สืบค้นงานวิจัย
การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก 3. ใช้ถั่วมะแฮะเป็นแหล่งของโปรตีน/พลังงานในอาหารไก่ไข่
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก 3. ใช้ถั่วมะแฮะเป็นแหล่งของโปรตีน/พลังงานในอาหารไก่ไข่
ชื่อเรื่อง (EN): UTILIZATION OF PIGEONPEA (Cajanus cajan) AS POULTRY FEED 3. EVALUATION OF PIGEONPEA AS A PROTEIN/ENERGY SOURCE IN LAYER RATIONS
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Suchon Tangtaweewipat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: โรเบิร์ต อิเลียต
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Robert Elliott
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้ถั่วมะแฮะบุคระดับต่างๆ ในอาหารไก่ไข่ เพื่อให้ทราบถึงสมรรถภาพการผลิตไข่ และคุณภาพไข่ เมื่อใช้อาหารที่มีถั่วมะแฮะระดับร้อยละ 0, 10, 20, 30, 35 หรือ 40 แทนที่ข้าวโพดและกาก ถั่วเหลือง ในสูตรอาหารที่มีโปรตีนร้อยละ 16 และพลังงานใช้ประโยชน์ 2,800 กิโลแคลอรี่ / กก.เท่ากันทุกกลุ่ม โดยทําการทดลองในไก่ไข่พันธุ์โกลเด้นฮับบาร์ด อายุ 25 สัปดาห์ จํานวน 192 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ เลี้ยงบน กรงตับแบบขังเดี่ยว มีน้ำและอาหารกินตลอดเวลา และได้รับแสงสว่างวันละ 16 ชั่วโมง ตลอด ระยะเวลาการทดลอง 84 วัน ในแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด ปรากฏว่าผลผลิตไข่ของแม่ไก่กลุ่มที่ได้รับอาหาร ที่มีถั่วมะแฮะระดับ 20% หรือมากกว่า ให้ผลลดลงตามระดับการเพิ่มขึ้นของถั่วมะแฮะในสูตรอาหาร โดยการ ใช้ถั่วมะแฮะที่ระดับ 10% ให้ผลผลิตไข่ไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (84.88 เปรียบเทียบกับ 86.50% ตาม ลําดับ) ปริมาณการใช้อาหารต่อการผลิตไข่ 1 โหล ของแม่ไก่กลุ่มที่ได้รับถั่วมะแฮะระดับ 35 หรือ 40% มีปริมาณ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P< 0.05) ส่วนกลุ่มที่ได้รับถั่วมะแฮะระดับ 10, 20 หรือ 30% ในสูตรอาหาร มีปริมาณการใช้อาหารต่อการผลิตไข่ 1 โหล เท่ากับ 1.51, 1.50 หรือ 1.61 กก. ตามลําดับ โดยไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ (1.47 กก.) สําหรับปริมาณอาหารที่กินและคุณภาพไข่ ไม่มีความแตกต่าง ระหว่างการใช้หรือไม่ใช้ถั่วมะแฮะในสูตรอาหาร
บทคัดย่อ (EN): Ground pigeonpea (Cajanus cajan CV. Hunt) was incorporated into layer diets (16% C.P. and 2,800 k.cal ME/kg. at levels of 0, 10, 20, 30, 35, or 40% replacing maize and soybean meal to study the effect on egg production and egg quality over a three-month period. Each experimental diet was offered to 32, twenty-five weeks old Golden Hubbard pullets divided into 4 replications of 8 birds. All birds were maintained in individual laying cages with free access to feed and water throughout the three 28 – day periods (84 days). The hens offered diets containing 20% or more pigeonpea had a decreased rate of egg production. Feed /doz.eggs from la yers offered diets containing 0, 10,20, or 30% pigeonpea were 1.47,1.51,1.50 or 1.61 kg. and not significantly different. However the higher levels of pigeonpea inclusion (35 and 40%) resulted in greater feed/ doz. eggs (1.74 and 1.93 kg. respectively). No significant differences in feed consumption and egg quality were detected. An economic appraisal of the potential of pigeonpea in layer diets is also discussed.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2531
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2532
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247793/169547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เมล็ดถั่วมะแฮะเพื่อเป็นอาหารสัตว์ปีก 3. ใช้ถั่วมะแฮะเป็นแหล่งของโปรตีน/พลังงานในอาหารไก่ไข่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2532
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
บทบาทของการจับกันระหว่างโปรตีน Nck และ PDGFR ใน lens epithelial cell เพื่อใช้เป็นเป้าหมายของยาในการป้องกันการเกิดภาวะ posterior capsular ระดับโปรตีนและพลังงานในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบทางเคมีของปลาสวายโมง การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็นอาหารสัตว์ปีก 1. นกกระทาไข่ และไก่สาว การใช้ใบถั่วอาหารสัตว์ในอาหารลูกโคนม การใช้ประโยชน์จากใบถั่วมะแฮะเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ II.ผลของการตัดที่อายุต่าง ๆ ต่อปริมาณผลผลิตในปีที่ 2 และการใช้ใบในอาหารลูกโค การใช้เมล็ดทานตะวันระดับสูงในอาหารไก่ไข่ ผลของการใช้ไขมันจากโคพื้นเมืองทดแทนน้ำมันปาล์มในอาหารต่อ สมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่ ผลของการจำกัดพลังงานในอาหารสุกร ผลของระดับโปรตีนและพลังงานที่กินได้ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตในโคนมที่ได้รับต้นอ้อยตากแห้งเป็นอาหารหยาบหลัก ผลการเสริมเลซิตินถั่วเหลืองในอาหารไก่ไข่ต่อการย่อยได้ของโภชนะ สมรรถภาพการผลิต และคุณภาพไข่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก