สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาการผลิต Bioactive Fractions ที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการสลายเซลล์ข้อเข่าจากการสกัดหยาบของลำไย
ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการผลิต Bioactive Fractions ที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการสลายเซลล์ข้อเข่าจากการสกัดหยาบของลำไย
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Longanoid Anti-chondroprotection Cream formulation from Longan Seed
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:           สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาการผลิต Bioactive Fractions ที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการสลายเซลล์ข้อเข่าจากการสกัดหยาบของลำไย” แก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมสารสกัดแยกส่วนมาตรฐานที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive Fractions) จากลำไยตกเกรดอบแห้งทั้งลูกหรือเมล็ดลำไยจากการอบแห้งเนื้อลำไยสีทองในระดับ pilot scale รวมทั้งสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบครีมทาป้องกันข้อเข่าเสื่อม มีการวิจัยวิธีการสกัดแยกส่วนมาตรฐานที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive Fractions)  จากสารสกัดเมล็ดลำไยอบแห้งที่เป็นของเหลือทิ้ง ที่มีคุณสมบัติต้านการกลายพันธุ์ ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อน โดยพัฒนาวิธีการเตรียม bioactive fractions อย่างน้อย 6 ชนิด ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นกรดกัลลิก กรดเอลลาจิก และสารกลุ่มโพลีฟีนอล สารสกัดแยกส่วนทั้งหมด 6 ชนิดมีความปลอดภัยต่อการนำไปใช้  เนื่องจากไม่มีอันตรายต่อดีเอ็นเอและมีฤทธิ์ยับยั้งความเป็นพิษต่อยีนของสารก่อการกลายพันธุ์สามชนิด ได้แก่ IQ (2-amino-3-methylimidazo[4,5-f]quinoline) อะฟลาทอกซินบีหนึ่ง (AFB-1; aflatoxin B1) และ Trp-P-1 (3-Amino-1,4-dimethyl-5H-pyrido[4,3-bindole) และสามารถนำสารสกัดไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ครีมใช้ทาบรรเทาอาการปวดจากการเสื่อมของกระดูกข้อต่อ  ประโยชน์ที่ได้รับของโครงการคือ พัฒนาสารสกัดจากเมล็ดลำไยนำไปแปรรูปและเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ครีมทาป้องกันข้อเข่าเสื่อมที่มีมาตรฐานและมีความปลอดภัย มีผลการวิจัยรองรับ ผู้ประกอบการมีโอกาสทำการตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์จากสารสกัดธรรมชาติ รวมทั้งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลำไยตกเกรดและเมล็ดลำไยอบแห้ง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-11-07
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-11-07
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2552
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP สิทธิบัตรการประดิษฐ์
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ การผลิตไบโอแอคทีฟ แฟรคชั่น (Bioactive Fraction) ที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการสลายเซลล์ข้อเข่าจากสารสกัดหยาบของลำไย
เลขที่คำขอ 901003953
วันที่ยื่นคำขอ 2009-09-03 12:00:00
เลขที่ประกาศ 153577
วันที่จดทะเบียน
เลขที่จดทะเบียน
วันที่ประกาศ 2016-06-23 12:00:00
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาการผลิต Bioactive Fractions ที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการสลายเซลล์ข้อเข่าจากการสกัดหยาบของลำไย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7 พฤศจิกายน 2552
การพัฒนาการผลิต Bioactive Fractions ที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการสลายเซลล์ข้อเข่าจากการสกัดหยาบของลำไย การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของยาตารับริดสีดวงมหากาฬ การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ต่อการต้านเชื้อจุลชีพก่อโรคในคน การต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตเรื้อรัง และฤทธิ์ต้านมะเร็ง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่มาตรฐานสากล การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันฤทธิ์ปกป้องเนื้อเยื่อประสาท และการพัฒนามาตรฐานของสารสกัดโปรตีนและโปรตีนไฮโดรไลเซทจากข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีสี การศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระจากยอดมะคึก ฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรสและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจาก ตำรับยาหอมนวโกฐ การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากการเพาะเลี้ยงจมูกข้าว ฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะซิติลโคลีนเอสเตอเรสและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากตำรับยาบำรุงเลือดและบำรุงประสาทของหมอพื้นบ้าน จังหวัดสตูล ปัจจัยทางด้านเขตกรรมบางประการในการผลิตผักเชียงดาที่มีผลต่อผลผลิตและฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระ การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากการเพาะเลี้ยงจมูกข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก