สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์และระบบการผลิตกล้วยน้ำว้าบางสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์และระบบการผลิตกล้วยน้ำว้าบางสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Studies on Characteristics and Production Systems of Some Musa x paradisiaca ‘Kluai Namwa’ Cultivars in Chiang Mai Province Area
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Therdsak Thonnalak 1
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ และระบบการผลิตกล้วยน้ำว้าบางสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ากล้วยน้ำว้าที่ปลูกเป็นการค้าในจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด คือกล้วยน้ำว้าพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มน้ำว้าเหลือง ผลผลิตต่อเครือเฉลี่ย 17.8 กิโลกรัม หนึ่งเครือมีประมาณ 9.3 หวี หนึ่งหวีมีผลเฉลี่ย 15.7 ผล รูปร่างผลป้อมทรงกระบอก ปลายค่อนข้างแหลม ขนาดผลยาวเฉลี่ย 13.7 เซนติเมตร เส้นรอบวงกลางผลประมาณ 12.8 เซนติเมตร เปลือกผลหนาประมาณ 0.11 เซนติเมตร มีสีเหลืองเมื่อสุก เนื้อผลสีขาวมีไส้สีเหลือง เกษตรกรนิยมปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน โดยให้ผลผลิตเมื่อมีอายุหลังปลูก 10-14 เดือน และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังจากตกเครือประมาณ 90-120 วัน กล้วยน้ำว้าให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,501- 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ การจำหน่ายส่วนใหญ่มีพ่อค้ามารับซื้อกล้วยน้ำว้าถึงแหล่งผลิต หรือถ้าเกษตรกรนำไปขายเองก็นำไปขายให้กับผู้รวบรวมในท้องที่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลมากนัก
บทคัดย่อ (EN): The studies on characteristics and production systems of some Musa x paradisiaca ‘Kluai Namwa’ cultivars in Chiang Mai province area. The studies showed that Musa x paradisiaca ‘Kluai Namwa Luang’ was the most grown commercially in Chiang Mai province for the group of ‘Kluai Namwa’. It had weight of bunch 17.8 kg, number of hand per bunch 9.3, number of fruit per hand 15.7 and 13.7 cm in length of fruit. The fruit shape was cylindrical plump type, the skin unripe color was green and as they mature they can turn yellow. The bananas were started planting between March to May of the years and the fruit can be harvested by cutting the stalk when the bananas are plump but green (90-120 day after fruits set), that yields are averaging around 2,501- 3,000 kg per rai.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-59-059
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 253,900
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2559
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์และระบบการผลิตกล้วยน้ำว้าบางสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2559
ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของมะม่วงพันธุ์ต่างๆ การรวบรวมพันธุ์ และการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์,การตอบสนองต่อช่วงแสงในการออกดอกและการผสมเกสรของเบญจมาศเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ถั่วเหลืองสายพันธุ์ก้าวหน้า การพัฒนาศักยภาพของระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามในเขตภาคเหนือ การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง ในพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ผลของอายุและสายพันธุ์ต่ออัตราการเคลื่อนที่, อัตราการรอดชีวิต และความสมบูรณ์พันธุ์ของน้ำเชื้อแบบแช่แข็งของพ่อพันธุ์ไก่พื้นเมือง การเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของ สาหร่ายสไปรูลินาสายพันธุ์ แม่โจ้ กับสายพันธุ์อื่นๆ ในระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สถานการณ์การผลิตและวิธีการปลูกกาแฟของเกษตรกรชาวเขาในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการกำหนดเขตเหมาะสมของการใช้พื้นที่ผลิตข้าวโดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา การศึกษาสถานภาพการผลิต และความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิต คุณภาพและปริมาณสาร capsaicin ในพริกพันธุ์การค้าในเขตจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก