สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของสารเคมีและเชื้อราเอนโดไฟต์ Trichoderma spp. ต่อการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคของยางพารา (Hevea brasiliensis Müll. Arg)
ทักษิณา ผุดผาด - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของสารเคมีและเชื้อราเอนโดไฟต์ Trichoderma spp. ต่อการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคของยางพารา (Hevea brasiliensis Müll. Arg)
ชื่อเรื่อง (EN): Inhibition Efficiency of Fungicides and Endophytic Trichoderma spp. on Pathogenic Fungi of Rubber Tree (Hevea brasiliensis Müll. Arg)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทักษิณา ผุดผาด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Taksina Phudphad
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดเชื้อราและเชื้อเอนโดไฟต์ Trichoderma spp. ต่อการยับยั้งการเจริญของเส้นใย Colletotrichum gloeosporioides (COL), Corynespora cassiicola (CORY), Lasiodiplodia theobromae (LAS), Neoscytalidiumdimidiatum (NEO) และ Diaporthe phaseolorum (DIA) สาเหตุ โรคของยางพารา (Hevea brasiliensis Müll. Arg.) สารเคมีที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย สารประเภทดูดซึม ได้แก่ prochloraz, benomyl, carbendazim และ azoxystrobin และสารประเภทไม่ดูดซึม propineb, mancozeb, chlorothalonil และ copper hydroxide ผลการทดสอบ พบว่า prochloraz และ mancozeb สามารถยับยั้งเชื้อได้ทุกชนิด นอกจากนี้พบ ว่า เชื้อเอนโดไฟต์ T. harzianum 03 และ T. ghanense 06 สามารถลดการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคทุกชนิดได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ดังนั้น สาร prochloraz และ mancozeb เป็นสารที่มีศักยภาพในการควบคุมโรคของ ยางพาราเนื่องจากยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคได้หลายชนิด นอกจากนี้ Trichoderma spp. มีแนวโน้มในการใช้ป้องกันการเกิด โรคได้ อย่างไรก็ตาม การประเมินความต้านทานสารเคมีของเชื้อ Trichoderma spp. จำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อนำมาใช้ ในโปรแกรมการจัดการโรคของยางพารา
บทคัดย่อ (EN): This study aimed to investigate the effect of fungicides and endophytic Trichoderma spp. on mycelial inhibition of pathogenic fungi of rubber tree (Hevea brasiliensis Müll. Arg.). Colletotrichum gloeosporioides (COL), Corynespora cassiicola (CORY), Lasiodiplodia theobromae (LAS), Neoscytalidiumdimidiatum (NEO) and Diaporthe phaseolorum (DIA).The fungicides including systemic (prochloraz, benomyl, carbendazim and azoxystrobin) and non-systemic (propineb, mancozeb, chlorothalonil and copper hydroxide) were evaluated. The result showed that the application of prochloraz and mancozeb classified as systemic and non-systematic fungicides, respectively were the most effective to inhibit the growth of all pathogens. Furthermore, endophytic T. harzianum 03 and T. ghanense 06 significantly (P<0.01) reduced the mycelial growth of all phytopathogenic fungi. Thus, prochloraz and mancozeb were potentially broad spectrum fungicides for controlling rubber diseases. Moreover, Trichoderma spp. trended to be sprayed for protecting diseases occurrence. However, the resistance of Trichoderma spp. against fungicides is needed to studied for diseases management program of rubber tree.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P095 Pat112.pdf&id=2475&keeptrack=3
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของสารเคมีและเชื้อราเอนโดไฟต์ Trichoderma spp. ต่อการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคของยางพารา (Hevea brasiliensis Müll. Arg)
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2559
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคของยางพารา (Hevea brasiliensis Muell.Arg.) ในพื้นที่เพาะปลูกจังหวัดสุราษฎร์ธานี อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและวัสดุปลูกที่มีผลต่อการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพดี รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อรา Phytophthora spp. สาเหตุโรคของยางพารา (Hevea brasiliensis Muell. Arg.) ในพื้นที่เพาะปลูกจังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิเคราะห์ทางพฤกษเคมีของทรัพยากรพรรณพืชในสถานีวิจัยและฝึกอบรมวนเกษตรตราด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อหาสารยับยั้งเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคในผลผลิตทางการเกษตรเพื่อการส่งออก ประสิทธิภาพของสารเคมีในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยน้ำว้า ประสิทธิภาพของสารเคมีบางชนิดต่อโรครากขาว การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์น้ำยางพาราสำหรับใช้งานในสวนยางพารา การวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการผลิตกล้ายางพาราคุณภาพเพื่อสนับสนุนการเพิ่ม ศักยภาพการผลิตยางพาราของประเทศ ประสิทธิภาพของสารเคมีในการป้องกันกำจัดโรครากแดงในยางใหญ่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก