจะเกิดขึ้นในวันที่ 28 ของการทำวิจัย และมีอัตราการเจริญเติบโตของไหลเป็น 2 เท่า ทุกเดือน ส่วนศัตรูธรรมชาติของผักตบชวาที่พบเด่นชัด ได้แก่ ด้วงงวงผักตบชวา ขณะที่คุณภาพของน้ำในกว๊านพะเยาอยู่ระดับที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ของสัตว์น้ำ มีคำอุณหภูมิน้ำอยู่ในช่วง 24.5 - 30 องศาเซลเซียส การส่องผ่านของแสงลงสู่แหล่งน้ำอยู่ ในช่วง 32 - 100 เซนติเมตร การวัดความลึกเฉลี่ยของแหล่งน้ำมีค่า 1.1 - 2.5 เมตร ปริมาณออกซิเจน ละลายน้ำมีค่า 5.- 6.6 มิลลิกรัมลิตร ความต้องการออกซิเจนทางชีววิทยาอยู่ในช่วง 1.0 - 3.5 มิลสิกรัมลิตร ค่าความเป็นกรด-ด่าง มีค่า 7.3 - 8.4 ความเป็นด่างอยู่ในช่วง 38.0 - 50.8 มิลลิกรัม/ ลิตร และแอมโมเนีย-ไนโตรเจนมีค่า 0.1 - 0.4 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งพารามิเตอร์ที่มีผลต่อการ เจริญเติบโตและการแพร่ระบาดของผักตบชวาน่าจะเกิดจากปัจจัยอื่นนอกเหนือจากคุณภาพน้ำด้วย ปัจจุบันได้มีการนำรถตักมาจัดการกับผักตบชวาในกว๊านพะเยาซึ่งเป็นวิธีการกำจัดแบบทางกายภาพ สามารถควบคุมผักตบชวาได้ในระยะสั้นได้ผลดีที่สุด และศึกษาโรคที่สำคัญของผักตบชวา พบว่ อาการที่ทำให้ผักตบชวาเป็นโรค 2 ลักษณะ ได้แก่อาการใบจุด และใบไหม้ และเมื่อ แยกเชื้อราสาเหตุ โรคจากใบผักตบชวาด้วยวิธีเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เป็นโรค (Tissue Transplanting Method) สามารถแยกเชื้อได้ 2 ชนิด ได้แก่ เชื้อรา Altemaria sp. และ Drechslera sp. นอกจากนี้ยังแมลงที่เป็นศัตรูผักตบชวาที่ สำคัญ ได้แก่ ด้วงงวงผักตบ ในปริมาณมากที่สุด ผลการทดลองดังกล่าวสามารถนำพัฒนาการควบคุม ผักตบชวาโดยชีววิธีในอนาคตได้ การพยากรณ์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายอย่างมากของผักตบชวา ในกว๊านพะเยา โดย การประยุกต์ใช้โครงข่ายเบย์เซียน ทำการศึกษาข้อมูลการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในกวัานพะเยาและ การแพร่กระจายของผักตบชวาโดยใช้ช้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ และศึกษาอัตราส่วนพื้นที่ปก คลุมกว๊านพะเยาของผักตบชวาโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเดือนละ 1 ภาพในรอบปี และวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและการแพร่กระจายของผักตบชวา ผลการศึกษา พบว่คุณภาพน้ำในกวันพะเยามีการเปลี่ยนแปลงตามสถานที่และระยะเวลาในรอบปีแต่การ เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาสามารถสังเกตได้อย่างเด่นชัด ผักตบชวามีพื้นที่ปกคลุมกวีานพะเยาสูง ที่สุดในเดือนตุลาคมเท่ากับ 5,001,707 ตารางเมตร หรือ 3,126.1 ไร่ และมีพื้นที่ปกคลุมน้อยที่สุดใน เดือนมกราคมเท่ากับ 2,316,038 ตารางเมตรหรือ 1,447.5 ไร่ บริเวณที่มีผักตบชวาปกคลุมมากที่สุด ได้แก่ตอนเหนือของกว้านพะเยา (บริเวณสะพานขุนเดช และตอนใต้ของกว๊านพะเยา (บริเวณบ้านร่อง ไฮ) ปัจจัยคุณภาพน้ำที่พิจารณาว่ามีผลต่อการแพร่กระจายของผักตบชวาในกวัานพะเยาได้แก่ ฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส ความลึกของน้ำ แอมโมนีย-ไนโตรเจน ช่วงเวลาที่มีแสง อุณหภูมิ และปริมาณ น้ำฝน จากการพยากรณ์โดยใช้โครงข่ายเบย์เซียนพบว่าโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายของผักตบชวา ในกว๊านพะเยามากที่สุด เมื่อฟอสเฟต-ฟอสฟอรัสเท่ากับ 0.85-0.94 มก./ล. ความลึกของน้ำเฉลี่ย 170+86 ซม. แอมโมเนีย-ไนโตรเจน 0.43?0.28 มก./ล. ช่วงเวลาที่มีแสง 720?44 นาที อุณหภูมิ 27.6?7.4 องศาเซลเซียส และปริมาณน้ำฝน 90.2?67 มม.
บทคัดย่อ (EN): This research aims to study the biology and distribution of invasive alien species, including giant snake-head fish and water hyacinth to find ways to prevent removal and for the sustainable use of resources in Kwan Phayao. The study about habitat, food and feeding behavior, sex difference and length-weight relationship of giant snakehead fish (Channa micropeltes) in Kwan Phayao. Fish were monthly sampled during May 2011- April 2012 by taken from fisherman. Results indicated that the weight and length of 425 fish samples, 223 male and 202 female ranged from 70-6,500 g and 15.2- 61.8 cm. The school of young fish occurred in the pelagic area, while adult fish had lived from the mid water bottom in solely. Food composition consisted of 78.4% fish 11.7% insect larvae 4.2% shrimp 3.3% detritus and 2.4% others. Therefore, this fish was considered to be a carnivore. The equation of the length-weight relationship was W = 0.008 L 3 3.133 13. Sex ratio between male and female was 1:0.91. The investigate the mRNA level of biomarker genes from the liver tissue of Nile Tilapia (Oreochromis niloticus) for assessment the heavy metals contamnination in Kwan Phayao. The mRNA expression of Metallothionein (MT), Glutathione peroxidase (GPX), Glutathione S-transferase (GST), Cytochrome P4501A (CYP1A) and Heat shock protein 70 (HSP70) were determined using Quantitative RT-PCR technique. The samples were collected on June, September, December 2012 and March 2013. On June, all of genes had the highest expression levels with statistically significant (P<0.05), followed by March. While the lowest level of gene expression was detected on December. The mRNA levels of genes expression were consistent with the concentrations of heavy metals in Kwan Phayao. The study on growth and growth rate of water hyacinth (Eichhomia crassipes) in Kwan Phayao was conducted during October 2011 - April 2012. The study found that the epidemic of water hyacinth in Kwan Phayao was 12.2% Of Kwan Phayao. Water hyacinth is a free-floating and perennial water plant. The invasion of water hyacinth has higher at Khun Detch bridge at 15,708.5, 9.86 and 16,075.6 kg/m in spring, winter and summer, respectively. The water hyacinth grows rapidly forming expansive colonies of length of root, number and width of leaves, length and width of leaf stalks. The water hyacinth reproduces primarily by way of runners or stolons at 28 days and double of growth rate in 1 month. The natural enemies were water hyacinth weevil (Neochetina spp.) on controlling of water hyacinth in Kwan Phayao. The water quality parameters measured were in good agreement with the standard values for aquatic animals (Temperature 24.5 - 30 *C, Transparency 32 - 100 cm., Depth 1.1 - 2.5 cm, Dissolved Oxygen (DO) 5.5 - 6.6 mgl, Biochemical Oxygen Demand (BOD) 1.0 - 3.5 mgl, pH 7.3 - 8.4, Total alkalinity 38.0 - 50.8 mgl and NHg-N 0.1 - 0.4 mgl. The parameter of other activities available in those areas with has glowed of water hyacinth. Physical control is performed by land based machines such as bucket cranes, draglines, or boorm or by water based machinery such as aquatic weed harvester, dredges, or vegetation shredders. Mechanical removal is seen as the best short-term solution to the proliferation of the plant. Disease of water hyacinth were also investigated, it was found two disease symptoms (leaf spot and leaf blight). Tissue transplanting method were used to isolate these fungi, it was found two fungal disease agents (Alternaria sp. and Drechslera sp.) Furthermore, we found dominant water hyacinth weevils that importance insect pest of water hyacinth. The results can be used to develop biological control of water hyacinth in the future. The prediction of water hyacinth distribution coverage area in Kwan Phayao using Bayesian Network. Changes in some water quality parameters were studied by primary and secondary data on monthly basis. Vegetative coverage areas were estimated by satellite images from different sources. Results showed that there were spatial and temporal changes of water quality in Kwan Phayao. The highest vegetative cover was found in October which was 5,001,707 m2 or 3,126.1 rais. The lowest vegetative cover was found in January which was 2,316,038 m or 1,447.5 rais. High abundances of water hyacinth were found in the north (Khun Dej bridge) and in the south (Ban Rong Hai) of Kwan Phayao. Water quality parameters which were considered to be related with water hyacinth distribution are phosphate-phosphorus, water depth, ammonia-nitrogen, light period, temperature, and precipitation. Bayesian model from this study predicts the opportunity of very high water hyacinth occurrence in the condition of phosphate-phosphorus 0.85-0.94 mgl,water depth 17086, ammonia-nitrogen 0.430.28? mg/, light period 720?44 min., temperature 27.6?7.4 C, and precipitation 90.2?67 mm.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินมลพิษทางน้ำในกว๊านพะเยาโดยใช้ยีนดัชนีชีวภาพในปลาชะโด (Channa micropeltes)
มหาวิทยาลัยพะเยา
30 กันยายน 2554
การพัฒนาแบบจำลองเชิงบูรณาการสำหรับประเมินระดับของมลพิษทางน้ำสูงสุดที่สามารถยอมรับได้จากผลกระทบของการใช้ประโยชน์ของชุมชนต่อระบบนิเวศทางน้ำของกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา การใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา พลวัตประชากรปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา การประยุกต์ใช้ดัชนีชีวภาพของปลาเพื่อประเมินพื้นที่ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชาคมปลาในพื้นที่ชุ่มน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร เขื่อน...น้ำเพื่อชีวิต การวิเคราะห์การทำงานของยีนที่ใช้ในการสังเคราะห์สารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชันโดย RNA interference การกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา (ชื่อเดิม ชีววิทยาการกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา) โครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพผลจับจากเครื่องมือข่ายในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ประเมินผลการดำเนินงานสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง การโคลนและการศึกษาการแสดงออกขอยีน EgLEC1 สำหรับคัดเลือกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก