สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตผลเกษตร
สุปรียา ศุขเกษม - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตผลเกษตร
ชื่อเรื่อง (EN): Crop Processing Research and Development Project
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุปรียา ศุขเกษม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุปรียา ศุขเกษม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยการแปรรูปผลิตผลเกษตรเป็นการแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาต่ำ เพื่อเพิ่มมูลค่า พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ได้ คือ เครื่องดื่มวุ้นผลไม้ น้ำสลัดผลไม้ ข้าวเกรียบผลไม้ น้ำเชื่อมผลไม้ ผลไม้อบแห้ง ผลไม้ลอยแก้วสเตอริไลซ์ ทุเรียนเฟรนฟราย ทุเรียนทอดสุญญากาศ ทุเรียนผง น้ำกะทิทุเรียนสำเร็จรูปจากเศษทุเรียนทอดสุญญากาศ แป้งเมล็ดทุเรียน น้ำมังคุดเพื่อสุขภาพ น้ำส้มสายชูมังคุด ลำไยสอดไส้มะม่วงบรรจุกระป๋อง ลำไยในน้ำส้มบรรจุกระป๋อง น้ำมะม่วงเพื่อสุขภาพ ขนุนและซังขนุนกวน น้ำมันงาและผลิตภัณฑ์ น้ำถั่วเหลืองและเต้าหู้ น้ำมันปาล์มโอเลอีนและไขสเตียรินคุณภาพสูงสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมระดับชุมชน น้ำมันบริโภคคุณภาพสูงจากน้ำมันพืช น้ำมันปาล์มคุณภาพสูงโดยใช้เทคนิค Supercritical Fluid Extraction Red Palm Oil สบู่ก้อน สบู่เหลวจากน้ำมันปาล์ม เอสเทอร์ของกรดไขมันจากน้ำมันปาล์มด้วยวิธีกลั่นลำดับส่วน น้ำมันมะพร้าว ช็อกโกแลตจากน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มดัดแปร แคปซูลสมุนไพรผงขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร กระชายดำ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากสมุนไพรผสมเจียวกู้หลาน กระชาย และกระชายดำ น้ำสลัดสมุนไพรชนิดข้นเพื่อสุขภาพ เครื่องดื่มรำข้าว น้ำมันรำข้าวและผลิตภัณฑ์ แป้งพืช การผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน จึงต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ยืดอายุการเก็บรักษา และลดต้นทุนการผลิต การศึกษาการผลิตลำไยอบแห้งทั้งเปลือกของกลุ่มตัวแทนเกษตรกรลำไยครบวงจร จ.เชียงใหม่ โดยศึกษาและปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในการจัดเตรียมวัตถุดิบก่อนการอบแห้ง และสภาวะที่ใช้ในการอบแห้ง จะได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพดีขึ้นและค่าความชื้นของผลิตภัณฑ์มีความสม่ำเสมอมากขึ้น สามารถลดเวลาการอบแห้งได้ 22-25 ชั่วโมง เมื่อเก็บผลิตภัณฑ์ไว้นาน 12 เดือน การสำรวจระบบการผลิตของกลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปลำไยเนื้อสีทองอบแห้งในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ช่วงก่อนฤดูกาลแปรรูป พบว่า ผลิตภัณฑ์เพียง 1 รายที่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อติดตามกระบวนการผลิตและประเมินผลคุณภาพผลิตภัณฑ์กลุ่มผู้ประกอบการในช่วงฤดูกาลแปรรูป พบว่า ตรวจพบจุลินทรีย์ ยีสต์และรา เกินมาตรฐานกำหนดของ มกอช.8-2549 ผู้ประกอบไม่มีโรงเรือนและวิธีปฏิบัติในโรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมและแปรรูป มีการใช้สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อาหาร การชะลอการเปลี่ยนสีของเนื้อลำไยอบแห้ง พบว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการชะลอการเปลี่ยนสีของเนื้อลำไย สารสำคัญที่มีประโยชน์เป็นองค์ประกอบในผัก ผลไม้ และสมุนไพร จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาปริมาณสารสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของพืชนั้นๆ กรรมวิธีการสกัดสารสำคัญเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม และความคงตัวของสารต่อกระบวนการแปรรูป รวมทั้งสารบางชนิดที่อาจก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายหากมีการแปรรูปไม่เหมาะสม ได้ศึกษาการสกัดสารอนุพันธ์แซนโทนโดยใช้กระบวนการหมักด้วย Saccharomyces cereviceae BDX และ TISTR 5048 จากมังคุด พบว่า เนื้อและเมล็ดมังคุดที่หมักแล้วมีปริมาณสารอนุพันธ์แซนโทนรวมสูงกว่าในเปลือก การสกัดวิตามินอีจากเปลือกผลปาล์มน้ำมันโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหนือวิกฤต (SFE) ได้วิตามินอี 111.94 ไมโครกรัมต่อกรัม การสกัดใบปาล์มน้ำมัน ได้วิตามินอี 1,823.69 ไมโครกรัมต่อกรัม และปริมาณวิตามินอีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่ออายุใบมากขึ้น การสกัดวิตามินอีจากกากเส้นใยปาล์ม ได้วิตามินอีสูงสุด 1,207 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อศึกษาสารสำคัญในกระเทียมศรีสะเกษ เชียงใหม่และจีนมีพบว่ามีปริมาณสารสำคัญไม่แตกต่างกัน สาร Prebiotics เช่น Inulin และ Fructo-oligosaccharide (FOS) ในผลไม้ สามารถวิเคราะห์ด้วยเครื่อง HPAEC-PAD พบว่ากล้วยหอมทองมีปริมาณ FOS สูงกว่าแตงโมและหอมแดง สารแอนโธไซยานินในสารสกัดจากเมล็ดทับทิมพันธุ์ศรีปัญญาและพันธุ์ศรีสยามด้วยเอทานอลเข้มข้น 80% จะมีปริมาณ 8.91 และ 5.68 มิลลิกรัมต่อ100กรัม สารสกัดจากเปลือกทับทิมพันธุ์ศรีปัญญาและพันธุ์ศรีสยามด้วยเอทานอลเข้มข้น 80% จะมีปริมาณแอนโธไซยานิน 1.37 และ 1.63 มิลลิกรัมต่อ100กรัม ส่วนสารแอนโทไซยานินในผลไม้สีแดง 5 ชนิด คือ ลูกหว้า ผลแก้วมังกร ส้มกุ่ย ลูกหม่อน และมะเม่า พบว่าลูกหม่อนมีปริมาณสูงที่สุด การสกัดสารสำคัญในเปลือกมังคุดแบบต่อเนื่องมีปริมาณสารแซนโทน 7.66-10.04% และการ สารแซนโทน 3.24-5.36% นำสารสกัดเปลือกมังคุดที่ได้มาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง การสกัดแคโรทีนจากผลปาล์ม น้ำมันปาล์มดิบและกากใยผลปาล์มโดยเทคนิค Solvent Extraction, Supercritical Fluid Extraction (SFE) และการสกัดสารที่ไม่สปอนนิฟาย นำมาทำเป็นแคโรทีนผง การสกัดสาร Capsaicin จากพริกนำมาใช้ในการผลิตยาหม่องและครีมทาลดไขมันเฉพาะที่ การศึกษาปริมาณสารอนุพันธ์แซนโทนในเนื้อมังคุดบดละเอียดก่อนและหลังการสเตอริไลท์ที่อุณหภูมิ 95+5 ๐C นาน 30 นาที สารอนุพันธ์แซนโทนมีการเปลี่ยนแปลงทั้งลดลงและเพิ่มขึ้น ผลของการอบแห้งต่อปริมาณ Fructo-oligosaccharide ในกล้วยอบแห้งแบบลมร้อนและกล้วยอบแห้งแบบเยือกแข็ง พบว่า ปริมาณ FOS ในตัวอย่างทั้งสองชนิดต่ำกว่ากล้วยหอมทอง ผลของอุณหภูมิฆ่าเชื้อต่อน้ำลูกหม่อน น้ำลูกหว้า และน้ำส้มกุ่ย พบว่าปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมดลดลงเมื่อเวลาในการให้ความร้อนเพิ่มขึ้น สารกลุ่มไพรีนเป็นสารก่อพิษในกาแฟคั่วบดที่สามารถเชื่อมโยงกับรสชาติความขมที่มักพบในอาหารแปรรูปที่ผ่านกระบวนการแปรรูปที่ไม่เหมาะสม ได้ทดลองผลิตสเกลความขมจากสารละลาย PROP แล้วทดสอบสเกลโดยนำมาประเมินคุณภาพของกาแฟ พบว่าสามารถใช้ประเมินปริมาณสารกลุ่มไพรีนในกาแฟตามสเกลที่กำหนดไว้ เพื่อประเมินคุณภาพกาแฟได้
บทคัดย่อ (EN): Research on processing technologies of agricultural products aim at the utilization the excess amount and the low price of produce during harvesting season, developing value-added, high quality and food safety product from local agricultural products such as technology development of new products from fruit, vegetables and herb products. The new processed products obtain ready fruit jelly beverage, fruit salad dressing, fruit syrup, healthy dried fruit, fruit in syrup canning, durian french fried-type, vacuum fried durian, durian powder, durian in coconut milk from vacuum fried durian crust, durian seed flour, healthy mangosteen juice, mangosteen vinegar, mango and longan in syrup canning, longan in orange juice canning, healthy mango juice, jack fruit mix, sesame oil and products, soy milk and tofu from the high protein soybesn, novel oil from vegetable oils, red palm oil, soap from palm oil, fatty acid methyl ester from palm oil by Short-path Distillation, virgin coconut oil, chocolate from modified coconut oil and palm oil, turmeric powder, kariyat powder and krachai-dam powder in capsule, mixed herbal beverages : jiaogulan, krachai and krachai-dam, herbal low cholesterol salad dressing, beverage from rice bran, rice bran oil and products and flour and starch from many crop. Production of processing products are always encountered the quality problems. The studies on improving the production process in order to reach the quality standard, prolong self life during storage and reduction of unit cost were done in longan. Changing steps in raw material preparation before drying and some conditions during drying process increased the product quality and could reduce the drying time 22-25 hours. The moisture content of the whole dried longan were uniform and stable . Moreover, the quality of whole dried longan kept for 12 months was accepted. The survey of dried longan production systems in Chiang Mai and Lampoon provinces were done before and during the processing season. Sulphur dioxide was found in dried longan of one producer before processing season. Follow up the system during processing season, yeast and mold were found to contaminate higher than the limited standards due to lacking of good manufacturing practice. Storage of dried longan at low temperature could delay in color changing . Natural compounds are the important composition in vegetable, fruits and herbs. The studies aimed to quantify the unique compounds present in the certain plant, the proper extraction technique and their utilization, processing stability and some toxic compounds which may occurred during processing. The xanthones derivatives derived from fermentation of pulp, seed and rind of mangosteen with Saccharomyces cereviceae BDX and TISTR 5048. The result showed that fermented pulp and seed contained higher xanthones derivatives than rind of mangosteen. Amount of Vitamin E extracted from mesocarp of oil palm seed using Supercritical Fluid Extraction (SFE) were 1,111.94 and 1,823.69 ug/g in mesocarp and oil palm leaflet respectively. The more the age of leaflet increase the more vitamin E obtained. Vitamin E was also extracted from pressed fiber of oil palm with the highest amount of 1,207 mg/kg. There was no significant different of natural compounds content in garlic from Srisagate and Chiang Mai province and from China. Probiotic such as inulin and fructo- oligosaccharide(FOS) in fruit were analyzed by HPAEC-PAD were found higher in banana than water melon and onion. Anthocyanin extraction from pomegranate aril using 80% ethanol were obtained with the amount of 8.91 mg/100g in Sripanya and 5.68 mg/100g in Srisaim varieties . Lower anthocyanin was found in peel of pomegranate with 1.37 and 1.63 mg/100g respectively. Mulberry was found containing the highest amount of anthocyanin among five kinds of tested red fruits namely Jumbolan , Mamao, Somkui, Dragon fruit and Mulberry. Extraction of xanthones for cosmetic production using soxhlet extraction technique yielded 7.66-10.04% xanthones whereas maceration yielded 3.24-5.36%. The carotene powder was made from carotene extraction using solvent extraction, SFE and unsaponifiable matter extraction. Capsaicin was also extracted from chili and used in balm and slimming cream. The stability of natural componds were studied. Amount of xanthones derivatives from mangosteen puree were changed after sterilization at 95?5 ?C for 30 min. FOS content was also found lower in dried and freeze dried banana than the fresh one. The longer time used for pasteursation the more the anthocyanin in fruits juice decreased. Pyrenes is the toxic substance produced during coffee processing and make the test bitter. Scale for measuring bitter was developed from PROP solution and successfully used to assess the amount of pyrenes in coffee .
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตผลเกษตร
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อรักษาคุณภาพ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร พัฒนาการของลูกปลากดเกราะวัยอ่อน โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปเฮมพ์ โครงการวิจัยการพัฒนาการจัดการศัตรูผลิตผลเกษตรเพื่อลดการใช้สารเคมี ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรจังหวัดยโสธร ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๓ : โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเฮมพ์ การจัดการธุรกิจการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 1: การวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก