สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำชมพู่เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี
ประกาศ ชมภู่ทอง, บัณฑิตพงษ์ ศรีอำนวย - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำชมพู่เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): The Development of Local Food Production to promote Small and Micro Community Enterprises in Petchaburi
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผู้วิจัยศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปจากชมพู่ โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลิต(วิเคราะห์ต้นทุน) เพื่อนำไปสาธิตและเผยแพร่ส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์จากชุมชนและส่งเสริมการสร้างวิสาหกิจชุมชมภายในจังหวัดเพชรบุรี พบว่า การตรวจวิเคราะห์คุณภาพของชมพู่เพชรสดด้านเคมี โดยการวัดหาปริมาณของแข็งที่ละลายได้ ซึ่งเป็นกลุ่มของสารอินทรีย์ เช่น กรด วิตามินและรวมถึงน้ำตาลโดยใช้ Hand Refractometer พบว่ามีปริมาณความหวานที่ละลายได้ เท่ากับ 11.0 ?Brix การตรวจวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH) ด้วย pH meter มีค่าเท่ากับ 4.3 และการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณกรด(Acidity by citric acid) โดยวิธีการไตเตรท มีปริมาณกรด ร้อยละ 5.5 การตรวจวัดค่าสีของชมพู่เพชรด้วยเครื่องวัดค่าสี พบว่า ชมพู่เพชรมีค่าความสว่าง(L*) เท่ากับ 52.13 ค่าความเป็นสีแดง(a*) เท่ากับ 0.89 และค่าความเป็นสีเหลือง(b*) เท่ากับ 23.33 การทดสอบการยอมรับด้านประสาทสัมผัสของน้ำชมพู่เพชรพร้อมดื่ม พบว่าน้ำชมพู่เพชรที่มีการใช้สารเบนโตไนท์ช่วยในการตกตะกอนที่ระดับร้อยละ 1 ได้รับการยอมรับจากผู้ทดสอบในคุณลักษณะด้านสี กลิ่น รสชาติ ลักษณะที่ปรากฏ(ความใส) และความชอบรวม มีค่าคะแนนการยอมรับมากที่สุด การตรวจวัดค่าสีของน้ำชมพู่เพชรพร้อมดื่มด้วยเครื่องวัดค่าสี พบว่า น้ำชมพู่เพชรที่ใส่เบนโตไนท์ที่ระดับร้อยละ 1 มีค่าความสว่าง(L*) เท่ากับ 61.77 ค่าความเป็นสีแดง(a*) เท่ากับ 0.49 และค่าความเป็นสีเหลือง(b*) เท่ากับ 6.94 โดยมีลักษณะที่ปรากฏ(ความใส)มากกว่าน้ำชมพู่เพชรพร้อมดื่มที่ใส่เบนโตไนท์ ที่ระดับร้อยละ 2 และ 3 ตามลำดับ ดังนั้นน้ำชมพู่เพชรสายรุ้งพร้อมดื่มที่ใส่เบนโตไนท์ ร้อยละ 1 จึงมีความเหมาะสมในการผลิตเป็นน้ำชมพูเพชรสายรุ้งชนิดพร้อมดื่มมากที่สุดและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคมากที่สุด เมื่อพิจาณาถึงผลตอบแทนในการผลิตน้ำชมพู่พร้อมดื่มพบว่า NPV ที่อัตราคิดลด 7.0% ตลอดโครงการ เท่ากับ 45,318 บาท ค่า IRR เท่ากับ 24% ค่าB/C เท่ากับ 1.03 และระยะเวลาคืนทุนจะอยู่ในปีที่ 4 เป็นต้นไป
บทคัดย่อ (EN): This research was studied about development of food products from rose apple (Eugenia javanica) and started with development of prototype products and cost analysis of production cost to demonstrate and encourage the local community for production of local products and enterprise in Phetchaburi. According to chemical analysis, fresh rose apple had total soluble solid at 11oBrix, pH at 4.3 and titratable total acidity at 5.5% based on citric acid equivalence. In addition, fresh rose apple had brightness (L*), redness (a*), and yellowness (b*) at 52.13, 0.89, and 23.33, respectively. The rose apple juice contained 1% bentonite for clarification had highest sensory acceptance scores in the terms of color, aroma, flavor, appearance (clearness), and total likeness. The juice had color quality with the brightness, redness, and yellowness values at 61.77, 0.49, and 6.94, respectively, and was clearer than the one with addition of 2% and 3% bentonite. The result showed that rose apple juice contained 1% bentonite was The most appropriate for rose apple juice ready to drink and highest sensory acceptance scores. Considered to production reward of the juice, NPV with the discount rate at 7.0% was equal to 45,318 bahts. The IRR was equal to 24%, B/C value was at 1.03 and the payback period was after 4 years.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำชมพู่เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
30 กันยายน 2552
การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวชุมชนบ้านช่องน้ำไหล หมู่ 4 ตำบลหัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี การศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน กรณีปุ๋ยชีวภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความเข้มแข็ง การพัฒนาแอปพลิเคชันบัญชีบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอบางเลน การวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรอย่างนักวิจัย กรณี แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านหนองรีร่วมพัฒนา ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านไม้ลำไยวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่แพง เทศบาลตำบลแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ กลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง ในพื้นที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไร่นาสวนผสม ม.12 ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก